วัฒนธรรมข้าวถือได้ว่าเป็นวัฒนธรรมร่วมของประชาคมอาเซียน โดยดูได้จากสัญลักษณ์ของอาเซียนที่เป็นรวงข้าว 10 ต้นมัดรวมกันแสดงว่าข้าวมีความจำเป็นสำหรับชาติอาเซียน เนื่องจากข้าว อาหารหลักและของหวาน เป็นความเชื่อทางวัฒนธรรม เช่น พระแม่โพสพตามคติความเชื่อของไทย, Dewi Sri เทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์ของชาวอินโดเนเชีย ซึ่งเทพีทั้งสองเป็นเทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์ของท้องทุ่งนาที่แต่ละประเทศยึดถือให้ความสำคัญ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนสาระเศรษฐศาสตร์ได้จัดทำนาสาธิตในรูปแบบต่าง ๆ 3 รูปแบบ คือ
1. นาดำ ซึ่งมีพื้นที่ 1 งานซึ่งจากข้อมูลพบว่าประเทศสมาชิกอาเซียนใช้รูปแบบนาดำเป็นส่วนใหญ่ เช่น พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา อิโดเนเชีย
2. นาหว่าน ซึ่งมีพื้นที่ทดลองประมาณ 10 ไร่ พบว่าประเทศไทยโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือใช้รูปแบบนาหว่านแบบไถกลบและภาคกลางใช้รูปแบบนาหว่านน้ำตม นอกจากนี้ยังพบว่ามีการทำนาหว่านใน ลาว พม่า และกัมพูชาบางพื้นที่
3. นาโยน โรงเรียนสะพือวิทยาคารมีพื้นที่ทดลอง 1 งาน ซึ่งจากข้อมูลพบว่าวิธีการทำนาโยนน่าจะเริ่มจากประเทศไทย โดยมาจากโครงการในพระราชดำริ ที่ได้คัดรูปแบบและวิธีการนั้นมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทย
ผลการศึกษาจากการทำนา 3 รูปแบบของโรงเรียนสะพือวิทยาคารพบว่า
*** นาดำให้ผลผลิตสูงสุด ทั้งจำนวนต้นข้าวที่แตกกอ จำนวนเมล็ดข้าว, ขนาดของรวงข้าว และน้ำหนักของข้าว
** *นาหว่านให้ผลผลิตของข้าวน้อยที่สุดในด้านน้ำหนักของเมล็ดข้าวน้อย ขนาดของรวงข้าวเล็ก แต่ต้นข้าวทนต่อสภาพอากาศที่แปรปรวนและแห้งแล้งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ดี ลดแรงงานคนในการปักดำได้ ทำให้สามารถลดต้นทุนในการผลิตได้
*** นาโยนให้ผลผลิตข้าวน้อย แต่ต้นข้าวสามารถทนแล้งได้ดีเท่ากับนาหว่า
รูปแบบการทำนาทั้ง 3 รูปแบบนี้จะเหมาะสมกับวิถีชีวิตการทำนาของอาเซียนเรานั้น ขึ้นอยู่กับ ลักษณะภูมิประเทศ, สภาพอากาศ, น้ำ, สังคม และวัฒนธรรมของแต่ละชนชาติเป็นหลัก