และจากการศึกษาพบว่าทั้งสามมิติมีลักษณะที่สอดคล้องกับทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของชุทซ์ ( Schultz, 1960) โดยที่มิติความเป็นวิชาชีพสอดคล้องกับความต้องการเป็นพวกพ้องมิติการตัดสินใจสอดคล้องกับความต้องการการมีอำนาจควบคุมและมิติสัมพันธภาพระหว่างบุคคลมีความสอดคล้องกับความต้องการความรักใคร่ชอบพอผู้วิจัยพิจารณาเห็นว่าแนวคิดสัมพันธภาพในการทำงานร่วมกันของเบเออร์และมาร์แชล (Beyer and Marshall, 1981) มีพื้นฐานมาจากแนวคิดทฤษฎีสัมพันธภาพ
ระหว่างบุคคลของชุทซ์และเน้นลงไปในเรื่องของสัมพันธภาพระหว่างบุคคลในการทำงานร่วมกันในกลุ่มวิชาชีพเดียวกัน