งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์ในการออกแบบมีดกรีดยางของชาวสวนยางพารา โดยขั้นตอนการศึกษาเริ่มจากการประเมินความเหมาะสมของการใช้งานของมีดกรีดยางแบบปัจจุบัน โดยใช้แบบสอบถามการประเมินค่าดัชนีความไม่ปกติ (Adnormality Index ; AI) และผลการประเมินค่าดัชนีความไม่ปกติของกลุ่มตัวอย่างโดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 85 เริ่มเป็นปัญหามากจนทนไม่ได้ และการประเมินความเหมาะสมของท่าทางการทำงานโดยวิธี RULA (Rapid Upper Limb Assessment) ผลการศึกษาพบว่า งานนั้นมีปัญหาด้านการยศาสตร์ ที่ต้องได้รับ การปรับปรุงโดยทันทีและค่าเฉลี่ยของคะแนน RULA ของร่างกายด้านซ้ายและด้านขวา อยู่ในระดับที่ควรจะต้องมีการตรวจสอบ และควรมีการเปลี่ยนแปลงการทำงานในไม่ช้า ดังนั้นการปรับปรุงท่าทางการทำงานจึงเป็นสิ่งสมควรทำการปรับปรุง เพื่อลดปัญหา จึงได้เปลี่ยนวิธีการทำงานใหม่โดยวิเคราะห์ RURA จากท่าทางการทำงานที่ถูกต้อง ผลการศึกษาพบว่างานนั้นควรได้รับการพิจารณาศึกษาละเอียดขึ้นและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง การออกแบบงานใหม่อาจจะมีความจำเป็นดังนั้นผู้ออกแบบได้ทำการออกแบบมีดกรีดยางโดยใช้ข้อมูลจากการวัดสัดส่วนร่างกายจากกลุ่มตัวอย่างชาวสวนยางพาราใน ต.ตาเนาะปูเต๊ะ อ.บันนังสตา จ.ยะลา จำนวน 400 คน โดยการวัดสัดส่วนร่างกายทั้งหมด 63 ส่วน ผลการนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อนำมาออกแบบมีดกรีดยางพบว่ามี 7 สัดส่วน ที่เหมาะสมที่นำมาใช้ในการออกแบบมีดกรีดยางเพื่อช่วยลดความเมื่อยล้าและลดอัตราการบาดเจ็บในการใช้มีดกรีดยางจากการทำงานของชาวสวนยางพารา