1.อ่อนไวยากรณ์ (Grammar) ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการแปลไทยเป็นอังกฤษเพราะว่าการไม่ทราบหลักการใช้ไวยากรณ์จะเป็นเหตุนำไปสู่ปัญหาอีกมากมายในภายหลัง เช่น ใช้กาล (Tent) ผิด
2.รู้คำศัพท์ (Vocabulary) ไม่เพียงพอต่อการใช้งานโดยเฉพาะอย่างยิ่งคำศัพท์เฉพาะวิชาหรือที่ เรียกว่า Technical Term หรือแม้แต่คำศัพท์ที่เกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนาก็มีความสำคัญเช่นกัน
3.แต่งประโยค (Sentense) ไม่เป็นหรือถึงเป็นก็ใช้กาล (Tent)ต่างๆไม่ถูกต้อง หรือไม่ก็แบ่งประโยคไม่เป็น เลยหาที่ลงหรือจบประโยค (Full stop) ไม่ได้ทำให้เนื้อความติดเป็นพืดไปเลย
4.การไม่ทราบชื่อของบุคคล (Name) ที่กล่าวถึงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชื่อของบุคคลสำคัญต่างๆ เช่น นายกรัฐมนตรี หรือ รัฐมนตรี นอกจากนี้ก็มีชื่อ ยศ (Rank) หรือตำแหน่ง (Position) ต่างๆซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นส่วนประกอบสำคัญในการแปลแทบทั้งสิ้น
5.การไม่ทราบชื่อของสถานที่ ( Place) ต่างๆ เช่น ชื่อตำบล (Sub-Dristrict) ชื่ออำเภอ (District) หรือชื่อของจังหวัด (Province) และที่สำคัญ คือ ชื่อสถานที่สำคัญของรัฐบาล เช่น ทำเนียบรัฐบาล (Government House) หรือรัฐสภา (Parliament)
6.รู้คำศัพท์เฉพาะวิชาหรือที่เรียกว่า (Technical Term) น้อยเกินไป จึงทำให้ใช้คำศัพท์เยิ่นเย้อ ไม่ตรงกับความหมายที่ต้องการ เช่น คำว่า “ ประเทศกันชน” แทนที่จะใช้คำศัพท์เฉพาะว่า “ buffer state” ก็อาจจะต้องแปลเสียงไปว่า “ a state situated between two or more powerful states ” ก็ได้
7.การไม่มีความรู้พื้นฐาน (Background) ในเรื่องที่จะแปลนั้นมาก่อนจึงทำให้ข้อความที่แปลออกมาไม่ชัดเจน ยากต่อการทำความเข้าใจ
8.อ่านข้อความที่แปลไม่เข้าใจ( Misinterpretation) กล่าวคือ ตีบทไม่แตกจึงทำให้ข้อความที่แปลออกมาแล้วคลุมเครือเข้าใจยาก หรือไม่ก็ผิดเพี้ยนไปจากเดิม
9.ขาดทักษะด้านการแปล(Translation Skills) หลายคนมีความรู้ด้าน การฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี แต่ไม่ค่อยได้มีโอกาสแปล ดังนั้นพอถึงเวลาแปลจึงต้องใช้เวลาคิดนาน เพราะไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นประโยคอย่างไรดี
10.ใช้พจนานุกรม (Dictionary) ไม่เป็นและไม่รู้วิธีใช้คำศัพท์ซึ่งมีหน้าที่ได้หลายอย่าง เช่น คำว่า “ order” ซึ่งเป็นได้ทั้งคำนาม ( Noun)และคำกริยา (Verb)เพราะการได้ทราบหน้าที่ของคำต่างๆนี้ ช่วยให้เรามีทางเลือกในการแต่งประโยคได้มาก กล่าว คือ ไม่มีทางตันนั่นเอง