พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประทศเดนมาร์คเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2503 ได้ทรงสนพระทัยในกิจการเลี้ยงโคนมเป็นอย่างมาก ทางรัฐบาลเดนมาร์คได้ถวายโครงการการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมให้กับพระบาาอยู่หัว โดยได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาสำรวจ จัดทำโครงการ และจัดสร้างฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค ขึ้นที่สถานีพืชอาหารสัตว์มวกเหล็ก กรมปศุสัตว์ ซึ่งตั้งอยู่ที่ อ.มวกเหล็ก จ. สระบุรี เมื่อปี พ.ศ.2504 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเจ้าเฟรดเดอริคที่ 9 แห่งประเทศเดนมาร์คได้เสด็จมาเป็นประธานในพิธีเปิดฟาร์มเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2505 การพัฒนาการเลี้ยงโคนมยังเป็นไปได้ช้ามาก และการดื่มนมของคนไทยก็ยังอยู่ในวงจำกัด ได้มีการรณรงค์ให้มีการดื่มนมกันอย่างจริงจัง โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 ทำให้การดื่มนมมีปริมาณสูงขึ้น ต้องมีการนำเข้านมและผลิตภัณฑ์นมจากต่างประเทศมากขี้น ต่อมาประเทศไทยมีปัญหาเรื่องผลผลิตการเกษตรล้นตลาดและราคาตกต่ำ เช่นมันสำปะหลัง และข้าว รัฐบาลจึงมีนโบายลดพื้นที่การปลูกพืชบางชนิดเช่นมันสำปะหลัง และในพื้นที่ที่การปลูกข้าวแต่ให้ผลผลิตน้อย ให้เกษตรกรเปลี่ยนอาชีพไปเลี้ยงโคนม ในปี พ.ศ.2530 รัฐบาลได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรมีการเลี้ยงโคนมกันมากขึ้น โดยให้อ.ส.ค.เป็นผู้ดำเนินการจัดหาและส่งเสริมการเลี้ยงโคนมในพื้นที่ที่อยู่ในการดูแลของ อ.ส.ค.และในปี พ.ศ.2531 กรมปศุสัตว์ได้รับงบประมาณในการจัดหาโคนมให้เกษตรกร อ.วังน้ำเย็น จ.ปราจีนบุรี มีเกษตรกรเข้าร่วม 200 ราย และ ต.เขาขลุง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี มีเกษตรกรเข้าร่วม 100 รายจากนั้นก็ได้มีโครงการในจังหวัดต่างๆเพิ่มขึ้นอีกมากมาย มีเกษตรกรและนักธุระกิจได้สนใจในการเลี้ยงโคนมเป็นจำนวนมาก รัฐบาลได้มีโครงการส่งเสริมให้ประชาชนดื่มนมเพื่อสุขภาพ และต้องการให้ประชาชนชาวไทยมีร่างกายสูงใหญ่ขึ้นจากเดิม โดยการส่งเสริมให้เด็กเล็กในโรงเรียนดื่มนมที่เรียกว่าโครงการ"นมโรงเรียน" ในปี พ.ศ.2536 โดยเริ่มจากชั้นอนุบาลก่อน และจะเพิ่มปีละ 1 ชั้นเรียนจนถึงชั้นประถมปีที่ 6 ปีงบประมาณ 2539 มีงบประมาณ 2,765 ล้านบาท สำหรับนักเรียน ป.1-3 มีนมดื่มฟรี คนละ 200 ซีซี /คน /วัน จำนวน 200 วัน ซึ่งมีนักเรียนในโครงการประมาณ 4.5 ล้านคน ในปี 2540 ทางรัฐบาลได้ตั้งงบประมาณไว้ 6,000 ล้านบาท ในปัจจุบันนี้ประเทศไทยสามารถผลิตนมได้เพียงร้อยละ25-30 ของความต้องการภายในประเทศเท่านั้น รัฐบาลมีนโยบายที่จะส่งเสริมการเลี้ยงโคนมเพื่อทดแทนการนำเข้า โดยให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.)ให้การสนับสนุนเรื่องเงินกู้ กรมปศุสัตว์และองค์การส่งเสริมโคนมแห่งประเทศไทย
จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประทศเดนมาร์คเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2503 ได้ทรงสนพระทัยในกิจการเลี้ยงโคนมเป็นอย่างมาก ทางรัฐบาลเดนมาร์คได้ถวายโครงการการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมให้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาสำรวจ จัดทำโครงการ และจัดสร้างฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค ขึ้นที่สถานีพืชอาหารสัตว์มวกเหล็ก กรมปศุสัตว์ ซึ่งตั้งอยู่ที่ อ.มวกเหล็ก จ. สระบุรี เมื่อปี พ.ศ.2504 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเจ้าเฟรดเดอริคที่ 9 แห่งประเทศเดนมาร์คได้เสด็จมาเป็นประธานในพิธีเปิดฟาร์มเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2505 การพัฒนาการเลี้ยงโคนมยังเป็นไปได้ช้ามาก และการดื่มนมของคนไทยก็ยังอยู่ในวงจำกัด ได้มีการรณรงค์ให้มีการดื่มนมกันอย่างจริงจัง โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 ทำให้การดื่มนมมีปริมาณสูงขึ้น ต้องมีการนำเข้านมและผลิตภัณฑ์นมจากต่างประเทศมากขี้น ต่อมาประเทศไทยมีปัญหาเรื่องผลผลิตการเกษตรล้นตลาดและราคาตกต่ำ เช่นมันสำปะหลัง และข้าว รัฐบาลจึงมีนโบายลดพื้นที่การปลูกพืชบางชนิดเช่นมันสำปะหลัง และในพื้นที่ที่การปลูกข้าวแต่ให้ผลผลิตน้อย ให้เกษตรกรเปลี่ยนอาชีพไปเลี้ยงโคนม ในปี พ.ศ.2530 รัฐบาลได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรมีการเลี้ยงโคนมกันมากขึ้น โดยให้อ.ส.ค.เป็นผู้ดำเนินการจัดหาและส่งเสริมการเลี้ยงโคนมในพื้นที่ที่อยู่ในการดูแลของ อ.ส.ค.และในปี พ.ศ.2531 กรมปศุสัตว์ได้รับงบประมาณในการจัดหาโคนมให้เกษตรกร อ.วังน้ำเย็น จ.ปราจีนบุรี (ปัจจุบัน จ.สระแก้ว) มีเกษตรกรเข้าร่วม 200 ราย และ ต.เขาขลุง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี มีเกษตรกรเข้าร่วม 100 รายจากนั้นก็ได้มีโครงการในจังหวัดต่างๆเพิ่มขึ้นอีกมากมาย มีเกษตรกรและนักธุระกิจได้สนใจในการเลี้ยงโคนมเป็นจำนวนมาก รัฐบาลได้มีโครงการส่งเสริมให้ประชาชนดื่มนมเพื่อสุขภาพ และต้องการให้ประชาชนชาวไทยมีร่างกายสูงใหญ่ขึ้นจากเดิม โดยการส่งเสริมให้เด็กเล็กในโรงเรียนดื่มนมที่เรียกว่าโครงการ"นมโรงเรียน" ในปี พ.ศ.2536 โดยเริ่มจากชั้นอนุบาลก่อน และจะเพิ่มปีละ 1 ชั้นเรียนจนถึงชั้นประถมปีที่ 6 ปีงบประมาณ 2539 มีงบประมาณ 2,765 ล้านบาท สำหรับนักเรียน ป.1-3 มีนมดื่มฟรี คนละ 200 ซีซี /คน /วัน จำนวน 200 วัน ซึ่งมีนักเรียนในโครงการประมาณ 4.5 ล้านคน ในปี 2540 ทางรัฐบาลได้ตั้งงบประมาณไว้ 6,000 ล้านบาท ในปัจจุบันนี้ประเทศไทยสามารถผลิตนมได้เพียงร้อยละ25-30 ของความต้องการภายในประเทศเท่านั้น รัฐบาลมีนโยบายที่จะส่งเสริมการเลี้ยงโคนมเพื่อทดแทนการนำเข้า โดยให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ให้การสนับสนุนเรื่องเงินกู้ กรมปศุสัตว์และองค์การส่งเสริมโคนมแห่งประเทศไทย ให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการ