บทที่1
บทนำ
ชื่อเรื่อง: ปุ๋ยหมักจากผักตบชวา ชื่อเต็ม: ผักตบชวาแปรรูป
ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
อัตราส่วนของปริมาณน้ำหมักชีวภาพจากผักตบชวาที่จะนำไปใส่โคนต้นไม้แต่ละต้น ใช้อัตราส่วน100 ต่อ10ต่อ 1 ใช้ชุดควบคุม คือปุ๋ยหมักชีวภาพของผักตบชวา 100% นำมาใส่ในต้นไม้บริเวณโรงเรียนและชุมชนใกล้เคียงในแต่ละต้น 10% โดยพิจารณาจากการหาค่าเฉลี่ยบริเวณต้นไม้ในพื้นที่ ที่ ทดลองใช้ปุ๋ยหมักว่าได้รับประโยชน์ มากน้อยเพียงใดจากปุ๋ยหมักของผักตบชวา
สมมติฐานของการศึกษา
อัตราส่วนของค่าเฉลี่ยในการศึกษาจากการนำปุ๋ยหมักของผักตบชวา ช่วยสร้างคุณประโยชน์ประโยชน์แก่ต้นไม้
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น : อัตราส่วนของปริมาณน้ำหมักชีวภาพจากผักตบชวาที่จะนำไปใส่ในต้นไม้แต่ละต้น
ใช้อัตราส่วน100 ต่อ10ต่อ 1
ตัวแปรตาม: ค่าเฉลี่ยบริเวณต้นไม้ในพื้นที่ ที่ นั้นได้รับประโยชน์ มากน้อย เพียงใดจากปุ๋ยหมัก
ของผักตบชวา
ตัวแปรควบคุม: ปริมาณสัดส่วนปุ๋ยหมักที่ใช้ , พื้นที่ในการทดลองใช้ปุ๋ยหมัก
คำศัพท์
อัตราส่วนของปริมาณน้ำหมักชีวภาพจากผักตบชวาที่จะนำไปใส่ในต้นไม้แต่ละต้นใช้อัตราส่วน100 ต่อ10ต่อ 1 คือ อัตราส่วนปุ๋ยหมักชีวภาพของผักตบชวา 100% นำมาใส่ในต้นไม้บริเวณโรงเรียนและชุมชนใกล้เคียงในแต่ละต้น 10%
ค่าเฉลี่ยบริเวณต้นไม้ในพื้นที่ ที่ นั้นได้รับประโยชน์ มากน้อยเพียงใดจากปุ๋ยหมักของผักตบชวา คือ การหาค่าเฉลี่ยในพื้นที่ที่ทดลองใช้ปุ๋ยหมักของผักตบชวาว่าต้นไม้นั้นได้รับประโยชน์จากปุ๋ยหมักของผักตบชวาอย่างไรบ้างและเอื้อต่อปัจจัยใดบ้าง เช่น การเจริญเติบโต สภาพแวดล้อมบริเวณรอบๆ เป็นต้น
ชื่อผู้ศึกษาค้นคว้า : นางสาว ญานิศา ยันตรวัฒนา, นางสาว นภาพร งามสม, นางสาว วิลาวัลย์ แสงทวีชัย, นางสาว สุดสรัตน์ สีมา
ชื่อวิชา : การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ และวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ
ครูที่ปรึกษา : ครูนันทนาพร วงศ์ยศ และนายวินัย พรประเสริฐผล
ปีการศึกษา : 2558
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์
1.เพื่อศึกษาวิธีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
2.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ยชีวภาพให้ใช้ประโยชน์ได้จริง
3.เพื่อเป็นการต่อยอด โดยการนำมาทำปุ๋ยชีวภาพ ให้เกิดประโยชน์
4.ประหยัดค่าใช้จ่ายและลดการใช้สารเคมีในพืช
โดยมีวิธีดำเนินการกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/10 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ของโรงเรียนลำปางกัลยาณี อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง จำนวน 40คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาภายในกลุ่มย่อย ได้แก่ กากน้ำตาล, ถัง น้ำหรือถังสีที่มีฝาปิด, กระถางต้นไม้, พันธุ์พืช,ถุงพลาสติก และ ขวดน้ำพลาสติก
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1) การทดลองให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
2) สามารถใช้ปุ๋ยหมักแทนการใช้ปุ๋ยเคมีได้
3) สามารถแสดงให้เห็นว่าปุ๋ยหมักปลอดภัยมากกว่าปุ๋ยเคมี
4) สามารถเล็งเห็นประโยชน์จากผักตบชวาได้
5) คนส่วนใหญ่หันมาทำปุ๋ยหมักจากผักตบชวามากขึ้น
การศึกษาครั้งนี้มีวิธีดำเนินการโดยร่วมกันอภิปรายกลุ่มย่อยจากกลุ่มห้อง เพื่อสรุปเลือกประเด็นในการศึกษา ดำเนินการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น อินเตอร์เน็ต หนังสือ สัมภาษณ์ จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์สรุปเป็นองค์ความรู้ และสรุปเป็นผลการศึกษา โดยการทำงานมีการแบ่งหน้าที่ความความรับชอบร่วมกัน
ผลการศึกษา
ในการทดลองปุ๋ยหมักจากผักตบชวาซึ่งทางกลุ่มอัมผวา ได้นำมาทดลองในผักบุ้ง เหตุผลที่เลือกผักบุ้งเพราะว่าผักบุ้งมีระยะเวลาในการปลูกที่ไม่มากเท่าไร และก็ปลูกง่ายอีกด้วย ซึ่งทางกลุ่มนำมาทดลองเป็น 2 ตอน ตอนแรกนำมาทดลองปลูกในกระถางแบ่งกระถางปลูกโดยมีกระถางที่ใส่ปุ๋ยเคมี กระถางที่ใส่แต่ปุ๋ยหมัก และกระถางที่ใส่ปุ๋ยหมักคลุกกับมูลสัตว์ โดยทางกลุ่มเลือกที่จะนำมูลไก่ และมูลวัวใช้ในการคลุกกับปุ๋ยหมักโดยแบ่งกระถางมูลไก่คลุกกับปุ๋ยหมัก และอีกกระถางก็นำมูลวัวคลุกกับปุ๋ยหมักจากการทดลองพบว่าในกระถางของปุ๋ยเคมีนั้นจะเจริญเติบโตมากกว่าในกระถางที่ใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ ส่วนปุ๋ยหมักชีวภาพที่คลุกกับปุ๋ยคอกสามารถเจริญเติบโตได้ดีพอๆกับกระถางที่ใส่ปุ๋ยเคมี
ส่วนตอนที่สองนั้นทางกลุ่มได้ทำการทดลองเหมือนกับตอนแรกแต่มีการปรับเปลี่ยนจากนำมาปลูกในกระถางเปลี่ยนเป็นนำมาปลูกในเกลอนใส เพื่อที่จะดูรากในของแต่ละเกลอน ปรากฏว่า ในเกลอนที่มีปุ๋ยหมักชีวภาพรากสามารถเลื้อยได้ยาวกว่าเกลอนที่มีปุ๋ยเคมีอยู่ ซึ่งสามารถสะท้อนให้เห็นว่า ปุ๋ยมีผลต่อการเลื้อยของราก
ในเกลอนที่มีปุ๋ยเคมีจะมีรากที่สั้นเนื่องจากปุ๋ยเคมีเมื่อนำมาผสมกับดินเมื่อเวลาผ่านไปนานๆจะทำให้ดินแข็งได้เพราะว่าในปุ๋ยเคมีทำให้ดินเป็นกรด เป็นความจริงที่ว่าการใช้ปุ๋ยเคมีนานเข้าจะทำให้ดินเป็นกรดได้ แต่ต้องเข้าใจว่าไม่ใช่ปุ๋ยเคมีทุกชนิดทำให้ดินเป็นกรด ปุ๋ยเคมีพวกที่ให้ธาตุไนโตรเจนเท่านั้นที่ทำให้ดินเป็นกรด และในกลุ่มของปุ๋ยไนโตรเจนก็มีเพียงปุ๋ยพวกแอมโมเนียม เช่น แอมโมเนียมซับเฟตและยูเรียเท่านั้นที่ทำให้ดินเป็นกรด ส่วนปุ๋ยไนโตรเจนพวกไนเตรต เช่น แคบเซียมไนเตรตไม่ทำให้ดินเป็นกรด และกลับทำให้ดินเป็นกลาง เหมาะสำหรับใช้กับดินที่เป็นกรด เพราะจะทำให้ดินมีสภาพใกล้เป็นกลางขึ้นเรื่อยๆ สำหรับปุ๋ยฟอสเฟตและปุ๋ยโพแทสเซียมไม่มีผลทำให้ดินเป็นกรดแต่อย่างใด ดังนั้นการใช้ปุ๋ยเคมีจึงไม่จำเป็นต้องทำให้ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้นเสมอไป
อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนที่เป็นพวกแอมโมเนียมและยูเรีย และรู้ว่าต่อไปนานปีเข้าดินจะเป็นกรดมากขึ้นทำให้ดินแข็งมากขึ้น และในทุกๆปี ในฤดูเก็บเกี่ยวเกษตรกรจะมีการปรับหน้าดินใหม่เพื่อที่จะให้ดินนั้นมีธาตุอาหารอยู่เสมอ
และในเกลอนที่มีปุ๋ยหมักจะมีรากที่เลื้อยยากเพราะว่า ในปุ๋ยหมักคือช่วยปรับสภาพความเป็นกรด - ด่าง ในดินและน้ำ ช่วยปรับสภาพโครงสร้างของดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำและอากาศได้ดีอยู่เสมอซึ่งในการทำเกษตรโดยใช้ปุ๋ยหมักนั้นจะไม่ต้องปรับสภาพดินในการเพาะปลูกแต่ละครั้ง
Abstract