การใช้ภาษาสุภาพ-ไม่สุภาพ
ประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่แสดงออกในภาษาหลายประการ ในที่นี้จะกล่าวถึงวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับ คำสุภาพ ไม่สุภาพ ซึ่งปรากฏชัด
ในการใช้คำราชาศัพท์ ซึ่งมีข้อกำหนดที่เป็นระเบียบแบบแผน เป็นตัวอย่างการใช้ภาษาสุภาพที่ชัดเจน นอกจากนั้นคนไทยยังกำหนดราย
ละเอียดว่าเรื่องใด ถ้อยคำใดที่ควรพูดหรือไม่ควรพูด หยาบคายหรือสุภาพ เป็นคำพูดอย่างขี้ข้าหรืออย่างผู้ดีอีกด้วย ซึ่งการใช้คำพูดอย่าง
ขี้ข้าหรือผู้ดีในที่นี้ ไม่ได้เป็นการวัดกันด้วยฐานะทางสังคมหรือเศรษฐกิจแต่อย่างใด แต่วัดกันด้วยวัฒนธรรม วัดกันด้วยความรู้มากกว่า
ว่าอะไรควรพูด อะไรไม่ควรพูด อะไรเสียหาย อะไรไม่เสียหาย
ในปัจจุบันคนไทยจะคำนึงถึงการใช้ภาษาสุภาพ ไม่สุภาพน้อยลง ทั้งนี้อาจเกิดจากความไม่สนใจ และไม่ได้ให้ความสำคัญกับ
วัฒนธรรมในการใช้ภาษาไทยมากนัก อีกทั้งอาจเกิดจากสภาพสังคมที่เร่งรีบในปัจจุบันมีส่วนทำให้คนในสังคมสนใจแต่เฉพาะสารที่ต้อง
การสื่อเท่านั้น เพราะต้องการความรวดเร็วในการสื่อสาร วัฒนธรรมในการใช้ภาษา โดยเฉพาะการใช้ภาษาสุภาพ ไม่สุภาพ จึงถูกละเลยไป
ทั้งนี้หากการใช้ภาษาที่ไม่สุภาพนั้น เกิดจากความไม่รู้หรือความสับสน เพราะไม่เคยใช้หรือไม่มีโอกาสใช้ภาษาดังกล่าว ผู้ใช้ก็สามารถ
เรียนรู้การใช้ภาษาอย่างสุภาพต่อไปได้ แต่การใช้ภาษาที่ไม่สุภาพ ที่เกิดจากเจตนาของผู้ใช้ตั้งใจใช้เพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องนั้น เป็น
สิ่งที่ควรได้รับการแก้ไขและควรปรับปรุงเป็นอย่างยิ่ง และผู้ใช้ก็ควรจะปรับเปลี่ยนทัศนคติและทำความเข้าใจภาษาให้ถูกต้องต่อไปด้วย
ทั้งนี้จะเป็นการช่วยธำรงภาษาไทยอันดีงามไว้ได้ทางหนึ่ง