การทดสอบปุ๋ยชีวภาพจากเปลือกปูที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นอ่อนทานตะวัน โดยจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ปูที่แกะเนื้อ กับ ปูที่ไม่แกะเนื้อ ซึ่งปูที่ใช้ทั้งหมด 5 ชนิด คือ ปูฤาษี ปูม้า ปูดาว ปูกระตอยหิน และปูกระตอย ซึ่งปูที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นปูที่เหลือทิ้งจากอวนจมปู นำปูทั้ง2กลุ่มมาอบที่อุณหภูมิ 70 องศา ต่อ 8ชั่วโมง และนำไปบดให้ละเอียด ทั้งนี้พบว่า กลุ่มปูที่แกะเนื้อมีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นอ่อนทานตะวัน มากกว่ากลุ่มปูที่ไม่แกะเนื้อ และปุ๋ยจากเปลือกปูกะตอยที่ปริมาณ1กรัม ทำให้ต้นอ่อนทานตะวันมีความสูงเฉลี่ยสูงที่สุด ถึง 107.31 จากผลการศึกษานี้ยังไม่สามารถศึกษาเปลือกปูที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นอ่อนทานตะวันได้ เนื่องจากผลที่ได้จากการปลูกต้นอ่อนทานตะวันที่ไม่ได้ใส่เปลือกปูซึ่งมีผลทำให้ต้นมีความสูงเฉลี่ยมากกว่าต้นที่ปลูกใส่ปูป่น หากมีการปรับเปลี่ยนเวลาให้ยาวขึ้นผลการศึกษาอาจจะเห็นผลได้ดียิ่งขึ้น การศึกษานี้มีความเหมาะสมที่จะนำไปพัฒนาเป็นปุ๋ยชีวภาพในด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเนื่องจากไปเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและยังช่วยเพิ่มมูลค่าของปูที่เหลือทิ้งจากอวนจมปูเพื่อให้เกิดประโยชน์