เต๋าตำช่วยยังไง?
จากทฤษฎีของ เพียร์เจท กล่าวว่า พัฒนาการของเด็กวัย 5-6 ปี เกิดจากการเรียนรู้ซ้ำๆ จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว คณะผู้วิจัยจึงเลือกที่จะสร้างสื่อที่มีสิ่งแวดล้อมรอบตัวของเด็ก ที่สามารถสังเกตเห็นได้ง่ายในการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อนำไปส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ซ้ำๆ
และทฤษฎีของ คุณอุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์ 2553 กล่าวไว้ว่า สีมีส่วนช่วยให้เด็กจดจำสิ่งต่างๆได้ดีขึ้น สีสันสดใสช่วยดึงดูดความสนใจและทำให้เด็กมีพัฒนาการทางสมองดีขึ้น ได้มากกว่าสีที่จืดชืด คณะผู้วิจัยจึงเลือกที่จะนำสื่อที่มีสีสันสดใสไปใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
จุไร พรมวาท 2554 ได้ทำการศึกษาการใช้กิจกรรมเล่านิทานเพื่อส่งเสริมพัฒนาการในเด็กพบว่าภาพจะเป็นสิ่งแรกที่เด็กให้ความสนใจและจากเรื่องเล่าในนิทานทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ มีความสนใจในกิจกรรมนั้นๆ คณะผู้วิจัยจึงเลือกที่จะใช้เรื่องเล่าประกอบเต๋าเพื่อช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านการฟังและการพูดในเด็ก
นภเนตร. ธรรมวร 2553 กล่าวว่าเด็กอายุในช่วงวัย5-6ปีจะมีความสนใจในการฟังเรื่องเล่าหรือนิทานที่มีความยาวไม่เกิน 15 นาที คณะผู้วิจัยจึงเลือกใช้เรื่องเล่าประกอบเต๋าคำที่สั้น กระชับ เข้าใจง่าย และให้ข้อคิด เพืรอให้เด็กเกิดการเรียนรู้และไม่เบื่อ
คุณวรนาท รักษสกุลไทย 2554 กล่าวไว้ว่าระยะเวลาในการเรียนรู้และจดจำของเด็กวัย 5-6 ปี จะอยู่ในช่วงระยะ 1-2 สัปดาห์ คณะผู้วิจัยจึงนำเรื่องเล่าประกอบเต๋าคำไปส่งเสริมความสามารถด้านการฟังและการพูด ทั้งหมด 7 ครั้ง โดยห่างกันครั้งล่ะ 1 สัปดาห์ เพื่อให้การเรียนรู้ของเด็กมีความต่อเนื่อง