บทคัดย่อ
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง “เปลือกผลไม้ลบคำผิด” สามารถลบรอยคำผิดที่ติดอยู่ตามโต๊ะเรียน เก้าอี้ หรือพื้นให้สะอาดได้ โดยการใช้เปลือกผลไม้ ได้แก่ เปลือกมะกรูด เปลือกมะนาว เปลือกส้มโอ เปลือกส้มเขียวหวาน มาถูบริเวณที่มีรอยน้ำยาลบคำผิด ผลปรากฏว่ารอยน้ำยาลบคำผิดสามารถหลุดออกไป ทำให้บริเวณนั้นสะอาดขึ้น และยังเป็นการประหยัดและปลอดภัยต่อผู้ใช้อีกด้วย
กิตติกรรมประกาศ
โครงงานนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี ขอขอบคุณ คุณครูรัฐพงษ์ พงศาปาน ที่ให้คำแนะนำให้คำปรึกษาและให้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และการทำโครงงานขอขอบคุณผู้อำนวยการสถานศึกษา ที่ให้การช่วยเหลือและเสนอแนะให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดแสดงโครงงาน ให้ความอนุเคราะห์วัสดุอุปกรณ์วิทยาศาสตร์และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง ตลอดจนวัสดุที่ใช้ในการจัดแสดง ขอขอบคุณผู้ที่ให้ความรู้ที่ได้จากการทำโครงงานนี้ไปเผยแพร่เพื่อประโยชน์ให้กับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ตลอดจนขอขอบคุณบิดา มารดาและเพื่อนร่วมงานที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
จากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่เราได้ประสบปัญหากันนั้น หลายท่านคงทราบว่า ภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยที่ดิ่งตัวลงอย่างน่าตกใจนั้นได้ส่งผลต่อราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคในตลาดได้ปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้เหล่าพ่อค้าและประชาชนต้องประสบปัญหาสินค้าแพง และสินค้าขายไม่ได้ หรือสินค้าขาดตลาดทำให้ราคาสินค้ายิ่งขยับตัวแพงขึ้นไปอีก ซึ่งท่านพ่อบ้านแม่บ้านอาจจะกำลังกลุ้มใจกับรายจ่ายภายในครัวเรือนที่ต้องมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น แต่รายรับยังมีเท่าเดิม ดังนั้นพวกเราจึงได้ปรึกษาและหาทางออกเพื่อช่วยท่านพ่อบ้านและแม่บ้านทั้งหลาย ให้มีรายจ่ายภายในครัวเรือนลดน้อยลงบ้าง ซึ่งต้องเริ่มจากสิ่งที่เราใช้ทุกวัน และสิ้นเปลืองอย่างมาก เช่น น้ำยาทำความสะอาดที่พวกเราใช้กันอยู่ทุกวัน และมีราคาแพง เราจึงได้คิดค้นวิธีศึกษา และวิธีการทดลองประดิษฐ์น้ำยาขจัดคาบจากเปลือกผลไม้ใช้เองซึ่งจะทำให้ได้ลดรายจ่ายภายในครัวเรือนได้อีกนิดหนึ่งก็ยังดี น้ำขจัดคาบที่เราได้ศึกษาและนำมาเสนอนี้ ล้วนมีวัตถุดิบที่มาจากธรรมชาติหาได้ภายในครัวเรือนและท้องถิ่น ไม่อันตราย แถมยังไม่ต้องซื้อหา ทำให้ประหยัดเงินไปได้อีกมากมาย วิธีการทำน้ำยาขจัดคาบก็ง่ายแสนง่าย เพียงแค่ท่านพ่อบ้านแม่บ้าน หรือผู้ที่สนใจจะศึกษา และนำไปทำก็สามารถทำได้ด้วยตัวเอง แถมเมื่อเรามีความรู้ความสามารถทำได้สำเร็จแล้วนั้นเราอาจจะแบ่งปันความรู้ให้กับผู้ที่สนใจแต่ไม่ค่อยมีเวลาศึกษาเอกสารเองก็ได้
จากข้อมูลและเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ทำให้พวกเราเกิดความสนใจที่จะทดลองทำน้ำยาขจัดคาบจากเปลือกผลไม้รสเปรี้ยวที่ทิ้งตามตลาด หรือผลไม้บนต้นที่มีจำนวนมากจนทานไม่หมด
สมมติฐาน
เปลือกผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวสามารถลบน้ำยาลบคำผิด(liquid paper)
จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
1. เพื่อศึกษาการนำเปลือกผลไม้มาใช้ในการลบรอยน้ำยาลบคำผิดบนโต๊ะ
2. เพื่อนำของเหลือใช้มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
3. เพื่อนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้งาน ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม
4. เพื่อส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อฝึกฝนตนเองให้เป็นนักวิทยาศาสตร์
ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
โครงงานเรื่อง เปลือกผลไม้ลบคำผิด ผู้ศึกษาได้กำหนดขอบเขตของการศึกษาคนคว้าไว้ดังนี้
1.ขอบเขตด้านเนื้อหา
-สรรพคุณของมะกรูด ส้มเขียวหวาน มะนาวและส้มโอ
-รายการอุปกรณ์และสารเคมี
-วิธีการทดลอง
2.ขอบเขตด้านระยะเวลา
ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ใช้ระยะเวลาในการศึกษา คือ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2557 ถึงเดือนตุลาคม2557
นำเปลือกผลไม้มาทดลอง 4 ชนิด ได้แก่ เปลือกมะกรูด ส้มเขียวหวาน มะนาวและส้มโอ โดยการถูรอยน้ำยาลบคำผิด ( ลิควิดเปเปอร์ : liquid paper ) ที่ติดตามโต๊ะเรียน เก้าอี้ แผ่นไม้ เปรียบเทียบความสามารถในการหลุดลอกของน้ำยาลบคำผิดลิควิดเปเป้อร์ ( ลิควิดเปเปอร์ : liquid paper )
นิยามศัพท์เฉพาะ
1.น้ำยาลบคำผิด หมายถึง เป็นของเหลวสีขาวทึบใช้สำหรับป้ายทับข้อความผิดพลาดในเอกสาร และเมื่อแห้งแล้วสามารถเขียนทับได้ โดยปกติน้ำยาลบคำผิดจะบรรจุอยู่ในขวดเล็ก และมีฝาซึ่งมีแปรงติดอยู่ (หรืออาจเป็นชิ้นโฟมสามเหลี่ยม) ซึ่งจุ่มน้ำยาอยู่ในขวด แปรงนั้นใช้สำหรับป้ายน้ำยาลงบนกระดาษ ก่อนที่จะมีการคิดค้นโปรแกรมประมวลคำ น้ำยาลบคำผิดเป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับการพิมพ์เอกสารด้วยเครื่องพิมพ์ดีด รูปแบบแรกสุดของน้ำยาลบคำผิดถูกคิดค้นขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1951 โดยเลขานุการ Bette Nesmith Graham ผู้ก่อตั้งบริษัทลิควิดเปเปอร์ ด้วยการใส่สีขาวบรรจุลงในขวดน้ำยาทาเล็บ ใช้พู่กันป้ายน้ำยาสีขาวลงบนกระดาษที่พิมพ์คำผิด
1 ทินเนอร์ เนื่องจากน้ำยาลบคำผิดประกอบด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ (สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย) น้ำยาที่ไม่ได้ใช้เป็นเวลานานจะข้นมากขึ้นตามเวลาเพราะตัวทำละลายจะระเหยไปในอากาศ ซึ่งอาจทำให้น้ำยาข้นเกินไปที่จะใช้ หรือบางทีก็แห้งกรังไปเลย ดังนั้นผู้ผลิตน้ำยาลบคำผิดบางรายจึงขายตัวทำละลายเป็นอีกขวดแยกต่างหากโดยเรียกว่า ทินเนอร์ การใส่ทินเนอร์เพียงไม่กี่หยดลงในขวดก็ทำให้น้ำยากลับมาเป็นสภาพปกติทินเนอร์ที่ว่านี้เดิมประกอบด้วยโทลูอีน ซึ่งถูกห้ามใช้เนื่องจากเป็นสารก่อมะเร็ง ในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนไปใช้ 1,1,1-ไตรคลอโรอีเทน แต่ก็ถูกห้ามใช้อีกโดยพิธีสารมอนทรีออล (Montreal Protocol) เนื่องจากเป็นสารที่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ จึงเปลี่ยนไปใช้ไตรคลอโรเอทิลีนซึ่งก็ไม่ได้ปลอดภัยจากเดิมมากนัก ปัจจุบันนี้ทินเนอร์ที่ใช้ในน้ำยาลบคำผิดมีส่วนประกอบของโบรโมโพรเพน เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความไม่สะดวกที่จะใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ ด้วยเหตุผลของความปลอดภัยและการสรรหา น้ำยาลบคำผิดบางยี่ห้อสามารถใช้น้ำเป็นตัวทำละลายได้ แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ใช้เวลาแห้งนานกว่า และไม่สามารถใช้ได้กับหมึกบางประเภท ซึ่งจะทำให้สีหมึกปนกับน้ำยา