ด้านการเมืองการปกครอง
ตั้งแต่สมัยสุโขทัยได้มีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ต่อมาในสมัยอยุธยาเปลี่ยนการปกครองเป็นแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจปกครองและบริหารราชการแผ่นดิน ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์เริ่มมีการรับอิทธิพลของชาติตะวันตกมา ใช้ตั้งแต่สมัยราชกาลที่ 5 จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขโดยประชาชนมีสิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ร่วมกันเลือก นายกรัฐมนตรี จากบรรดาสมาชิกผู้แทนราษฎร เพื่อจัดตั้งเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ
2. ด้านเศษฐกิจ
ในสมัยสุโขทัยการดำเนินการทางเศษฐกิจจะเป็นลักษณะของการให้เสรีภาพประชาชนในเรื่องการค้าขาย ประกอบอาชีพ มีการยกเว้นภาษี และมีการค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้าน ต่อมาในสมัย อยุธยาเริ่มมีตัวแทนรัฐในการทำการค้ากับต่างชาติ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีการติดต่อกับชาวต่างชาติ โดยการทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษ ทำให้เศษฐกิจขยายตัวมากขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2475 เป็นต้นมา มีการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะเน้นการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม และจากการเปลี่ยนแปลง
ดังกล่าว ทำให้คนในสังคมมีการประกอบอาชีพที่หลากหลายขึ้น ส่งผลให้สมาชิกในสังคมมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
3. ด้านสังคม
สังคมไทยนับตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน นอกเหนือจากวัฒนธรรมของประเทศไทยเองแล้ว เรายังได้อิทธิพลจากวัฒนธรรมภายนอก
ที่เข้ามาผสมผสานอีกด้วย กล่าวคือ ในสมัยสุโขทัยสังคมไทยได้รับวัฒนธรรมหลักๆมาจากอินเดียและขอม โดยเฉพาะด้านศาสนา
แบบแผนการปกครองกฎหมาย โดยมีวัฒนธรรมจีนเข้ามาผสมผสานอยู่ในช่วงปลายสุโขทัย ต่อมาในสมัยอยุธยา นอกเหนือจากวัฒนธรรมอินเดีย ขอม และจีนแล้วก็เริ่มมีวัฒนธรรมจากชาติตะวันตก เช่น อังกฤษ โปตุเกส ฮอลันดาเข้ามาเผยแพร่ จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์
วัฒธรรมตะวันตก ได้เข้ามามีบทบาสำคัญต่อสังคมไทย ทำให้ความสลับซับซ้อนของลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว