If you start investing and recycling and reusing these materials, you actually begin to look at turning a problem into an opportunity; you start creating jobs, you start reducing the amount of metals that leaves the cycle of our economy, you can reuse them," Steiner said. "So those are all advantages if you begin to manage electronic waste not as we see from industrialized countries to least developed countries without legislation”
เขากล่าวไว้ตอนนี้ว่า " ถ้าเราเริ่มลงทุนและนำวัสดุเหล่านี้กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เราก็จะผันปัญหาให้กลายมาเป็นโอกาส โดยเราจะเริ่มสร้างงาน ลดปริมาณโลหะที่จะทิ้งนั้นลง เรื่องเหล่านี้มีประโยชน์ถ้าเราเริ่มจัดการกับขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ทำตามแบบที่เราเห็นในประเทศอุตสาหกรรม เรื่อยไปจนถึงประเทศที่ด้อยพัฒนาที่สุดโดยไม่มีกฎหมายบังคับ”
The Basel Convention is an international agreement setting global guidelines on handling e-waste. But it is not without weaknesses.
อนุ สัญญาเบเซิ่ลเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศ ที่กำหนดแนวทางที่โลกจะจัดการกับขยะอิเล็กทรอนิกส์ แต่อนุสัญญาฉบับนั้นก็มีจุดอ่อนหลายอย่างเหมือนกัน
The United States, the single largest producer of e-waste, has never ratified the convention. Also, e-waste has become a highly profitable illegal trade. Some companies get rid of their trash by exporting it to poor countries where, instead of being treated or recycled, it piles up in landfills, and the toxic materials can leach out into water and soil.
สหรัฐซึ่งเป็นประเทศที่มีขยะอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุดใน โลก ยังไม่ได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับนั้น นอก จากนี้ยังมีการลักลอบค้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ เพราะได้กำไรงาม บริษัทบางแห่งกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยวิธีส่งไปกำจัดยังประเทศที่ยากจน ซึ่งแทนที่จะมีการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ กลับปล่อยให้กองพะเนิน อยู่ตามที่ทิ้งขยะและวัศดุที่เป็นพิษสามารถแทรกซึมลงไปในน้ำหรือลงไปในดิน ได้
The problem today is compounded by the growing complexity of the trade. E-waste used to be produced by developed nations and then dumped in poor countries. But today poor countries without recycling capacity export their e-waste to nations like China, and emerging economies are also increasingly net producers of e-waste: China for example has become the second larger producer after the United States.
ปัญหาในทุกวันนี้ ยิ่งสลับซับซ้อนมากขึ้นเนื่องจากการค้า ประเทศพัฒนาแล้วกลายเป็นผู้ผลิตขยะอิเล็กทรอนิกส์และนำไปทิ้งตามประเทศที่ ยากจน แต่ในทุกวันนี้ ประเทศที่ยากจน ซึ่งไม่มีขีดความสามารถในด้านนำขยะที่ทิ้งแล้วกลับมาใชประโยชน์ใหม่ ก็จะส่งขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปยังประเทศอย่างประเทศจีน และประเทศที่เศรษฐกิจกำลังเข้มแข็งขึ้น ซึ่งกำลังกลายเป็นผู้ก่อให้เกิดขยะอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นเรื่อยๆ และในตอนนี้กลายเป็นว่าประเทศจีนก่อให้เกิดขยะอิเล็กทรอนิกส์มากเป็นที่สอง รองจากประเทศสหรัฐอเมริกา
Electronic waste is more than an economical problem. It also affects the health of millions of people who make a living by stripping out the waste dumped in their countries. Environmental experts say it will take new funds and manpower to solve the problem, by establishing safe recycling facilities and curbing illegal exports.
ขยะ อิเล็กทรอนิกส์ยังกระทบกระเทือนสุขภาพของประชากรโลกนับเป็นล้านๆ คน อันได้แก่ ผู้ทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยการเก็บขยะในประเทศของพวกเขา ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมกล่าวว่า การแก้ปัญหานี้ต้องใช้เงินทุนงวดใหม่และแรงคนโดยจัดตั้งสถานที่อำนวยความ สะดวก สำหรับการนำขยะที่ทิ้งแล้วกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ที่ปลอดภัยและควบคุมสินค้า ขาออกที่ผิดกฎหมาย