การแต่งงาน หมายถึง การที่ชาย-หญิง มีความรักใคร่ต่อกันจนสุกงอม
และพร้อมที่จะดำเนินชีวิตร่วมกัน เป็นครอบครัวอย่างสามีภรรยา"
พิธีแต่งงาน คือพิธีที่จัดทำขึ้น เพื่อให้ชายหญิงได้อยู่กินกันเป็นสามีภรรยากันถูกต้องตามประเพณี โดยเชิญญาติมิตรมาร่วมพิธีและเป็นสักขีพยาน การเรียกพิธีแต่งงานในปัจจุบันว่า พิธีมงคลสมรส นั้น เป็นการนำคำว่า เสกสมรส ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบัญญัติขึ้นเพื่อใช้เรียกพิธีแต่งงานของเจ้านายมาใช้ แต่ได้มีการตัดคำว่า เสกออกไป จึงเรียกเพียงว่า พิธีมงคลสมรส
พิธีแต่งงานในปัจจุบันแตกต่างจากสมัยก่อน ที่เห็นเด่นชัดคือ พิธีแต่งงานหมู่ หรือที่เรียกว่า พิธีสมรสหมู่ คือการจัดพิธีแต่งงานของเจ้าบ่าวและเจ้าสาว จำนวนหลายๆคู่พร้อมกัน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดงานและเป็นการนำประเพณีธรรมปรับให้เข้ากับสภาพเศรษฐกิจ และวัฒนมาและสังคมในปัจจุบันพระยาอนุมานราชธน เสถียรโกเศศ เล่าถึงพิธีแต่งงานในสมัยก่อนอย่างละเอียด ในหนังสือ ประเพณีเรื่องแต่งงาน บ่าวสาวไทย ว่า พิธีแต่งงานจะเริ่มมีขึ้นได้ ต่อเมื่อฝ่ายชายได้จัดผู้ใหญ่เป็นตัวแทนไปเจรจาสู่ขอหญิง เมื่อทางผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงตกลงปลงใจด้วยแล้ว ฝ่ายชายจึงวานผู้มีหน้ามีตา หรือผู้สูงอายุไปเจรจาสู่ขอ และทำความตกลงเรื่องขันหมากหมั้น เมื่อเจรจากันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงนัดหมายวันที่จะส่งขันหมากหมั้นไปสู่ขอตามธรรมเนียม
จากประเพณีการแต่งงานที่จัดทำเป็นพิธีการขั้นตอนต่าง ๆ นั้น จึงนับว่ามีความสำคัญ
มากและเป็นประเพณีที่งดงามเหมาะสม แสดงถึงความเจริญงอกงามทางวัฒนธรรมด้าน
จิตใจและวัฒนธรรมทางด้านวัตถุของบรรพบุรุษของไทยเราที่มองการณ์ไกล และมีความ
ละเอียดอ่อนโดยธรรมชาติของสิ่งที่มีชีวิตแล้วย่อมมีความต้องการทางเพศสัมพันธ์ และต้องการสืบสกุลต่อไปด้วย จึงทำให้เกิดความแตกต่างกันระหว่างคนกับสัตว์ และขณะเดียวกันกฎหมายและประเพณีไทยเราจึงต้องกำหนดกฎเกณฑ์ของบุคคล
ที่จะทำการแต่งงานได้จะต้องมีเงื่อนไขอีกหลายอย่าง