ตอนที่3 ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ชาคริต เทพรัตน์ (2540 : บทคัดย่อ) ศึกษาปัจจัยที่ทํานายพฤติกรรมการออกกําลังกายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดชัยนาท พบว่า ร้อยละ 50 ของกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการออกกําลังกายเกิน 30 นาที และออกกําลังกายเฉลี่ยเพียง 1 ครั้งต่อสัปดาห์เท่านั้น หลังจากการออกกําลังกายในแต่ละครั้ง พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีการหายใจแรงและเร็วกว่าปกติมากที่สุดนอกจากนั้นยังมีเหงื่อออกมากกว่าปกติทุกครั้งที่ออกกําลังกายจํานวนมากที่สุดเช่นกัน และพบว่าความรู้เกี่ยวกับการออกกําลังกายเป็นตัวแปรที่สามารถทํานายพฤติกรรมการออกกําลังกายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
ประดิษฐ์ นาทวิชัย (2540:ค) ศึกษาภาวะสุขภาพและพฤติกรรมการออกกําลังกายของครูในจังหวัดชัยนาท พบว่าพฤติกรรมการออกกําลังกายโดยรวมยังอยู่ในระดับต่ำ มีจํานวนวันในการออกกําลังกาย 1-2 วัน / สัปดาห์ ระยะเวลาในการออกกําลังกาย 5-15 นาที / ครั้ง ความหนักในการออกกําลังกายเพียงรู้สึกเหงื่อออกเล็กน้อย ประเภทกิจกรรมที่เลือกใช้ออกกําลังกายเป็นกิจกรรมเบา ๆ เช่น เดิน วิ่งเบา ๆ และกายบริหาร ช่วงเวลาการออกกําลังกายเป็นช่วงเวลาเย็นและภาวะสุขภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกําลังกาย ด้านระยะเวลาที่ใช้ออกกําลังกายอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ .001 มีความสัมพันธ์กับจํานวนวันที่ใช้ออกกําลังกาย และช่วงเวลาที่ใช้ในการออกกําลังกาย อย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ .01
ทรงศักดิ์ ไพศาล (2541: บทคัดย่อ) ศึกษาเรื่องความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตนในการออกกําลังกาย เพื่อสุขภาพของบุคลากรในสํานักงานเลขานุการคุรุสภา พบว่า บุคลากรในสํานักงาน เลขานุการคุรุสภา มีความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตนในการออกกําลังกายเพื่อสุขภาพมีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
มนูญ ขอเสงี่ยม และพิสุทธิ์ คงขํา (2542 : 70) ศึกษาสภาวะสุขภาพในกลุ่มประชาชนจังหวัดราชบุรี พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการออกกําลังกายทุกวัน แต่ไม่ได้ออกกําลังกายอย่างต่อเนื่องและเพียงวันละ 1 ครั้ง ส่วนใหญ่การออกกําลังกายจะได้มาจากการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างต่อเนื่องสะสมนานมากกว่า 30 นาทีขึ้นไป เมื่อพิจารณาภาพรวมของพฤติกรรมการออกกําลังกายพบว่าอยู่ในระดับต่ำจํานวนมากที่สุด จึงทําให้เกิดความแตกต่างของพฤติกรรมการออกกําลังกายอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ