การเปิดบริษัทเอเจนซี่โฆษณานี่เองที่เป็นความฝันที่เขาอยากจะเห็นมาทั้งชีวิต
“อย่าพุ่งเข้าชน” David Ogilvy เคยกล่าวไว้ “ตั้งเป้าหมายออกนอกสนามเบสบอล แต่ตั้งเป้าหมายว่าบริษัทจะอยู่อย่างยืนยาว” และด้วยทัศนคติแบบนี้เองที่ทำให้ David ย้ายกลับมาสู่นิวยอร์กและตัดสินใจเริ่มต้นธุรกิจบริษัทเอเจนซี่โฆษณาของตัวเอง จากการได้รับความช่วยเหลือด้านการเงินจากบริษัทที่เขาร่วมก่อตั้ง ได้แก่ Mather & Crowther บริษัทที่ Hewitt, David, Benson ร่วมก่อตั้งในปี 1948 David ไม่เคยเขียนโฆษณามาก่อนในชีวิต และมีเงินเพียง 6,000 เหรียญฯ ติดตัว แต่การเปิดบริษัทเอเจนซี่โฆษณานี่เองที่เป็นความฝันที่เขาอยากจะเห็นมาทั้งชีวิต
ในช่วงเริ่มต้นบริษัท David Ogilvy ยอมรับว่าการต้องดึงดูดลูกค้านั้นเป็นเรื่องยาก แต่เมื่อเวลาผ่านพ้น คุณสมบัติประจำตัวอันโดดเด่นของเขาอย่างความคิดสร้างสรรค์และความเป็นมืออาชีพก็นำพาให้งานของ David ประสบความสำเร็จ ในไม่ช้า ลูกค้าจากหลากหลายบริษัทก็หลั่งไหลเข้าหา David Ogilvy อย่างต่อเนื่อง David เริ่มได้รับผิดชอบงานของลูกค้าในระดับสูง และเปิดตัวสู่ตลาด ปั๊มน้ำมันเชลล์ (Shell) มอบความรับผิดชอบให้กับเขาในการสร้างสรรค์โฆษณาเพื่อเผยแพร่ในอเมริกาเหนือ พร้อมๆ กับที่ห้างสรรพสินค้า Sears ได้ให้ความไว้วางใจกับ David Ogilvy ในการออกแบบแคมเปญสำหรับบริษัทในระดับนานาชาติ “ผมสงสัยว่า จะมี Copy writer คนไหนหรือไม่ที่จะชนะรางวัลได้มากมายในช่วงเวลาที่สั้นเพียงเท่านี้” เป็นประโยคที่ David Ogilvy เขียนลงในหนังสืออัตชีวประวัติของเขาในภายหลัง “พวกเขาทำให้บริษัท Ogilvy & Mother โด่งดังและมีลูกค้าเข้ามาหามาก เหมือนตกปลาในถังน้ำมันเลย”
ในปี 1965 David Ogilvy เริ่มต้นก่อตั้งบริษัทข้ามชาติด้วยการรวมตัวกับ Mather & Crowther ในลอนดอน ปีต่อมา บริษัท Ogilvy & Mather ก็ถือกำเนิดขึ้น และกลายเป็นบริษัทเอเจนซี่โฆษณาชั้นนำอันดับหนึ่ง และหลังจากนั้นต่อมา Ogilvy & Mather ก็ก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทโฆษณาที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
ในปี 1973 David ย้ายกลับไปสู่ที่ของเขาในฝรั่งเศส และลาออกจากตำแหน่งการเป็นประธานบริษัท แต่อย่างไรก็ตาม เขาก็ยังมีการติดต่ออยู่กับบริษัทอย่างสม่ำเสมอ หรืออาจจะเรียกว่ามากสักหน่อย ถ้าหากนำเอาจดหมายจำนวนมากที่เขาได้รับอยู่เป็นตัวตั้ง ในความเป็นจริงแล้ว David Ogilvy ค้นพบว่าออกจะเป็นเรื่องยากอยู่สักหน่อย สำหรับการหลีกหนีการทำงานจากบริษัทแบบวันต่อวัน และในช่วงปี 1980 เขาจึงเกษียณออกมาจากบริษัทใหญ่อย่างเต็มตัว เพื่อเข้ารับตำแหน่งประธานของบริษัท Ogilvy & Mather ในอินเดีย และรับตำแหน่งเป็นประธานบริหารชั่วคราวให้กับสาขาที่เยอรมัน สาขาที่เขาเดินทางทุกวันจากฝรั่งเศสมายังแฟรงก์เฟิร์ต
ในปี 1965 David Ogilvy เริ่มต้นก่อตั้งบริษัทข้ามชาติด้วยการรวมตัวกับ Mather & Crowther ในลอนดอน ปีต่อมา บริษัท Ogilvy & Mather ก็ถือกำเนิดขึ้น และกลายเป็นบริษัทเอเจนซี่โฆษณาชั้นนำอันดับหนึ่ง และหลังจากนั้นต่อมา Ogilvy & Mather ก็ก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทโฆษณาที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
David Ogilvy ยังคงมีส่วนร่วมอยู่กับเอเจนซี่ของเขาจนถึงปี 1989 เมื่อบริษัทของเขาถูกซื้อโดย British WPP Group ในราคา 864 ล้านเหรียญฯ (ราวๆ สองหมื่นหกพันล้านบาท) การเข้าซื้อบริษัทของ WPP ในครั้งนั้น ถูกให้ความหมายว่าเป็นการปฏิวัติวงการเอเจนซี่โฆษณาครั้งที่ร้ายแรงครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ WPP สามารถก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทโฆษณาและทำการตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลกทันที ผลคือเกิดการเขม่นกันอย่างรุนแรงระหว่างสองผู้บริหารอย่าง David Ogilvy และผู้บริหารของ WPP อย่าง Sir Martin Sorrell
ตลอดชีวิตการทำงานของ David Ogilvy เขาลงมือเขียนหนังสือหลายต่อหลายเล่ม ไม่ว่าจะเป็น Ogilvy on Advertising หรือหนังสือขายดีติดอันดับอย่าง Confessions of an Advertising Man ซึ่งล้วนกลายเป็นเหมือนคู่มือติดตัวสำหรับเป็นคำแนะนำด้านโฆษณาและกลยุทธ์มาจนถึงทุกวันนี้
“ต้องใช้ไอเดียที่ดีในการดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภค เพื่อนำให้พวกเขาซื้อผลิตภัณฑ์กลับไป เว้นเสียแต่ว่า โฆษณาของคุณนั้นมีไอเดียที่ดี แต่มันดันผ่านไปอย่างรวดเร็วเหมือนเรือที่แล่นในตอนกลางคืน ผมแค่สงสัยว่า หรือจะมีมากกว่าหนึ่งแคมเปญจากร้อย ที่จะสามารถมีไอเดียที่ดีได้” David Ogilvy คือผู้บริหารบริษัทเอเจนซี่โฆษณาที่มีคุณสมบัติน่ายกย่อง; ถ้าโฆษณานั้น “ไม่ขาย” นั่นอาจเป็นเพราะมันไม่สร้างสรรค์ ตลอดช่วงเวลาการทำงานของเขาสอนให้เขาเรียนรู้ว่า การที่ผู้บริโภคไม่ซื้อผลิตภัณฑ์นั้นเป็นเพราะโฆษณาที่แสนจะน่าเบื่อ ดังนั้น สิ่งที่อาจดึงดูดพวกเขาได้คือความสนใจและความอยากรู้ ที่จะโน้มน้าวหรือกระตุ้นความ “อยากเป็นเจ้าของ” ให้เกิดขึ้น
David Ogilvy กลายเป็นคนที่น่าจับตามองและเป็นที่ต้องการมากที่สุดในวงการโฆษณา เป็นเพราะว่าเขาเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่าอะไรเป็นสิ่งที่ดึงดูดในงานโฆษณา ยกตัวอย่างจากแคมเปญที่มีชื่อเสียงที่เขาทำให้ Hathaway บริษัทผลิตเสื้อเชิ้ต David Ogilvy สร้างคาแรกเตอร์ผู้ชายที่มาพร้อมกับผ้าคาดตา (แบบโจรสลัด) เขาตัดสินใจเพิ่มความอยากรู้ให้กับโฆษณาชิ้นนี้ สร้างความสงสัยในเนื้อหาว่าผู้ชายที่ว่านี้ “มีผ้าคาดตา เพราะเหตุใด?” ทำให้แคมเปญนี้ประสบความสำเร็จอย่างมหาศาล ยอดจัดจำหน่ายเสื้อของ Hathaway เพิ่มมากขึ้นเป็นสามเท่าในช่วงเวลาสองปี และชายผู้มีดวงตาข้างเดียวก็ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญและจดจำได้ของแบรนด์มาอย่างยาวนาน
นอกจากเรื่องของความคิดสร้างสรรค์แล้ว David Ogilvy ยังเชื่อว่า “การตัดสินใจว่าจะวางผลิตภัณฑ์ไว้ตำแหน่งใด” ก็เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน ยกอีกสักหนึ่งตัวอย่างจากแคมเปญสบู่ Dove ที่มาพร้อมกับประโยค “one-quarter cleansing cream” ได้กลายเป็นแคมเปญที่ประสบความสำเร็จแคมเปญในชีวิตการทำงานของเขา เพราะ David รู้ดีว่า แม้การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ผิดแม้เพียงนิดเดียว ก็อาจกลายเป็นความเล็กน้อยที่สร้างความเสียหายตามมาในภายหลังได้ “หลายแคมเปญโฆษณาในตอนนี้นั้นมีพื้นฐานอยู่ที่การวางตำแหน่งของสินค้าไว้ในจุดที่ดีที่สุด แต่มันกลับไม่สร้างผลกระทบอะไรเลย นั่นเป็นเพราะมันน่าเบื่อ หรือมีโครงสร้างที่ไม่สมเหตุสมผล หรือไม่สามารถบรรยายได้ ถ้าไม่มีใครสักคนอ่านโฆษณาของคุณหรือจ้องมองมัน นั่นกำลังบ่งชี้ว่าตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ไม่ใช่ตำแหน่งที่ถูกต้องเท่าไหร่แล้วล่ะ”
David Ogilvy เชื่อในการผลิตโฆษณาอย่างสร้างสรรค์ และแน่นอนว่าต้องเต็มเปี่ยมไปด้วยรสนิยมที่ดีด้วย “สินค้าแค่เพียงไม่กี่ชิ้นเท่านั้นแห