การนำประเด็นเรื่องดัชนีความสขุมาเป็นเครื่องชี้วัดสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นที่น่าสนใจต่อประชาชนผู้ติดตามสถานการณ์บ้านเมืองและผู้ที่อยากเหน็นประเทศพัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้องและดีงาม ซึ่งสาเหตุที่มีการพูดถึงดัชนีวัดความสุข ขณะนี้มีอยู่ด้วยกันหลายคำเช่น ความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness: GNH) ความสขุขมวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Happiness: GDH) ดัชนีความสขุ มวลรวม (Gross Happiness Index: GHI) และล่าสุดกำลังมีการพัฒนาเป็นความสุขมวลรวมนานาชาติ (Gross International Happiness: GHI) จากดัชนีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) ซึ่งเป็นเครื่องชี้สภาวะทางเศรษฐกิจหลัก ในเศรษฐศาสตร์มหภาคและยังมีข้อจำากัดอยู่หลายประการสำหรับการใช้วดัดระดบับของการพฒันาทางเศรษฐกิจเช่นการไม่ได้รวมต้นทุน หรือค่าเสียหายจากการผลิตของธุรกิจทีมี่ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมไว้ในการคำานวณตัวเลขGDPที่ไม่ได้รวมสินค้าและการบริการรบางอย่างที่ไม่อยู่ในระบบตลาดได้แก่ การผลิตในครัวเรือน (การทำาความสะอาด การซักรีด การเตรียมอาหาร และการเลี้ยงดูบุตร) หรือผลตอบแทนในรูปของอรรถประโยชน์ทีไม่สามารถวัดค่าที่เป็นตัวเงินได้ ซึ่งจะถูกจัดว่าเป็นเศรษฐกิจนอกระบบ (Informal Economy) และที่สำคัญตัวเลขGDP ไม่ได้สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ประชาชาติ ที่แม้ตัวเลข GDP จะเพิ่มขึ้นแต่คนส่วนใหญ่ในประเทศยากจนลง เพราะว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้นไปกระจุกตัวอยู่ที่คนส่วนน้อยเพียงกลุ่มเดียว