ศิลปะการใช้ภาษาวรรณศิลป์เป็นเครื่องมือสำคัญยิ่งในการสร้างสรรค์งานวรรณกรรม ภาษาเป็น องค์ประกอบสำคัญที่ผู้ประพันธ์เลือกสรรถ้อยคำ ประโยค สำนวนโวหาร และภาพพจน์ ใช้เพื่อสื่อความคิด มุมมองใหม่ นัยที่คมคายลึกซึ่ง ผ่านภาษาที่สวยงาม สรรค์สร้างเรื่องราวให้ขับเคลื่อนดำเนินไปตามที่ประสงค์ ศิลปะการนำเสนอที่ชวนติดตามด้วยความเพลิดเพลิน อันจะทำให้ผู้อ่านรับรู้ เกิดจินตนาการ เข้าใจ ยอมรับ และประทับใจเมื่อได้อ่านงานวรรณกรรม ผู้ประพันธ์แต่ละท่านยอมมีศิลปะการใช้ภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ ความสามารถเฉพาะตัวในการทำให้องค์ประกอบต่างๆ ของภาษาสอดรับกันได้อย่างสอดคล้องลงตัวพอดี เพื่อสร้างให้งานเขียนมีความโดดเด่น น่าสนใจ และเกิดอรรถรสในการอ่าน
เดือนวาด พิมวนา เป็นนักเขียนหญิงคุณภาพรุ่นใหม่อีกคนหนึ่งของวงการวรรณกรรม ที่สร้างสรรค์ งานประพันธ์ผ่านศิลปะการใช้ภาษาได้อย่างประณีตบรรจง พิถีพิถัน เลือกสรรภาษาวรรณศิลป์ได้อย่างสละ สลวย สมเหตุสมผล และสมจริง โดยมีผลงานอย่างตอเนื่อง และได้รับความนิยมจากผู้อ่านเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นงานประพันธ์ประเภท “เรื่องสั้น” ไดแก่ รวมเรื่องสั้นคัดสรร ชุด ‘หนังสือเล่มสอง’ ‘สัมพันธภาพ’ และ ‘ทุกข์หฤหรรษ์’ เรื่องสั้นขนาดยาว เรื่อง ‘คุณสงคราม’ งานประพันธ์ประเภท “เรื่องเล่าเชิงความเรียง” ชื่อว่า ‘แดดสิบแปดนาฬิกา’ และงานประพันธ์ประเภท “นวนิยาย” เรื่อง ‘ช่างสาราญ’
เป็นที่น่าสังเกตว่า เดือนวาด พิมวนา เป็นหนังในนักเขียนที่ได้รับรางวัลอย่างสม่ำเสมอ งานประพันธ์ ประเภท‘เรื่องสั้น’ มักจะได้รับรางวัลสำคัญด้านวรรณกรรม เช่น “รางวัลช่อการะเกด” ซึ่งเป็นนักเขียนหญิง คนแรกที่ได้รับรางวัลช่อการะเกดถึง 4 ครั้ง ดังนี้ ครั้งแรก พ.ศ. 2535 เรื่อง ‘รอยภาพ’ ครั้งที่สอง พ.ศ. 2536 เรื่อง ‘ผู้บรรลุ’ ครั้งที่สาม พ.ศ. 2537 เรื่อง ‘กาละแห่งการงาน’ และครั้งล่าสุด พ.ศ. 2552 เรื่อง ‘ลารา’
การประกวดและมอบรางวัลแก่ผลงานวรรณกรรมเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างแรงจูงใจต่อนักประพันธ์ ทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพของงานเขียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานวรรณกรรมประเภท ‘นวนิยาย’ ถือได้ว่า เดือนวาด ประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยม นวนิยายเรื่องแรกในชีวิต คือ เรื่อง “ช่างสำราญ” ได้รับรางวัล ซีไรต์ (The S.E.A. Write Awards) หรือรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (South East Asian Writers Awards) ประจำปีพุทธศักราช 2546 ถือได้ว่าเป็นนักเขียนหญิงลำดับที่ 4 ที่ได้รบรางวัลอัน ทรงคุณค่านี้ ในโอกาสครบรอบ 25 ปีของการมอบรางวัลซีไรต์
คณะกรรมการรอบตัดสินมีมติเป็นเอกฉันท์ ประกาศให้นวนิยาย เรื่อง “ช่างสำราญ” ได้รับรางวัลซีไรต์ประจำปีพุทธศักราช 2546 ดังมีคำประกาศรางวัลจากคณะกรรมการ ดังนี้ “...นี้คือ
นวนิยายที่เรียบง่าย และงดงามเปี่ยมความหวัง ความฝัน และความเชื่อมันศรัทธาในด้านดีของจิตใจของมนุษย์...” ประภัสสร เสวิกุล (2546, หนา 15) ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการรอบตัดสินได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับ นวนิยายรางวัล ซีไรต์ เรื่อง “ช่างสำราญ” ไว้ว่า “เป็นนวนิยายที่เล็กแต่ใหญ่ งายแต่งาม เจ็บปวดแต่ไม่รวดราวและขื่นขมแต่ไม่ขมขื่น”
จากทัศนะข้างต้นจะเห็นได้ว่า นวนิยายเรื่องนี้มีวิธีการนำเสนอที่แยบยล สื่อแสดงเรื่องธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา เรื่องเศร้าโศกแต่ไม่โศกเศร้า ทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกตรงกันข้าม จะเห็นได้ว่าศิลปะการใช้ภาษาเข้ามา มีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดเรื่องราวเหล่านี้เป็นอย่างยิ่ง ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้นนี้ เรื่อง “ช่างสำราญ” ของเดือนวาด พิมวนา จึงเป็นวรรณกรรมประเภทนวนิยายที่มีความดีเด่น สมควรแก่การ ยกย่องให้เป็นวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมของประเทศไทย ประจำปี 2546 จากรางวัลดังกล่าวข้างต้น ยอมแสดงถึงความสามารถใน การสรรค์สร้างวรรณกรรม ของเดือนวาด พิมวนา ถือได้ว่าเป็นเครื่องยืนยัน ถึงความเป็นนักเขียนมืออาชีพได้เป็นอย่างดี
นวนิยายซีไรต์ เรื่อง “ช่างสำราญ” เป็นนวนิยายคุณภาพเรื่องหนึ่งของเดือนวาด พิมวนา ซึ่งจัดได้ ว่ามีคุณค่าทั้งเริงรมย์และเริงปัญญา สร้างความประทบใจแก่ผู้อ่านจำนวนมาก สังเกตได้จากจำนวนครั้งที่ ตีพิมพ์จนถึงขณะนี้ (พ.ศ. 2554) พิมพ์เป็นครั้งที่ 15 แล้ว
เวียง – วชิระ บัวสนธ์ (2546, หน้า 1) บรรณาธิการของนวนิยายเรื่องนี้ได้แสดงความคิดเห็นเปรียบเทียบ ระหว่างผลงานเล่มแรก คือ รวมเรื่องสั้นคัดสรร ชุด ‘หนังสือเล่มสอง’ และผลงาน
นวนิยาย เรื่อง ‘ช่างสำราญ’ด้านการใช้ภาษาของเดือนวาด พิมวนา ไว้ว่า “หากเปรียบเทียบกันระหว่างผลงานเล่มแรกกับ ‘ช่างสำราญ’ เล่มนี้ จะเห็นได้ว่าเดือนวาด มีพัฒนาการทั้งในแง่วิธีเล่าเรื่อง และการใช้ภาษาที่สอดรับกับตัวเนื้อได้อย่างน่าสนใจยิ่ง”
สิริวรรณ นันทจันทูล (2552, หนา 77) ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับศิลปะการใช้ภาษาใน วรรณกรรม ไว้ว่า “นวนิยายเป็นวรรณกรรมบันเทิงคดีที่ถ่ายทอดลีลาการใช้ภาษาของผู้ประพันธ์ได้อย่างดียิ่ง หากผู้ประพันธ์มีศิลปะการใช้ภาษาได้อย่างยอดเยี่ยมก็จะแสดงลีลาภาษาที่โดดเด่นทำให้ผู้อ่านได้รับอรรถรสและเกิดจินตภาพตามที่ผู้ประพันธ์ประสงค์”
จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าการใช้ภาษาในวรรณกรรม หากผู้ประพันธ์มีการเลือกใช้ภาษาที่น่า สนใจ จะมีพลังในการสื่อสารมาก ส่งผลให้เนื้อเรื่องสนุกสนาน ซึ่งจัดได้ว่าทั้งเริงรมย์และเริงปัญญา ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาหาคำตอบว่า เดือนวาด พิมวนา มีลักษณะเด่นในการนำเสนอศิลปะการใช้ภาษาในนวนิยาย เรื่อง‘ช่างสำราญ’ เป็นอย่างไร จึงส่งผลได้รับรางวัลซีไรต์ และสร้างความประทับใจแก่ผู้อ่าน ประกอบกับยังไม่มี งานวิจัยใดที่ศึกษาเกี่ยวกับศิลปะการใช้ภาษาในนวนิยายเรื่องนี้มาก่อนการศึกษาศิลปะการใช้ภาษาจึงเป็นทีมาของงานวิจัยนี้ โดยมุ่งศึกษาวิเคราะห์การใช้ภาษา 4 ด้านได้แก่ การใช้คำ การใช้ประโยค การใช้สำนวน โวหารและการใช้ภาพพจน์ เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางในการใช้ภาษาของนวนิยายเรื่องนี้ อันจะทำให้เห็นความสามารถเชิงวรรณศิลป์ของเดือนวาด พิมวนาซึ่งจะก่อใหเกิดประโยชน์แก่ผู้ที่สนในวร