3. กินแค่ไหนจึงจะไม่โดนตำรวจจับ
ในประเทศไทย กฎหมายตั้งเกณฑ์ไว้ที่50mg% ดังนั้นเป้าคือกินอย่างไรไม่ให้เกิด50mg%
มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2550 ในวารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ เกี่ยวกับการทดลองโดยให้อาสาสมัครดื่มเหล้า(+กับแกล้มหรืออาหาร)และตรวจเลือด ซึ่งพบว่าการดื่มเหล้าเกิน1ดริงค์ต่อชั่วโมง ก็เสี่ยงต่อการมีระดับแอลกอฮอล์เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแล้ว (1ดริงค์ = เหล้า40ดีกรี 40ซีซี /หรือเบียร์ 275 ซีซี)
ถ้าพูดเป็นภาษาเข้าใจง่ายขึ้นก็คือ ถ้าคุณไปเที่ยวแล้วกินเหล้าสัก6-7 ฝา หรือ กินเบียร์1กระป๋อง จากนั้นก็ขับรถมาเจอด่านตรวจ คุณก็มีโอกาสที่จะโดนจับ
ทั้งนี้ในงานวิจัยพบว่า การกินกับแกล้มก็ไม่ได้ช่วยอะไร ถ้าจะให้ช่วยจริงๆต้องกินเป็นอาหารมื้อหนักๆไปเลยจึงจะพอช่วยลดการดูดซึมได้บ้าง
4. กินยังไงไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ
หลายคนที่เจอจับอาจจะงงว่าตนเองยังไม่เมาเลย ทำไมโดนจับ เรื่องของเรื่องคือกลไกการเกิดอุบัติเหตุของคนที่ดื่มเหล้าเกิดจากการตัดสินใจช้าไปเพียงเสี้ยววินาทีครับ เกิดได้ตั้งแต่ปริมาณแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดน้อยที่ระดับ 10mg% ขึ้นไป ... ปริมาณระดับนี้ไม่สามารถตรวจด้วยวิธีปกติได้ แต่สามารถตรวจได้จากการวัดความเร็วการตอบสนองของร่างกาย
นั่นหมายความว่า คุณเสียความสามารถในการตอบสนองไปแล้ว โดยที่ยังไม่รู้สึกมึนด้วยซ้ำ
5. มียาแก้เมาค้างหรือไม่
การแก้อาการเมาค้างในปัจจุบันยังใช้วิธีแบบตรงไปตรงมาคือ อย่าดื่มมากเกิน อย่าดื่มเร็วเกิน ดื่มน้ำบ่อยๆ เลือกชนิดเหล้า(เหล้าบางชนิดจะมีสารเคมีที่ทำให้เมาค้างได้ง่าย ต้องหาเอา ขึ้นกับแต่ละคน)ส่วนถ้าไปดูตามวงเหล้า หรือตามโฆษณาต่างๆ จะมีการพูดถึงยา, สมุนไพร, อาหารเสริม ที่ช่วงแก้อาการเมาค้าง ... แต่ถ้าว่ากันจริงๆตามงานวิจัย ยังไม่มียาที่ใช้แก้อาการเมาค้างที่ได้ผลชัดเจนทางวิทยาศาสตร์ครับ
6. การดื่มเพื่อสุขภาพ
มีงานวิจัยที่ออกมาบอกว่าการดื่มแอลกฮอล์อาจจะมีส่วนช่วยเรื่องสุขภาพได้ ทั้งนี้ต้องดื่มแต่พอดีครับ คำว่าดื่มแต่พอดีก็คือ การดื่มประมาณวันละ 1 ดริงค์
เทียบเท่าเบียร์ค่อนกระป๋อง / ไวน์ปริมาณ1ขวดกระทิงแดง / หรือเหล้าหนึ่งเป๊ก ซึ่งแน่นอนว่าเป็นการดื่มในระดับที่ไม่รู้สึกอะไร หรืออย่างมากก็กรึ่มเพียงเล็กน้อย
ดังนั้นการดื่มเพื่อสันทนาการ ดื่มแบบเฮฮา หรือดื่มแบบสนุกครื้นเครง ล้วนเกินพอดีครับ โทษมากกว่าประโยชน์ชัดเจน