ไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง
วันนี้เราจะเสนอเรื่อง...
ไม้ 3 อย่าง ... ประโยชน์ 4 อย่าง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตระหนักถึงผลกระทบจากการบุกรุกทำลายป่าไม้ของประเทศไทก่อให้เกิดภาวะแห้งแล้ง ต้นนํ้าลำธารเสื่อมโทรม ฤดูกาลเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลกระทบต่อ การประกอบอาชีพทางการเกษตร กลายเป็นปัญหาทุกข์ร้อนของประชากรส่วนใหญ่ในชนบท
พระองค์ทรงมีพระราชดำริในการพัฒนาฟื้นฟูสภาพป่าไม้ ให้คืนกลับสู่สภาพธรรมชาติด้วยแนวทางผสมผสาน โดยการปลูกไม้ทดแทนควบคู่กับการพัฒนาอาชีพราษฎร
ด้วยการวางแผนร่วมมือกันของทุกส่วนราชการ ในการดำเนินการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ให้สอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์และสภาวะแวดล้อม
ลักษณะไม้ 3 อย่าง
1. ไม้ใช้สอยและเศรษฐกิจชุมชนนำไปใช้ในการปลูกสร้างบ้านเรือน โรงเรือน เครื่องเรือน คอกสัตว์
เครื่องมือในการเกษตร รวมทั้งไม้ที่สามารถนำมาทำเป็นเครื่องจักรสาน กระบุง ตะกร้าเพื่อนำไปใช้นำครัวเรือน และเมื่อมีพัฒนาการทางฝีมือก็สามารถจัดทำเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือน นำไปจำหน่ายเป็นรายได้ของชุมชน ซึ่งเรียกว่า เป็นไม้เศรษฐกิจของชุมชน
ได้แก่ มะขามป่า สารภี ซ้อ ไผ่หก ไผ่ไร่ ไผ่บง ไผ่ซาง มะแฟน สัก ประดู่ กาสามปีก จำปี จำปา ตุ้ม ทะโล้ หมี่ ยมหอม กฤษณา นางพญาเสือโคร่ง ไก๋ คูณ ยางกราด กระถิน เก็ดดำ มะหาด ไม้เติม มะห้า มะกอกเกลื้อน งิ้ว ตีนเป็ด ยมหอม มะขม มะแข่น สมอไทย ตะคร้อ เสี้ยว บุนนาค ปีบ ตะแบก ตอง คอแลน รัง เต็ง แดง พลวง พะยอม ตะเคียน ฮักหลวง เป็นต้น
2. ไม้ฟืน เชื้อเพลิงของชุมชน เพื่อการหุงต้มปรุงอาหาร สร้างความอบอุ่นในฤดูหนาว
สุมควายตามคอก ไล่ยุง เหลือบ ริ้น ไร รวมทั้งไม้ฟืนในการนึ่งเมี่ยง และการอบถนอมอาหาร ผลไม้บางชนิด ไม้ฟืนมีความ
ดังนั้นจะต้องมีการวางแผนการปลูกไม้โตเร็วขึ้นทดแทนก็จะทำให้ชุมชนมีไม้ฟืนใช้ได้อย่างเพียงพอ ได้แก่ ไม้หาด สะเดา
เป้าเลือด มะกอกเกลื้อน ไม้เต้าหลวง กระท้อน ขี้เหล็ก ตีนเป็ด ยมหอม ลำไยป่า มะขม ดงดำ มะแขว่น สมอไทย ตะคร้อ
ต้นเสี้ยว บุนนาค ตะแบก คอแลน แดง เต็ง รัง พลวง ติ้ว หว้า มะขามป้อม แค ผักเฮือด เมี่ยง มะม่วงป่า มะแฟน กาสามปีก มันปลา นางพญาเสือโคร่ง มะมือ ลำไย รกฟ้า ลิ้นจี่
3. ไม้อาหารหรือไม้กินได้ ชุมชนดั้งเดิมเก็บหาอาหารจากแหล่งธรรมชาติ ทั้งการไล่ล่าสัตว์ป่าเป็นอาหาร รวมทั้งพืชสมุนไพร อดีตแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์จึงเป็นแหล่งอาหารเสริมสร้างพลานามัย การปลูกไม้
ที่สามารถให้หน่อใบ ดอก ผล ใช้เป็นอาหารได้ก็จะทำให้ชุมชนมีอาหารและสมุนไพร ในธรรมชาติเสริมสร้างสุขภาพให้มี
กินมีใช้อย่างไม่ขาดแคลน ได้แก่ มะหาด ฮ้อสะพายควาย เป้าเลือด บุก กลอย งิ้ว กระท้อน ขี้เหล็ก มะขม มะแข่น สมอไทย ตะคร้อ เสี้ยว คอแลน ผักหวานป่า มะไฟ มะขามป้อม มะเดื่อ มะปีนดง เพกา แค สะเดา เมี่ยง มะม่วงป่า มะแฟน มะเม่า หวาย ดอกต้าง กระถิน
ก่อเดือย หว้า กล้วย ลำไย มะกอกเกลื้อน มะระขี้นก ประคำดีควาย ตะคร้อ กระบก ผักปู่ย่า มะเฟือง แคหางค่าง ขนุน มะปราง มะหลอด คอแลน มะเม่า ส้มป่อย
ประโยชน์ 4 ประการ
1. ในสภาพปัจจุบันป่าไม้ลดลงเป็นจำนวนมาก ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างทั่วถึง และเพียงพอ ดังนั้น เมื่อมีการปลูกไม้ที่มีความเหมาะสมและมีคุณสมบัติที่ดีเพื่อการใช้สอยและสามารถนำมาใช้เสริมสร้างอาชีพได้ โดยมีการวางแผนอย่างมีส่วนร่วมและดูแลรักษาก็จะทำให้ชุมชนมีไม้ไว้ใช้สอยอย่างไม่ขาดแคลน และจะไม่สร้างผลกระทบ
ต่อทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่และหากมีการปลูกในปริมาณที่มากพอ ชุมชนก็สามารถนำมาเสริมสร้างอาชีพเสริมได้ทำให้ชุมชนมีรายได้เสริมให้มีความอยู่ดีกินดีขึ้น
2. ไม้ฟืนเป็นวัสดุเชื้อเพลิงพื้นฐานของชุมชน หากชุมชนไม่มีไม้ฟืนไว้สนับสนุนกิจกรรมครัวเรือน ชุมชนจะต้องเดือดร้อนและสิ้นเปลืองเงินทอง เพื่อการจัดหาแก๊สหุงต้ม หรือจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อการจัดหาวัสดุเชื้อเพลิงประเภทอื่นๆ
3. พืชอาหารและสมุนไพรรวมทั้งสัตว์แมลง ที่ชุมชนสามารถเก็บหาได้จากธรรมชาติจะเป็นอาหารที่มีคุณค่าปลอดสารพิษ อันเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอนามัยของคนในชุมชน เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย อีกทั้งถ้ามีปริมาณเกินกว่าที่ต้องการแล้วยังสามารถใช้เป็นสินค้าเสริมสร้างรายได้อีกทางหนึ่งด้วย
4. เมื่อมีการปลูกไม้เจริญเติบโตเป็นพื้นที่ขยายมากเพิ่มขึ้น และมีการปลูกเสริมคุณค่าป่าด้วยพันธุ์ต่างๆ ทำให้เกิดความหลากหลายและเป็นการอนุรักษ์ดินและนํ้า รวมทั้งก่อให้เกิดการอนุรักษ์พื้นที่ต้นนํ้าลำธาร