บุคคลสำคัญของประเทศมาเลเซีย
ดร.มหาเธร์ บิน โมฮัมหมัด (Dr.Mahathir bin Mohamad)
นายกรัฐมนตรีคนที่ 4 ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด เป็นผู้วางรากฐานพัฒนาประเทศในรูปแบบของแผนพัฒนาประเทศที่มีชื่อว่า VISION 2020 ซึ่งเป็นผู้นำมาเลเซียสู่ความเจริญทัดเทียมนานาประเทศ
มหาเธร์ บิน โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของประเทศมาเลเซีย
ประวัติ
มหาเธร์ บิน โมฮัมหมัด (ยาวี: محضير بن محمد อังกฤษ: Mahathir bin Mohamad) เกิดที่รัฐเกดะห์ วันที่ 10 กรกฎาคม เมื่อปี พ.ศ. 2468 เป็นหนึ่งใน 4 ขอนายกรัฐมนตรีที่มีชื่อเสียงของมาเลเซีย ภายใต้พรรครัฐบาลที่เขาจัดตั้งขึ้นรวมระยะเวลาทั้งสิ้น 22 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 จนถึงปี 2546 ทำให้เขาเป็นนายกรัฐมนตรีของมาเลเซียที่อยู่ในวาระที่นานที่สุด เขา จบแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมาลายา ประเทศสิงคโปร์ เมื่อ พ.ศ. 2498ทำงานเป็นหมอได้ 2 ปี ก่อนลาออกจากราชการ สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่รัฐบ้านเกิด เป็น ส.ส. อยู่ 14 ปี ก่อนที่จะเข้าสู่รัฐสภาในปี พ.ศ. 2507 เขาทำหน้าที่อยู่ระยะนึงก่อนที่จะสูญเสียตำแหน่ง ส.ส ที่บ้านเกิดของเขาเอง หลังจากนั้น มหาเธร์ก็ถูกไล่ออกจากพรรคพันธมิตรอัมโน (UMNO) เมื่อ พ.ศ. 2512 เมื่อนายก อับดุล ราซะก์ เข้ารับตำแหน่ง แล้วกลับมาในพรรค อัมโน อีกครั้ง หลังจากที่ อับดุล ราซะก์ ลาออก และหลังจากนั้นก็ได้รับเลื่อนตำแหน่งให้เป็น คณะรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2519 และต่อมาก็ได้รับเลือกให้เป็นรองนายกรัฐมนตรี และต่อมาในปี พ.ศ. 2524 มหาเธร์ก็ได้เข้าพิธีสาบานตนเป็นนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย หลังจากการลาออกของ ฮุซเซน อน ถือเป็นการเปิดฉากเริ่มต้นการเป็นนายกรัฐมนตรีที่อยู่ในตำแหน่งที่นานที่สุดของ มาเลเซีย
ตลอดระยะการทำงานเป็นนายกรัฐมนตรีของ มหาเธร์ มาเลเซียเป็นประเทศที่มี อัตราการเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจ สูงจนหน้าจับตาของโลก
ตนกู อับดุล ราห์มาน (Tunku Abdul Rahman)
ผู้นำมาเลเซียไปสู่เอกราชและเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศ ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาของประเทศ (Bapa of Malaysia)
ตนกู อับดุล ราห์มาน
นายกรัฐมนตรีคนแรก ของประเทศมาเลเซีย
ผู้นำการเรียกร้องเอกราชให้แก่ประเทศมาเลเซีย
ได้รับยกย่องเป็นบิดาแห่งประเทศมาเลเซียหรือ PaPa of Malaysia
ประวัติ
ตนกู อับดุล ราห์มัน เกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 ที่วังอิสตานาเปอลามิน (Istana Pelamin) เมืองอลอร์สตาร์ รัฐเกดะห์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งในขณะนั้นยังอยู่ภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร เป็นบุตรของเจ้าพระยาไทรบุรี (อับดุลฮามิด) (เจ้าพระยาฤทธิสงคราม)[1] สุลต่านองค์ที่ 24 แห่งรัฐเกดะห์ กับหม่อมมารดาชาวไทยนามว่า หม่อมเนื่อง นนทนาคร[2] หรือมะเจ๊ะเนื่อง หรืออีกชื่อว่า ปะดูกา ซรี เจ๊ะเมินยาราลา (Paduka Seri Cik Menjalara) ชายาองค์ที่ 6 ของท่านสุลต่าน ซึ่งเป็นบุตรีของหลวงบุรานุรักษ์ เจ้าเมืองนนทบุรีในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยตนกู อับดุล ราห์มันเป็นลูกชายคนที่ 14 จากบรรดาลูก 20 คนของสุลต่านอับดุลฮามิด
ตนกู อับดุล ราห์มัน มีพระเชษฐาร่วมพระมารดาคือ ร้อยเอกตนกู ยูซุฟ (รับราชการในกรมตำรวจ) เพื่อนสนิทของเจ้าคุณอนุสาสน์พณิชย์การ
ประวัติการศึกษา
เมื่อปี พ.ศ. 2452 (ค.ศ. 1909) ตนกู อับดุล ราห์มัน ได้เข้าศึกษาในชั้นประถมมาเลย์ (Malay Primary School) ที่ถนนบาฮารู (Jalan Baharu) ในเมืองอลอร์สตาร์ ประเทศมาเลเซีย ต่อด้วยเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนในปกครองของอังกฤษ ซึ่งปัจจุบันเป็นวิทยาลัยสุลต่านอับดุลฮามิด
ท่านตนกู อับดุล ราห์มาน ท่านเป็นนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ ในปี พ.ศ. 2456 ขณะที่มีอายุ เพียง 10 ขวบ ถูกส่งตัวมาเรียนหนังสือที่กรุงเทพมหานคร ร่วมกับพี่ชายของเขาอีก 3 คน ท่านเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย โดยมีเพื่อนร่วมรุ่นและเพื่อนสนิท คือ ถวิล คุปตารักษ์ หรือหลวงถวิลเศรษฐพาณิช เรียนอยู่ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ 2 ปี จนถึงปี พ.ศ. 2456-2458 ต่อมาปี พ.ศ. 2458 เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนปีนังฟรีสกูล(Penang Free School)
ปี พ.ศ. 2461 ท่านเป็นนักเรียนคนแรกที่ได้ทุนจากรัฐบาลของรัฐเกดะห์ ที่ไปศึกษาในสหราชอาณาจักร ไปศึกษาต่อที่วิทยาลัยเซนต์แคทรีน (St Catharine's College) ในมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ และได้รับปริญญาบัณฑิตสาขาศิลปศาสตร์ ในปี ค.ศ. 1925
หลังจากกลับมาจากอังกฤษทำงานอยู๋ช่วงเวลาหนึ่ง ได้เดินทางไปศึกษาวิชากฎหมายต่อ ที่ Inner Temple ที่ประเทศอังกฤษ แต่ต้องหยุดเรียน ในปี ค.ศ. 1938 เนื่องจากช่วงนั้นได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2ขึ้น ทำให้เขาต้องหยุดเรียนและกลับมาที่มาเลเซีย หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ในปี ค.ศ. 1947 จึงกลับไปศึกษาที่ Inner Temple อีก และจบการศึกษาในปี ค.ศ. 1949
ประวัติการทำงาน
หลังจบการศึกษาอับดุลราห์มานเข้ารับราชการในเกดะห์ และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ปกครองที่เขตกูลิม (Kulim) และ สุไหงปตานี (Sungai Petani) ในอาณานิคมของสหราชอาณาจักร ได้รับเลือกให้เป็นประธานของสมาคมมาเลย์ของสหราชอาณาจักร (the Malay Society of Great Britain)
ปี ค.ศ. 1949 ในช่วงแรกของอาชีพนักการเมือง เขาได้เข้ารับงานราชการเป็นที่แรกที่สำนักงานกฎหมายของเมืองอลอร์สตาร์ ต่อมาเมื่อเขาได้รับการแต่งตั้งเป็นอัยการก็มีคำสั่งให้ย้ายไปประจำที่ กัวลาลัมเปอร์ และหลังจากนั้นก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานศาล ในช่วงเวลานั้นได้มีกลุ่มลัทธิชาตินิยมในมาเลย์ ในการต่อต้านสหภาพมาลายาของอังกฤษ (Britain's Malayan Union) นำโดย ดาโต๊ะอันจาฟาร์ (Datuk Onn Jaafar) นักการเมืองของมาเลเซียที่เป็นผู้นำขององค์การประชาชาติมาเลเซียหรือพรรคแนวร่วมแห่งสหพันธ์มลายา (UMNO ที่เป็นพรรคการเมืองขนาดใหญ่ในมาเลเซีย) และท่านตนกู อับดุล ราห์มาน ได้สมัครเข้าร่วมกับพรรคอัมโน (UMNO) ท่านเป็นนักการเมืองเชื้อสายชาวมาเลย์ที่ได้รับความนิยมและยอมรับจนได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าสาขาของพรรคอัมโนในรัฐเกดะห์
เดือนสิงหาคม ปี ค.ศ. 1951 เกิดวิกฤตทางการเมืองขึ้นได้รับเลือกให้เป็นประธานพรรคแนวร่วมแห่งสหพันธ์มาลายา (UMNO) คนใหม่และดำรงตำแหน่งเป็นเวลานานถึง 20 ปี และ จนในปี ค.ศ.1954 เป็นตัวแทนคณะผู้แทนเจรจาขอเอกราชมาเลเซียคืนจากสหราชอาณาจักร
ปี ค.ศ. 1955 มีการเลือกตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก พรรคชนะการเลือกตั้งได้เสียงข้างมากแบบถล่มทลายในสภา ท่านได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศมาเลเซีย นับเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 จนถึง22 กันยายน ค.ศ. 1970 และหลังชัยชนะจากการเลือกตั้งท่านยังรณรงค์ต่อสู่เรียกร้อ