บทที่ 1
บทนำ
1.1 ที่มาและความสำคัญของปัญหาที่ทำการวิจัย
ความสำคัญของภาษาอังกฤษภาษาอังกฤษได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนไทย และคนทั่วโลกไปแล้ว มนุษยชาติทุกวันนี้สื่อสารกันด้วยภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารกันโดยตรง การใช้อินเตอร์เน็ต การดูทีวี การดูภาพยนตร์ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์หนังสือคู่มือทางด้านวิชาการต่างๆ ฯลฯ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาออกมาในปัจจุบัน ถ้ามีความรู้ภาษาอังกฤษทั้งพูดและเขียนเสริมเข้าไปด้วยอีก โอกาสที่จะหางานก็จะไม่จำกัดแค่ในประเทศไทย เท่านั้น ถ้าท่านเป็นคนหนึ่งที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ ท่านคงจะไม่ปฏิเสธได้ถึงสิทธิพิเศษที่ท่านมีเหนือคนอื่นที่ไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ ด้วยเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ทำให้โลกของเราแคบลงไปถนัดตา ทุกวันนี้ท่านสามารถรับรู้ข่าวสาร หรือติดต่อกับเพื่อนต่างชาติได้ภายในเสี้ยววินาที ท่านจะไม่เข้าถึงสิทธิพิเศษเหล่านี้เลย ถ้าท่านไม่รู้ภาษาอังกฤษ
จิตพิสุทธิ์ จันตะคุต (2559 : 1)
และกลวิธีที่จะทำให้เรียนรู้ภาษาอังกฤษได้ดีนั้น ก็ได้แก่การอ่านภาษาอังกฤษบ่อยๆ เช่นในตำรา บทความ หนังสือ สนทนาภาษาอังกฤษกับชาวต่างชาติ หรือผู้ที่มีความรู้มากกว่า การฟังเพลง การดูภาพยนตร์ที่เป็นภาษาอังกฤษ การฝึกเขียนภาษาอังกฤษ กิจกรรมเหล่านี้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ทักษะ คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน โดยส่วนมากแล้ว นักศึกษาไทยจะสามารถเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้มากที่สุดจากการอ่าน และทักษะอื่นๆถูกนำมาใช้ในการเรียนรู้เป็นลำดับถัดมา เพราะการอ่านเป็นทักษะที่ถูกใช้บ่อย หรือแทบเรียกได้ว่าถูกใช้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการอ่านจากตำรา หรือการอ่านสื่ออินเทอร์เน็ตที่ปัจจุบันเป็นสื่อที่เข้าถึงผู้คนได้ง่ายมาก โดยสถาบันสอนภาษา Mind English (2559 : 1) ได้เปิดเผยเคล็ดลับในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษไว้ 5 ข้อดังนี้ 1.เริ่มต้นจากการฟัง หัวใจสำคัญ 2 ข้อก็คือ คุณต้องเลือกฟังสื่อที่ไม่ยากเกินไปสำหรับคุณ (รู้ศัพท์ในสื่อนั้นๆมากกว่า 80%) และข้อที่ 2 คือคุณต้องฟังทุกวัน อย่างมีวินัยและตั้งใจ วันละ 1 ชั่วโมงขึ้นไป (แบ่งได้ เช้า 20 นาที เที่ยง 20นาที และเย็นอีก 20 นาที เวลารถติดก็ฟังได้) 2.เรียนรู้เป็นภาพ ไม่ใช่ตัวอักษรเลิกท่องศัพท์(แบบเดิมๆ)ได้แล้ว หยุดการท่องศัพท์แบบเป็นลิสต์ยาวๆที่เราต้องมาแปลเป็นไทย หันมาใช้วิธีเรียนรู้ศัพท์แบบเป็นภาพเป็นเรื่องราวแทน 3.หยุดท่องหลักไวยากรณ์ ใครยังนั่งท่อง S + V to be + V ing + … + …+ ... ไปเรื่อยๆ หรือยังท่องกริยา 3 ช่อง ท่องกฎไวยากรณ์ต่างๆ ถ้าท่องไปสอบท่องไว้เขียนWriting เขียนEssayต่างๆ ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าท่องไว้ใช้พูด คุณเข้าใจผิดแล้ว 4.อย่าแปลเป็นไทย อยากพูดอังกฤษให้คล่อง ต้องพูดได้อย่างเป็นอัตโนมัติการพูดได้อย่างเป็นอัตโนมัติคือ ฟัง-คิด-พูด ต้องเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด โดยไม่มีการแปลเป็นไทยในหัวเพราะฉะนั้น เราควรพยายามแปลเป็นไทยให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ สาเหตุที่เราพูดภาษาอังกฤษแล้วตะกุกตะกัก ไม่ไหลลื่น ไม่เป็นธรรมชาติ เพราะเรามักต้องนึกศัพท์และที่เราต้องนึกศัพท์ เพราะเราคิดเป็นภาษาไทยในหัวก่อนนี่แหละถึงต้องแปลกลับมาเป็นภาษาอังกฤษ คือถ้านึกศัพท์เมื่อไหร่ก็ตามที่คิดเป็นภาษาอังกฤษได้ ก็จะไม่ต้องนึกศัพท์ (แน่สิ คิดเป็นภาษาอังกฤษแล้ว จะนึกศัพท์ภาษาอังกฤษทำไม) เมื่อนั้นเราจะพูดอังกฤษได้คล่องมาก ไม่มีใครพูดคล่องเพราะท่องกฎไวยากรณ์หรอก 5.เปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้เหมือนอยู่เมืองนอก พยายามเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทุกอย่างในชีวิตประจำวันให้เป็นภาษาอังกฤษให้ได้มากที่สุด สนทนากับเพื่อนพยายามหาเพื่อนชาวต่างชาติคุยบ้าง คุยในSkypeบ้าง ดูหนัง-ดูละคร เปลี่ยนมาเป็นดูหนัง ดูซีรี่ย์ และต้องดูให้ถูกวิธีด้วย ดูผิดวิธี ดูเป็นพันเรื่องยังไงก็ไม่เก่ง ฟังเพลง จากเพลงไทยสุดดราม่า หันมาฟังเพลงฝรั่งบ้าง ดูข่าว จากดูเรื่องเล่าเช้านี้ ลองเปลี่ยนเป็นดูข่าวจากสำนักข่าวต่างประเทศบ้าง ถ้าชอบสำเนียงอเมริกันก็ลอง CNN แต่ถ้าชอบสำเนียงอังกฤษ BBC ก็ถือว่าดีมาก อ่านหนังสือลองเปลี่ยนมาอ่านหนังสือต่างประเทศบ้าง เริ่มจากแนวที่ตัวเองชอบก่อนก็ได้ พยายามเริ่มจากง่ายๆไปก่อน ยิ่งเราเปลี่ยนได้มากเท่าไหร่ ผลลัพธ์ยิ่งเกิดเร็วขึ้นเท่านั้นแต่ทั้งนั้นทั้งนี้ อย่าไปฝืน อย่าไปเร่ง อย่าไปเร้า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องรู้สึกผ่อนคลาย (“ชิลล์”) อันไหนฟังไม่ออก อันไหนอ่านไม่เข้าใจก็พยายามฟัง พยายามทำความเข้าใจ ไม่ต้องเครียดสิ่งที่สำคัญที่สุดในการฝึก คือ การไม่ฝึก การมีความพยายามในการฝึกคือสิ่งที่ดีมาก แต่สิ่งที่ดีมากที่สุดคือการไม่ต้องพยายาม การไม่ฝืนทำเหมือนเป็นธรรมชาติ ถ้าเราทำสิ่งเหล่านี้ได้อย่างเป็นธรรมชาติเท่าไหร่ เราจะยิ่งพูดภาษาอังกฤษได้ดีและเป็นธรรมชาติมากขึ้นเท่านั้น
ซึ่งในการเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์นั้น นักศึกษาได้เรียนการฟังและการพูดจากอาจารย์ผู้เป็นเจ้าของภาษาและสื่อต่างๆ ส่วนการอ่านและการเขียนนักศึกษาได้เรียนจากรายวิชาภาคบังคับที่มีอยู่ในแต่ละปีการศึกษา แต่ในงานวิจัยนี้ผู้วิจัยมุ่งเน้นไปที่การอ่าน เพราะอยากทราบว่าเมื่อนักศึกษาพบคำศัพท์ที่ยาก จะมีวิธีการอย่างไรเพื่อให้รู้ความหมายของคำศัพท์นั้นๆ โดยนักศึกษาสามารถอ่านภาษาอังกฤษจากสิ่งต่างๆได้ดังนี้ เช่น ตำรา สื่อออนไลน์ หนังสืออ่านนอกเวลา เนื้อเพลงภาษาอังกฤษ และ คำบรรยายภาษาอังกฤษในภาพยนตร์ และสิ่งอื่นๆที่จำเป็นต้องอาศัยทักษะในการอ่าน จากข้อมูลการวิจัยของ นราวดี พันธุ์นรา (2551 : 5) พบว่านักศึกษาได้อาศัยกลวิธีในการสร้างความหมายจากการอ่านด้วยวิธีการ การเดาความหมายจากบริบท และ วิชัย มากอยู่ (2549 : ก) ได้ให้เทคนิคในการเดาความหมายของคำศัพท์ไว้ 5 ข้อ ดังนี้ 1.การเดาความหมายของคำศัพท์โดยวิเคราะห์จากรากศัพท์ 2.การเดาความหมายของคำศัพท์โดยวิเคราะห์จากอุปสรรค 3.การเดาความหมายของคำศัพท์โดยวิเคราะห์จากปัจจัย 4.การเดาความหมายของคำประสม และ5.การเดาความหมายของคำศัพท์โดยวิเคราะห์จากบริบท
เพื่อให้ทราบถึงกลวิธีต่างๆที่นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอัง