S&P ชื่อนี้มีแต่ของอร่อย
คนไทยได้ชื่อว่าเป็นนักกิน ธุรกิจอาหารจึงเป็นธุรกิจ ที่ฮิตติดอันดับ และค่อนข้างปลอดภัย เพราะอย่างไรคนก็ต้องกิน ร้านอาหารจึงผุดขึ้น เป็นดอกเห็ด ไม่ว่าจะกินจริง หรือกินบรรยากาศ แต่จะมีสักกี่คน ที่ทำได้อย่าง “เอสแอนด์พี”เจ้าตำนานแห่ง "ชื่อ" ที่ (นึกทีไรก็) มีแต่ของอร่อย และกลายเป็นโรล์โมเดล ของธุรกิจร้านอาหารไทยทั้งหลาย
ปีนี้เอสแอนด์พีอายุครบ 28 ปี และกำลังย่างเข้าสู่ปีที่ 29 โดยเริ่มต้นจาก ธุรกิจร้านไอศกรีม คอนเนอร์เล็กๆ ในซอยประสานมิตรที่ “คุณหญิงภัทรา ศิลาอ่อน” และน้องสาวร่วมกันเปิด เพื่อใช้เป็นสถานที่รอรับลูกชาย ที่เรียนในโรงเรียนสาธิตใกล้ๆ โดยใช้อักษรย่อ ชื่อเจ้าของร้านทั้ง 2 คน มาเป็นชื่อร้าน
ผ่านไป 3 ปี ก็ปรับร้าน ให้เป็นเบเกอรี่ช้อป โดยเอาแบบ มาจากประเทศอังกฤษ หลังจากนั้น 7 ปี จึงเปิดสาขาที่ 2 และเป็นสาขาที่เก่าแก่ที่สุด ในปัจจุบันได้แก่ที่ สยามสแควร์
จากร้านที่ทำ “เล่นๆ” เอสแอนด์พีกลับเติบโต ขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในระยะ 10 ปีให้หลัง หลังจากที่เอาบริษัท เข้าระดมทุนในตลาดหุ้น กลายเป็นบริษัทมหาชน ก็มีแผนขยายสาขามากมาย ทั้งในเมืองไทย และต่างประเทศ รวมถึงขยายกำลัง การผลิตด้วย
ปัจจุบัน เอสแอนด์พีมี 49 สาขา และเบเกอรี่ช้อปเล็กๆ อีกประมาณ 110 แห่ง ซึ่งถ้านับรวมทั้งหมดแล้ว ก็ถือเป็นร้านอาหารของคนไทย ที่มีสาขามากที่สุดในขณะนี้
นอกจากนี้ยังมี เอสแอนด์พีสปีดี้ ที่เปิดเฉพาะในปั๊มน้ำมันเจ็ท และร้านอาหาร นานาชาติพาทิโอ ซึ่งจับกลุ่มคนรุ่นใหม่ ส่วนสินค้าและบริการอื่นๆ ได้แก่ อาหารแช่แข็ง ดิลิเวอรี่ ไส้กรอก บุฟเฟ่ต์สุกี้ ที่หวังเพิ่มยอดในบางสาขา และเวบไซต์ www.sandprestaurant.com ที่สามารถสั่งเค้กทางเวบได้
ส่วนในต่างประเทศ บริษัท เอสแอนด์พี ซินดิเคท ยังเปิดร้านอาหารไทย สไตล์โมเดิลชื่อ “ภัทรา” ซึ่งเป็นร้าน Upscale ขายราคาค่อนข้างสูง มุ่งกลุ่ม Upper Middle Class และดัดแปลงสูตรอาหารบ้าง ตามวัตถุดิบที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น ใช้แกะย่างแทนไก่ย่าง ในประเทศอังกฤษ หรือใช้กุ้งล็อปสเตอร์ปรุงอาหาร ซึ่งนอกจากขายได้ราคา มากขึ้นแล้ว ยังอร่อยไปอีกแบบด้วย
ปัจจุบันภัทรามี 9 สาขาในต่างประเทศ ได้แก่ที่ อังกฤษ 3 สาขา สิงคโปร์ 4 สาขา สวิตเซอร์แลนด์ และไต้หวันอย่างละ 1 สาขา
ส่วนทางด้านฝ่ายผลิต เอสแอนด์พีเพิ่งประกาศ เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 300 ล้านบาท เป็น 525 ล้านบาท เมื่อปีที่แล้ว โดยออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 45 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 5 บาท เพื่อใช้ในการขยาย กำลังการผลิต และขยายธุรกิจไปต่างประเทศโดยเฉพาะ
โดยในส่วนนี้ได้ใช้ไป 280 ล้านบาท ในการขยายกำลังการผลิตเพิ่ม โดยซื้อโรงงานแห่งที่ 4 ที่บริเวณถนนบางนาตราด กม.23 มูลค่า 200 ล้านบาท เพื่อขยายการผลิตเบเกอรี่ และอาหารแช่แข็งโดยเฉพาะ จากเดิมที่มีโรงงาน เบเกอรี่กลางอยู่ 3 แห่ง ที่กรุงเทพฯ เชียงใหม่ และโรงงานจิ๋ว อีกแห่งที่หาดใหญ่
ร้านครอบครัว…คอนเซ็ปท์ของเอสแอนด์พี มีจุดเด่นอยู่ที่ความเป็น Family Restaurant โดยเน้นกลุ่มคนชั้นกลาง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นครอบครัว และคนทำงาน ลูกค้าจึงมีตั้งแต่เด็ก จนถึงผู้ใหญ่ ซึ่งทำให้เอสแอนด์พี ต้องผลิตสินค้า และจัดกิจกรรมส่งเสริม ความเป็นร้านครอบครัวมากมาย เช่น มีตัวการ์ตูน และคุกกี้ กับเค้กทริปเปิล สำหรับเด็กๆ และมีเค้กพวงมาลัย รังนก และซุปไก่สกัด สำหรับกลุ่มผู้ใหญ่
“เพราะเราก็คือ แฟมิลี่บิสเนสเองด้วย เราจึงเข้าใจ และทำร้านเพื่อแฟมิลี่ทุก Age Group แรกๆ จะเริ่มจากเด็กนักเรียน แต่พอเริ่มทำงาน ก็เป็นอีกช่วงเวลาหนึ่ง พอแต่งงานมีลูก ลูกของเขา ก็มาเป็นลูกค้าของเราอีก มาเริ่มใหม่เป็นวงจร
และพอลูกค้าเขาอายุมากหน่อย โดยเฉพาะคนสูงอายุ จะมีความจงรักหรือ Royalty กับแบรนด์มาก การตลาดในกลุ่มนี้ จะไม่ต้องทำอะไรมากเลย เพราะพอคนอายุมากแล้ว ถ้าเขาใช้อะไรมา ยาสีฟัน หรือเสื้อยี่ห้อนี้ เขาจะไม่ค่อยเปลี่ยน ขนาดช่างตัดผม ยังไม่เปลี่ยนเลย ย้ายไปไหนก็จะตามไป”
"วิทูร ศิลาอ่อน" ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ กล่าว
ความสัมพันธ์ระหว่างร้านกับลูกค้า ก็เป็นสิ่งที่เอสแอนด์พี พยายามผลักดัน มาโดยตลอด เริ่มตั้งแต่ปฏิสัมพันธ์ ระหว่างพนักงานกับลูกค้า “วิทูร” เล่าว่าผู้จัดการร้านอาวุโสบางสาขา ที่ทำงานกับเอสแอนด์พี มานานร่วม 10 ปี ก็จะรู้จักกับลูกค้าประจำ เป็นอย่างดี
“เราพยายามให้เป็น Family Restaurant พยายามเป็นกันเองกับลูกค้า เน้นสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เพราะเราเน้นความเป็นครอบครัว เราไม่อยากให้ พอบริษัทโตแล้ว ตรงนี้มันหายไป เพราะตรงนั้นเป็นอะไร ที่ทำให้เราโตมาได้ ความที่ลูกค้าเขามาแล้ว เขาสบายใจ เป็นเหมือนห้องอาหารของเขา” “วิทูร” กล่าว
มาตรฐานสูง… เป็นกุญแจแห่งความสำเร็จ ของเอสแอนด์พีที่ “วิทูร” บอกว่าได้ความ “เนี้ยบ” ของคุณแม่เป็นต้นแบบ ทั้งรสชาติ ความสะอาด การบริการ บรรยากาศในร้าน รวมทั้งมั่นใจว่า มาตรฐานของพวกเขา สูงกว่าคู่แข่งหลายๆ คน โดยเฉพาะความสะอาด ที่มีคะแนนจากการเซอร์เวยในร้าน นำโด่งมาเป็นอันดับหนึ่ง
แต่เอาท์เล็ตที่ขยายราวกับดอกเห็ด ก็ทำให้การควบคุมมาตรฐาน เริ่มยากขึ้น เอสแอนด์พีจึงต้องติวเข้มพนักงาน ให้มีสแตนดาร์ดเดียวกัน
“พนักงานที่โตมากับเรา ก็เข้าใจว่าสแตนดาร์ด ของเราเป็นอย่างไร แล้วเราก็ฝึกให้เขา มีสแตนดาร์ดที่เท่าเทียมกัน ถ้าไม่ได้สแตนดาร์ดนี้ ก็ไม่ใช่เอสแอนด์พี”
เอสแอนด์พีจึงต้องฝึกอบรม พนักงานเข้าใหม่ ให้มีมาตรฐานเดียวกัน รวมถึงการอบรมซ้ำ (Retrain) พนักงานเก่าอยู่เสมอ
แต่นอกจากคุณภาพแล้ว จำนวนพนักงาน ก็เป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่ง เพราะสาขาที่ขยายอย่างรวดเร็ว ก็ทำให้ต้องเร่งหา บุคลากรมารองรับ แถมยังต้องอบรม ให้ได้มาตรฐาน ที่เอสแอนด์พีวางไว้อีก
"หลังๆ เราเน้นขยายเร็ว ยิ่งเบสใหญ่ก็ยิ่งไม่ง่าย สมมติขยาย 10 เปอร์เซ็นต์ อย่างพนักงานเดิม 3 พันคน ก็ต้องหาคนอีก 300 คน" อย่างไรก็ตาม เพื่อคุณภาพแห่งการบริการ "วิทูร" บอกว่าเขาต้องดูแล ให้พนักงานมีความสุข เพื่อให้ทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
"เราก็พยายามให้เขามีความรู้สึก ว่าเป็นครอบครัวเดียวกัน เป็นระบบของเรา อย่างผู้จัดการเขาจะเรียกแม่ ผู้จัดการเก่าๆ ก็จะเรียกพนักงานว่าลูก เราจะส่งเสริมให้เขารู้สึก ถึงความเป็นกลุ่มเป็นก้อน"
ความหลากหลายของสินค้า… เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่ง ของแบรนด์ อาหารเอสแอนด์พี ซึ่งจงใจสร้างโปรดักท์ออกมามาก ทั้งขนมเค้ก ขนมไหว้พระจันทร์ ซุปไก่ส