การศึกษาชนิดของสารสกัดจากพืชที่มีแอนโทไซยานินใช้ในการตรวจสอบสารฟอกขาวในถั่วงอก ตัวแปรที่จะศึกษาได้แก่ สารสกัดจากเปลือกมังคุด สารสกัดจากกะหล่ำปลีม่วง และสารสกัดจากดอกอัญชัน จะตรวจสอบสารฟอกขาวโดยการสังเกตการเปลี่ยนแปลงสีของสารสกัดซึ่งสารสกัดที่ใช้ในการตรวจสอบก็คือ สารสกัดจากกะหล่ำปลีม่วง สารสกัดจากเปลือกมังคุดและสารสกัดจากดอกอัญชัน จะตรวจสอบสารฟอกขาวโดยการนำสารสกัดแต่ละชนิดใส่ลงในแต่ละโหลและเติมน้ำในปริมาณที่เท่ากับสารสกัดแล้วใส่ถั่วงอกที่ไม่ใช้สารฟอกขาวและถั่วงอกที่ใช้สารฟอกขาวลงในแต่ละโหล ผลที่ได้ก็คือ สารสกัดทุกชนิดสามารถตรวจสอบสารฟอกขาวได้ แต่สารสกัดจากกะหล่ำปลีม่วงจะเกิดการเปลี่ยนสีที่ชัดเจนที่สุด สารสกัดจากเปลือกมังคุดเกิดการเปลี่ยนแปลงสีค่อนข้างชัดเจนและสารสกัดจากดอกอัญชันเกิดการเปลี่ยนสีน้อยที่สุดหรือไม่เปลี่ยนแปลงเลย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสีของสารสกัดแสดงให้เห็นชัดเจนว่า ถั่วงอกที่ได้มีการฟอกขาวให้น่ารับประทานได้มีสารฟอกขาวปะปนอยู่ ถ้าได้รับในปริมาณสารฟอกขาวที่มากเกินไปอาจส่งผลร้ายต่อร่างกายได้ และเนื่องจากสารเอนโทไซยานินที่อยู่ในสารสีม่วงทำปฏิกิริยากับโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์หรือที่เรารู้จักกันดีก็คือ สารฟอกขาว จึงทำให้สีของสารสกัดเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม