กฎหมายไทยในยุคกลางคือช่วงระยะเวลาสมัยอยุธยา กฎหมายในสมัยอยุธยา คำว่า “กฏหมาย” ในสมัยโบราณนั้นต้องไม่ปะปนกับแนวคิดที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพราะในรัฐสมัยใหม่เมื่อต้องพูด คำว่า”กฏหมาย” เราจะเข้าใจว่า กฎหมายก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นจากกระบวนการนิติบัญญัติ คือการตรากฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ในสมัยโบราณกฎหมายคือ ธรรมะ โดยถือว่ากฎหมายกับธรรมะเป็นเรื่องเดียวกัน แยกจากกันไม่ได้ซึ่งเป็นความคิดทำนองเดียวกับความคิดของสำนักกฏหมายธรรมชาติในตะวันตกและกฏหมายที่เป็นตัวบทสำคัญในสมัยอยุธยาก็คือ คัมภีร์พระธรรมศาสาตร์ ที่มาจากประเทศอินเดียวตามความเชื่อในศาสนาฮินดู โดยไทยรับมาจากมอญซึ่งนับถือศาสนาพุทธเช่นกัน ทำให้ในสมัยอยุธยานั้นตัวกฎหมาย การตัดสินคดียังมี จารีตประเพณีและศาสานาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
กฎหมายในช่วงประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาที่ฉันไม่ชอบคือ เรื่องเกี่ยวกับการกำหนดสถานภาพบุคคล ตัวอย่างคือ กฎหมายเรื่องทาส ในสมัยอยุธยามีการจัดระเบียบสังคมโดยกำหนดให้มีระบบไพร่ สำหรับสถานภาพของทาสนั้น มีความแตกต่างกับทาสของตะวันตก ตามกฎหมายไทย ทาสถือว่าเป็นทั้งวัตถุและทั้งบุคคลตามกฎหมาย ทาสถูกนำไปขายได้ เช่าแรงงานได้ ทำให้ในสมัยนั้นมีการซื้อขายทาส มีการลงโทษที่รุนแรง ที่ไม่ต่างอะไรกับสิ่งที่ไม่มีความเป็นมนุษย์ จึงส่งผลให้เกิดความแตกต่างทางสังคมระหว่างไพร่กับทาส และบคคลในสังคม