น้ำเป็นทรัพยากรของแผ่นดินที่มนุษย์นำมาใช้โดยเสียค่าใช้จ่ายที่ต่ำมาก เมื่อเปรียบเทียบกับ
ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการที่จำนวนประชากรโลกเพิ่มขึ้นทำให้ความต้องการใช้น้ำมีมากขึ้นด้วย
ประกอบกับมีการทำลายความสมดุลของธรรมชาติอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการทำลายป่าต้นน้ำ
ลำธาร ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำหรือภัยแล้ง และปัญหาอุทกภัยติดตามมา
อย่างรุนแรงครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งในแต่ละครั้งได้สร้างความเสียหายทั้งชีวิต ทรัพย์สินและเศรษฐกิจ
ของประเทศอย่างใหญ่หลวง
ดังนั้นพวกเราทุกคนจึงต้องตระหนักถึงภัย
พิบัติดังกล่าวและร่วมมือกันป้องกันแก้ไข
ด้วยวิธีการที่เหมาะสม เราอาจเคยได้ยิน
คำพูดที่กล่าวล้อเล่นกันว่า "ประเทศไทยมี
สองฤดู คือฤดูร้อนกับฤดูร้อนมาก"
เมื่อพิจารณาให้ลึกซึ้งลงไปในคำกล่าวนี้
ก็จะพบว่าไม่ใช่เป็นเรื่องล้อเล่นแต่อย่างใด
ในแต่ละปีเราประสบกับปัญหาภัยแล้งแทบ
ทุกภูมิภาคซึ่งสาเหตุสำคัญสืบเนื่องมาจาก
1) ปริมาณฝนตกน้อยเกินไป เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือการกระจาย
น้ำฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอตลอดทั้งปี ซึ่งกรณีหลังจะทำให้การขาดแคลนน้ำเป็นบางช่วงหรือบาง
ฤดูกาลเท่านั้น แต่ถ้าหากฝนตกน้อยกว่าอัตรการระเหยของน้ำก็จะทำให้บริเวณนั้นเกิดสภาพการ
ขาดแคลนน้ำที่ต่อเนื่องกันอย่างถาวร
2) ขาดการวางแผนในการใช้น้ำที่ดี เช่น ไม่จัดเตรียมภาชนะหรืออ่างเก็บน้ำรองรับน้ำฝน
ที่ตกเพื่อนำไปใช้ในช่วงขาดแคลนน้ำ
3) ลักษณะภูมิประเทศไม่อำนวย จึงทำให้บริเวณนั้นไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่และ
ถาวร หรืออยู่ใกล้ภูมิประเทศลาดเอียงและดินไม่อุ้มน้ำ จึงทำให้การกักเก็บน้ำไว้ใช้ทำได้ยาก เช่น
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
4) พืชพันธุ์ธรรมชาติถูกทำลาย โดยเฉพาะพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร การสำรวจทรัพยากรป่าไม้
ปี พ.ศ.2531 พบว่า มีพื้นที่ป่าเหลืออยู่เพียง 28% ของพื้นที่ประเทศ หรือประมาณ 90 ล้านไร่
และจากรายงานประมวลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทย ระบุว่าในปี พ.ศ. 2528
มีพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารเหลือเพียง 9 ล้านไร่เท่านั้น กรมป่าไม้ได้ดำเนินการปลูกป่าในพื้นที่ถูก
ทำลาย โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร แต่อัตราการปลูกยังน้อยกว่าอัตราการทำลายมาก
คือนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 ถึง 2528 รวมเวลา 24 ปี กรมป่าไม้ได้ปลูกป่าเป็นพื้นที่ทั้งหมด
ประมาณ 3 ล้านไร่ แต่อัตราการทำลายป่า เฉลี่ยในหนึ่งปีก็เท่ากับ 3 ล้านไร่เช่นเดียวกัน
5.) การเกิดมลพิษของน้ำ ทำให้ไม่สามารถน้ำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ซึ่งกรณีนี้จะพบอยู่
ทั่วไปในพื้นที่เขตเมืองและย่านอุตสาหกรรมหนาแน่น