1. พิษภัยของบุหรี่
ควันบุหรี่มีสารประกอบที่เป็นสารพิษและสารก่อมะเร็ง ได้แก่สารประกอบ
ต่าง ๆคือ
1.1 สารประกอบในบุหรี่ ควันบุหรี่ที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้บุหรี่มีสารประกอบทางเคมี
มากกว่า 7,000 ชนิด ในจานวนนี้เป็นสารพิษและสารก่อมะเร็งไม่ต่ากว่า 72 ชนิด (ประกิต วาที
สาธกกิจ: 2554) นอกเหนือไปจากสารเสพติดและสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองสารประกอบที่
สาคัญ เช่น
1) นิโคติน (Nicotine) เป็นสารที่ทาให้ติดบุหรี่ ออกฤทธิ์โดยตรงต่อสมอง เป็นทั้งตัวกระตุ้นและกดประสาทส่วนกลาง ถ้าได้รับสารนี้ในปริมาณน้อย เช่น จากการสูบบุหรี่ 1-2 มวนแรก อาจกระตุ้นทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า แต่ถ้าสูบหลายมวนก็จะกดประสาทส่วนกลาง ทาให้ความรู้สึกต่าง ๆ ช้าลงร้อยละ 95 ของนิโคตินจะไปจับอยู่ที่ปอด บางส่วนจับอยู่ที่เยื่อหุ้มริมฝีปาก และบางส่วนถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด มีผลโดยตรงต่อต่อมหมวกไต ก่อให้เกิดการหลั่งอิพิเนฟริน (Epinephrine) ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ และเต้นไม่เป็นจังหวะ หลอดเลือดที่แขนและขาหดตัวเพิ่มไขมันในเส้นเลือด บุหรี่ 1 มวนจะมีนิโคติน 0.8-1.8 มิลลิกรัม บุหรี่ก้นกรองไม่ได้ช่วยให้ร่างกายได้รับโคตินน้อยลง
2) ทาร์ (Tar) สารทาร์หรือน้ามันดิน มีลักษณะเหนียวประกอบด้วยสารหลายชนิดเกาะกันเป็นสารสีน้าตาลเข้ม เป็นสารก่อให้เกิดมะเร็งที่อวัยวะต่าง ๆ ได้ เช่น ปอด กล่องเสียง หลอดลม หลอดอาหาร ไต กระเพาะปัสสาวะ และอวัยวะอื่น ๆ ร้อยละ 50 ของทาร์จะไปจับที่ปอดทาให้เกิดการระคายเคือง เป็นสาเหตุของการไอเรื้อรัง ไอมีเสมหะ ผู้ที่สูบบุหรี่วันละซอง ปอดจะได้รับสารทาร์เข้าไปประมาณ 30 มิลลิกรัมต่อวัน หรือ ประมาณ 110 กรัมต่อปี (บุหรี่ไทยมีสารทาร์อยู่ 12-24มิลลิกรัม/มวน)
3) คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbonmonoxide) เป็นก๊าซที่มีความเข้มข้นที่ออกมาพร้อมกับควันบุหรี่ สามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็วทาลายความสามารถในการจับออกซิเจนของเม็ดเลือดแดงตามปกติ ทาให้ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยลง เกิดการขาดออกซิเจน หัวใจต้องทางานหนักขึ้น ทาให้มึนงง หัวใจเต้นเร็วขึ้น เหนื่อยง่าย เป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังทาให้เกิดอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้กล้ามเนื้อแขนขาไม่มีแรง
4) ไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogen dioxide) เป็นก๊าซพิษที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง ทาลายเยื่อบุหลอดลมส่วนปลายและถุงลม ทำผนังถุงลมบางและโป่งพอง ถุงลมเล็กๆ แตกรวมกันเป็นถุงลมใหญ่ ทาให้จานวน ถุงลมน้อยลงการยืดหยุ่นในการหายใจเข้า-ออกลดลง ทาให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยลงเกิดอาการแน่นหน้าอก ไอเรื้อรัง หอบเหนื่อย
5) ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Hydrogen cyanide) เป็นก๊าซพิษที่ทาลายเยื่อบุหลอดลมส่วนต้น ทาให้เกิดหลอดลมอักเสบเรื้อรัง มีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะเป็นประจาโดยเฉพาะในตอนเช้าจะมีเสมหะมากขึ้น
6) สารกัมมันตรังสี โพโลเนียม 210 (Polonium 210) เป็นสารกัมมันตรังสีที่มีในควันบุหรี่ สารนี้ให้รังสีอัลฟา ซึ่งเป็นสาเหตุทาให้เกิดมะเร็งปอด และควันบุหรี่ยังเป็นพาหะที่มีประสิทธิภาพร้ายแรงในการนาสารกัมมันตภาพรังสี ทาให้ผู้ที่อยู่รอบข้างได้รับสารพิษนี้เข้าไปกับลมหายใจด้วย
7) แร่ธาตุต่างๆ แร่ธาตุต่าง ๆ เช่น โปแตสเซียม แคดเมียม ทองแดง นิเกิล โครเมียม พบได้ในควัน บุหรี่ ธาตุเหล่านี้เป็นสารตกค้างในใบยาสูบ เป็นสารที่ก่อให้เกิดภาวะเป็นพิษต่อร่างกายได้โดยเฉพาะ นิเกิล เมื่อทาปฎิกริยากับสารเคมีอื่นๆ จะเป็นสารพิษที่ทาให้เกิดโรคมะเร็งได้นอกจากนี้ในควันบุหรี่ยังพบสารประกอบที่เป็นอันตรายต่อร่างกายชนิดอื่นๆอีกหลายชนิด เช่น สารหนู สารปรอท สารไนโตรซามีน สารฟอร์มาดีไฮด์ เป็นต้น
1.2 สารปรุงแต่ง ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์พบว่า นอกจากสารเคมีที่มีอยู่ในใบยาสูบตามธรรมชาติบริษัทผู้ผลิตบุหรี่ก็ได้เติมสารเคมีอื่น ๆ เข้าไปในบุหรี่ ทั้งที่ผสมรวมเข้าไปกับใบยาสูบและในกระดาษมวนบุหรี่ สารเหล่านี้เรียกรวม ๆ ว่าสารปรุงแต่ง ( additives) เพื่อเพิ่มรสชาติ ทำให้ลำคอโล่ง รสชาตินุ่มนวลไม่บาดคอ (เช่น น้าตาล เมนทอล กานพลู) เพื่อให้มีกลิ่นหอม (เช่น ลิ้นกวาง- coumarin) เพื่อให้เก็บได้ทนนาน (เช่น สารกันบูด สารกันเชื้อราสารกันชื้น) สารบางชนิดเป็นตัวเพิ่มฤทธิ์เสพติดของนิโคติน (แอมโมเนีย) สารปรุงแต่งเหล่านี้บางชนิดโดยตัวเองไม่มีอันตราย หรือหากนาไปใส่ในอาหารรับประทานก็เป็นที่ยอมรับว่าปลอดภัย แต่เมื่อนามาใส่ในบุหรี่และถูกเผาไหม้ร่วมกับสารเคมีอื่นๆอีกหลายชนิด จะกลายเป็นสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้สารปรุงแต่งที่พบว่ามีการนามาใส่ในบุหรี่มีจานวนมากกว่า 2,000 ชนิด บุหรี่แต่ละตราจะผสมสารปรุงแต่งประมาณไม่เกิน 100 ชนิด ในจานวนนี้พบว่ามีสารบางชนิดที่เป็นอันตรายร้ายแรงในจานวนสารปรุงแต่งกลิ่นรสบุหรี่ 700 ชนิดที่บริษัทบุหรี่สหรัฐอเมริการายงานต่อรัฐบาลมีสารเคมี 13 ชนิดที่คณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ ห้ามใช้ผสมในอาหาร และจานวน 5 ชนิดเป็นสารอันตราย ระดับที่องค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมประกาศห้ามนาไปทิ้งในบริเวณกาจัดขยะบริษัทบุหรี่ในยุโรป และบริษัทบุหรี่ในนิวซีแลนด์รายงานต่อรัฐบาลนิวซีแลนด์ว่า มีสารปรุงแต่งกลิ่นรสถึง กว่า 2,000 ชนิด ขณะที่โรงงานยาสูบของประเทศไทยรายงานว่า มีการเติมสารปรุงแต่งในบุหรี่แต่ละตรา 15-20 ชนิด ตัวอย่างสารปรุงแต่งในบุหรี่ที่พบว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
1) แอมโมเนีย (Ammonia) แอมโมเนียและสารประกอบของแอมโมเนียเป็นตัวเพิ่มนิโคตินอิสระ ( Freenicotine) ทำให้เพิ่มฤทธิ์เสพติดของนิโคติน เป็นสารที่ก่อให้เกิดการ ระคายเคืองเนื้อเยื่อนัยน์ตาหลอดลม ผิวหนัง ทาให้แสบตา แสบจมูก หลอดลมอักเสบ ไอมีเสมหะมาก
2) โกโก้ (cocoa) ทำให้เพิ่มโอกาสเกิดมะเร็ง อนุญาตให้มีได้ในบุหรี่ไม่เกินร้อยละ 5 ของน้าหนักยาสูบ
3) ลิ้นกวาง (Coumarin) นิยมใส่เพื่อเพิ่มกลิ่น (กลิ่นวานิลา) และรสชาติของบุหรี่ โดยเฉพาะในบุหรี่ที่มีทาร์ต่ำ สารนี้เป็นสารที่เป็นอันตรายต่อตับ ใช้เป็นสารฆ่าหนูและเป็นสารก่อมะเร็ง ในประเทศอังกฤษไม่อนุญาตให้ใส่ในอาหาร
4) กานพลู (Clove) ใส่เพื่อช่วยทาให้สูบบุหรี่ได้ง่ายขึ้น เพราะเมื่อเผาไหม้จะเกิด eugenol ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีฤทธิ์ทาให้ชาเฉพาะที่ และกดประสาทส่วนกลาง คล้ายบาร์บิทูเรต (barbiturates) และแอลกอฮอล์ สารนี้ทาให้เกิดเลือดออกในลาไส้ เลือดคั่งในปอด ถุงลมโป่งพอง น้าท่วมปอด
5) Diethyl glycol (DEG) เป็นสารเพิ่มจุดเยือกแข็งที่เติมในหม้อน้ารถยนต์ เมื่อใส่ในบุหรี่จะ