สาเหตุการทะเลาะวิวาทวัยรุ่น
เหตุการณ์การทะเลาะวิวาท ระหว่างนักศึกษาอาชีวะต่างสถาบันที่นับวันยิ่งจะทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเมื่อไม่นานมานี้ได้เกิดกรณีการใช้อาวุธปืนไล่ยิงกันจนเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตนั้น ถือเป็น "ปัญหาเรื้อรัง" ที่สังคมต้องการหาหนทางเยียวยา และแก้ไขอย่างเร่งด่วน การเกิดเหตุทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่น มีผู้ทำการศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุการเกิดเหตุทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่นอาทิ เช่น
ทิวา วงศ์ธนาภา (2539) ได้กล่าวถึงเงื่อนไขของการเกิดเหตุทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่นเกิดจากปัจจัยที่หลากหลายดังนี้คือ
1) เกิดจากการถูกทำร้ายร่างกายมาก่อน
2) เกิดจากการเป็นศัตรูคู่อริ
3) เกิดจากความต้องการอวดให้รุ่นน้องเห็น
4) เกิดจากเทศกาล
5) เกิดจากประเพณีและพิธีกรรม เช่น เพื่อสร้างให้เกิดความรู้สึกศักดิ์ศรีหรือความยิ่งของสถาบัน เป็นต้น
6) เกิดจากความรู้สึกเสียศักดิ์ศรี
ทั้ง 6 ประเด็นเมื่อเกิดขึ้นแล้วส่วนใหญ่ก็จะจางไป แต่อย่างไรก็ตามเงื่อนไขที่ทำให้การก่อเหตุทะเลาะวิวาทดำรงอย่างต่อเนื่องคือ การเกิดตัวตนแห่งสถาบัน ได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันชุมชน สถาบันการศึกษาและสถาบันกลุ่มหรือเครือข่าย เป็นต้น สถาบันเหล่านี้จะถูกสร้างขึ้นโดยกระบวนการที่เป็นกลไกทางสังคมสั่งสมจนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติสืบทอดกันมา นอกจากนั้นการให้ความหมายหรือตีความ โดยเฉพาะการให้ความหมายและการตีความต่อโลกและสังคมของการก่อเหตุทะเลาะวิวาท จะเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่เกิดขึ้นเมื่อดำเนินวิถีชีวิตอยู่ในสังคมวัยรุ่น
สุภาพันธ์ รื่นสำราญ (2525) ได้ศึกษาวิจัยและวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุในการก่อเหตุทะเลาะวิวาทและแสวงหามาตรการในการป้องกันและแก้ไขการก่อเหตุทะเลาะวิวาท ตลอดจนแนวทางพัฒนาจิตใจ พบว่า สาเหตุจากความคึกคะนองตามธรรมชาติของวัยรุ่น และการถูกยั่วยุ ตลอดจนวันรุ่นมีภูมิต้านทานต่อการยั่วยุต่ำ ในด้านการป้องกันการก่อเหตุทะเลาะวิวาทนั้น ต้องสร้างความรักความเข้าใจในครอบครัว ส่งเสริมให้เกิดการขัดเกลาทางสังคมที่ดี บิดา-มารดาต้องปฏิบัติตัวเป็นตัวอย่างที่ดี เป็นตัวแบบให้กับวัยรุ่นเกี่ยวกับ การทำงานและการเข้าสังคม เป็นต้น
เตือนใจ ชาลี (2539) ให้คำอธิบายปรากฏการณ์ของการทะเลาะวิวาทโดยพิจารณากระบวนการทางสังคมที่เป็นเงื่อนไขต่อการเกิดขึ้น และดำรงอยู่ของปรากฏการณ์การทะเลาะวิวาท กระบวนการในการสร้างโลกทัศน์ การให้เหตุผลและความหมายของการกระทำของนักเรียนอาชีวะ เป็นการศึกษาในแนวสังคมวิทยา ซึ่งเป็นการทำความเข้าใจในบริบททางสังคม วัฒนธรรม ที่ก่อให้เกิดรูปการจิตสำนึกแบบนักเรียนอาชีวะ คำอธิบายดังกล่าว เห็นว่า ปัญหาการทะเลาะวิวาทไม่ใช่ในปัญหาในระดับปัจเจกเท่านั้น แต่เป็นความรู้สึกนึกคิดในเชิงสถาบัน ซึ่งมีกระบวนการสร้างหรือหล่อหลอมจนถึงขั้นครอบงำ เป็นกระบวนการเรียนรู้จากการปติสังสรรค์ในสังคมอาชีวะ ที่ได้สร้างอัตตะหรืออัตตลักษณ์ของตนเอง มีกลุ่มอ้างอิงที่เป็นตัวกำหนดมาตรฐาน ของความถูกต้อง ความใช้ได้ คือ ระบบรุ่นพี่รุ่นน้องที่มีพัฒนาการมายาวนาน ในโลกของอาชีวะ
นอกจากนี้มีการศึกษาสาเหตุและเบื้องหลังของสาเหตุในการทำให้เกิดปรากฏการณ์การทะเลาะวิวาท โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียนอาชีวะแล้ว ยังมีงานที่ได้ศึกษาถึงมาตรการต่างๆ ที่ผู้เกี่ยวข้องได้กำหนดขึ้นเพื่อใช้แก้ปัญหาทั้งมาตรการในการป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟู และสะท้อนความคิดในการวิเคราะห์เหตุปัจจัย ของการทะเลาะวิวาทด้วย การศึกษาที่มีอยู่ เป็นการดูว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องที่เป็นผู้ที่ปฏิบัติงาน นักศึกษา มีทัศนะต่อการวิเคราะห์สาเหตุ และต่อมาตรการอย่างไร เหมือน หรือ ต่างกันหรือไม่ สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหาก่อเหตุทะเลาะวิวาท พบว่า ครู อาจารย์ สารวัตรนักเรียน นักศึกษา และตำรวจ มีความเห็นว่า ปัญหาและอุปสรรคที่มีความสำคัญตามลำดับคือ
1) การไม่ให้การสนับสนุนและเห็นความสำคัญของปัญหาของผู้บริหาร
2) การประสานงานและความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3) ความพร้อมในการปฏิบัติงานของหน่วยงานสถานศึกษาในด้านบุคคลากรและอุปกรณ์ประกอบการทำงาน
4) บุคคลที่เกี่ยวข้องขาดความร่วมมือในการปฏิบัติ และ
5) มาตรการที่กำหนดไว้ไม่สอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง
วัชรพันธ์ ประดิษฐ์พงษ์ (2544) ศึกษาการก่อเหตุทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายของนักเรียนในเขตพื้นที่กองบังคับการตำรวจนครบาล 7 พบว่า นักเรียนที่ก่อเหตุทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายส่วนใหญ่อายุ 15 ปี กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมากที่สุด บิดามาดามีอาชีพค้าขายทำให้เด็กมีค่าใช้จ่ายต่อเดือน 2,000 – 4,000 บาท/เดือน ในระบบครอบครัวพบว่า บิดา-มาดารักลูกไม่เท่ากัน กลุ่มเพื่อนสนิทที่ร่วมกระทำการจะมีฐานะทางครอบครัวที่ใกล้เคียงกัน มีเพื่อนเป็นที่ปรึกษาหลักเมื่อมีปัญหา สาเหตุการก่อเหตุทะเลาะวิวาทส่วนใหญ่เนื่องจากความขัดแย้งต่อเนื่องของคู่อริ การใช้เวลาว่างไม่ถูกวิธี และการคบหาเพื่อนที่เคยก่อเหตุทะเลาะวิวาทมาก่อน
นอกจากนี้มีการศึกษาสาเหตุและเบื้องหลังของสาเหตุในการทำให้เกิดปรากฏการณ์การทะเลาะวิวาท โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียนอาชีวะแล้ว ยังมีงานที่ได้ศึกษาถึงมาตรการต่างๆ ที่ผู้เกี่ยวข้องได้กำหนดขึ้นเพื่อใช้แก้ปัญหาทั้งมาตรการในการป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟู และสะท้อนความคิดในการวิเคราะห์เหตุปัจจัย ของการทะเลาะวิวาทด้วย การศึกษาที่มีอยู่ เป็นการดูว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องที่เป็นผู้ที่ปฏิบัติงาน นักศึกษา มีทัศนะต่อการวิเคราะห์สาเหตุ และต่อมาตรการอย่างไร เหมือน หรือ ต่างกันหรือไม่ สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหาก่อเหตุทะเลาะวิวาท พบว่า ครู อาจารย์ สารวัตรนักเรียน นักศึกษา และตำรวจ มีความเห็นว่า ปัญหาและอุปสรรคที่มีความสำคัญตามลำดับคือ
1. เนื่องจากสถานศึกษาไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร การไม่ให้การสนับสนุนและเห็นความสำคัญของปัญหาของผู้บริหาร ในการที่ตำรวจจะเข้าไปตรวจค้นอาวุธในสถาบันการศึกษา เพื่อเป็นการลดและป้องกันการก่อเหตุทะเลาะวิวาท
2. เกิดจากการถูกทำร้ายร่างกายมาก่อน
3. เกิดจากการเป็นศัตรูคู่อริ ทำให้บุคคลที่เกี่ยวข้องขาดความร่วมมือในการปฏิบัติ
4. เกิดจากความต้องการอวดให้รุ่นน้องเห็น กิจกรรมการรับน้อง ค่านิย