13.3 พึงทราบด้วยว่า เหตุผลความปลอดภัย การกำหนดเวลาในการนำร่องเรือเข้า - ออก หรือเลื่อนที่จอดเรือ
กองนำร่องสงวนสิทธิ์ ที่จะเป็นผู้กำหนดเวลาตามที่เห็นสมควรทุกครั้งและในกรณีผู้แจ้งขอใช้บริการนำร่อง ไม่สามารถ
แจ้งความจำนงภายในกำหนด เวลาดังกล่าวข้างต้นหรือมีการเปลี่ยนแปลงเวลาโดยไม่แจ้งล่วงหน้าถึงเจ้าพนักงาน
นำร่องผู้นำร่อง หรือกองนำร่องในระยะเวลาอันสมควร กรมเจ้าท่าจะไม่รับผิดชอบในการที่เรือจะต้องเสียเวลาอัน
เนื่องจากการจัดเจ้าพนักงานนำร่องเพื่อการนั้น
ข้อ 14 เจ้าของท่าเทียบเรือ หรือผู้ประกอบกิจการท่าเรือสินค้า ต้องรับผิดชอบเตรียมท่าให้พร้อมตามประกาศกรมเจ้าท่า
ที่ 88/2515 เรื่อง การนำเรือต่างประเทศเข้าเทียบท่า และออกจากเทียบ ลงวันที่ 19 มิถุนายน 2515
ข้อ 15 ในเวลาทำการนำร่องเรือเช้า -ออก หรือเลื่อนที่จอดเรือทุกครั้งผู้ขอใช้บริการต้องจัดให้มีผู้แทนที่มีอำนาจเป็น
ผู้ติดต่อประสานงานกับเจ้าพนักงานนำร่อง ผู้ปฏิบัติหน้าที่นำร่องเรือลำนั้น เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น
ข้อ 16 เจ้าของเรือหรือตัวแทนเรือที่ขอใช้บริการนำร่องต้องรับผิดชอบในการจัดการสิ่งต่อไปนี้
16.1 พาหนะในการ รับ-ส่ง เจ้าพนักงานนำร่องที่เหมาะแก่ฐานะ ระหว่างสำนักงานนำร่อง หรือที่พักกับเรือใหญ่
ทั้งทางบกและทางน้ำ
16.2 บริการ รับ-ส่ง เชือกระหว่างเรือใหญ่กับที่จอดเรือ สำหรับท่าเรือที่ไม่มีบริการนี้
16.3 เรือลากจูง ( TUG BOAT ) ให้เป็นไปตามประกาศกรมเจ้าท่า เรื่องข้อกำหนดการใช้เรือลากจูง ( TUG BOAT )
เขตท่าเรือกรุงเทพฯ
16.4 ให้วางมัดจำค่าจ้างนำร่องเป็นการล่วงหน้าเป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันจากธนาคารหรือเงินสด หรือแคชเชียร์เช็ค
ตามอัตราค่ามัดจำที่กองนำร่องกำหนด และให้ไว้ที่กองนำร่อง กรมเจ้าท่า หรือหน่วยงานที่กรมเจ้าท่ากำหนด
16.5 ค่าจ้างนำร่องเมื่อเสร็จภารกิจการนำร่องแล้ว ให้ชำระค่าจ้างนำร่อง ที่กรมเจ้าท่า หรือหน่วยงานที่กรมเจ้าท่า
กำหนดในโอกาสแรก แต่ต้องไม่เกิน 5 วันทำการ นับจากวันที่ได้รับใบแจ้งให้ชำระค่าจ้างนำร่อง
ข้อ 17 บริษัทตัวแทนเรือ เจ้าของเรือและนายเรือพึงทราบว่า เรือที่เคลื่อนเดินเข้า - ออก ในเขตท่าเรือกรุงเทพฯ
ซึ่งบังคับให้ใช้ผู้นำร่องของรัฐบาลนั้น กฎหมายมิได้ให้ผู้นำร่องมีอำนาจเหนือนายเรือแต่อย่างใด ผู้นำร่องมีหน้าที่
ช่วยเหลือนายเรือ หรือเข้าทำหน้าที่แทนนายเรือเฉพาะในเรื่องการเดินเรือและการบังคับให้เคลื่อนเดินไปอย่างปลอดภัย
และนายเรือยังคงมีอำนาจที่จะระงับคำสั่งการของผู้นำร่องหรือไม่ปฏิบัติตามคำบอกหรือคำแนะนำของผู้นำร่องก็ได้
ถ้าเห็นว่าไม่ปลอดภัยหรือจะทำให้เกิดอันตรายหรือเกิดความเสียหายขึ้นได้
หมวด 4
การติดต่อสื่อสาร
ข้อ 18 ให้เรือที่มีวิทยุสื่อสาร VHF ติดต่อกับสถานีนำร่อง หรือสื่อสารกองนำร่องเพื่อทราบกำหนดการต่างๆ ตามสมควร
ข้อ 19 การสื่อสารเพื่อการนำร่อง
19.1 ระหว่างเรือต่อเรือ และท่าเทียบเรือใช้ข่าย VHF ช่อง 13 (ความถี่ 156.650 MHz)
19.2 สถานีนำร่อง (นามเรียกขาน "นร") และสื่อสารกองนำร่อง (นามเรียกขาน "จท.") ใช้ข่าย VHF ช่อง 14
(ความถี่ 156.700 MHz) หรือช่อง 16 (ความถี่ 156.800 MHz)
19.3 ทั่วไปใช้ VHF ช่อง 16 (ความถี่ 156.800 MHz) เป็นข่ายฟังและการเรียกขาน
ประกาศ ณ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2541
(ลงชื่อ) จงอาชว์ โพธิสุนทร
(จงอาชว์ โพธิสุนทร)
อธิบดีกรมเจ้าท่า