6.รณรงค์การประหยัด ให้กับครัวเรือนในชุมชน
- จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ซึ่งมีกิจกรรมการปล่อยเงินกู้ให้แก่สมาชิกกู้ โดยมีอัตราดอกเบี้ยต่ำ
- ดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน และกองทุนแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)
– รวมกลุ่มแม่บ้านเพื่อดำเนินกิจกรรมขายข้าวสารในราคาถูก
- มีการบูรณาการระหว่างกองทุน กข.คจ. กทบ. และเงินบริจาคเงินสมทบกองทุน เพื่อนำไปดำเนินกิจกรรมของครัวเรือน ตามเวทีชาวบ้าน
– สนับสนุนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ
7. ชุมชนส่งเสริมการเรียนรู้ มีการถ่ายทอดความรู้หลังจากแกนนำไปอบรมมาถ่ายทอด ให้ชาวบ้านรับรู้ และมีการใช้ภูมิปัญญาของชาวบ้าน เช่น การเรียนรู้เรื่องการจัดทำปุ๋ยชีวภาพ การจัดทำบัญชีครัวเรือนทุกครัวเรือน จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง สนับสนุนการเกษตรเพื่อเป็นต้นแบบของตำบล
8. การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
- เขตป่าชุมชน โดยมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวบ้านเป็นยามจำเป็น เพื่อปกป้องและป้องกันรักษาป่าชุมชน
– การหาหน่อไม้ ซึ่งในรอบปี จะจัดหาหน่อไม้เพียงครั้งเดียว จำนวน 15 วัน ระหว่าง 1-15 กันยายน ของปี และส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการอัดหน่อไม้ปีบ
– ร่วมกันพัฒนาปลูกต้นไม้ในสถานศึกษา และสถานที่สำคัญทางศาสนา วัด รวมทั้งสถานที่ที่ว่างเปล่า และที่สาธารณะ
– ทำความสะอาดป่าในวันสำคัญ
– มีการปลูกป่าทดแทน และจัดระเบียบป่าชุมชน
9. การเอื้ออารีต่อกัน โดยส่งเสริมความสัมพันธ์กัน ดังนี้
– รวมกลุ่มเพื่ออนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรมของตำบล_ โดยสนับสนุนการแห่ต้นเทียนพรรษาของตำบลเป็นประจำทุกปี การปฏิบัติธรรม การทำบุญเลี้ยงพระ การเดินเทิดพระเกียรติ และการไม่เที่ยวนอกบ้าน เพื่อลดค่าใช้จ่าย ลดการเกิดอุบัติเหตุ
- ลงแขกทำงาน เพื่อช่วยเหลือกัน โดยไม่คิดค่าจ้าง/ค่าแรง
– ส่งเสริมและสนับสนุนเบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุ โดยขอรับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบล
- จัดสรรเงินทุนการศึกษา จากสวัสดิการกองทุนหมู่บ้าน
- ในกรณีที่ขอกู้เงินจากกองทุนต่าง ๆ จะห้ามกู้เงินสำหรับผู้ที่ติดยาเสพติด
- จัดและร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับศาสนา การรักษาและคงเอกลักษณ์วัฒนธรรมประเพณี เช่น การทำบุญเลี้ยงพระ การไหว้ครูพ่อแก่ เป็นต้น
- ปลูกฝังค่านิยมในการพึ่งพาตนเอง และขยายความรู้สู่ชุมชน
10. เป็นชุมชนที่รู้รักสามัคคี ทุกครอบครัวในชุมชนมีส่วนร่วม ในการดำเนินกิจกรรมของชุมชน โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต