บทที่ 8 RTI
RTI ย่อมาจาก Response to Instruction บางทีใช้ Response to Intervention
Response หมายถึง การตอบสนอง
Instruction หมายถึง การสอน
Intervention หมายถึง การช่วยเหลือ
National Center on RTI อ้างถึงใน ผดุง อารยะวิญญ7ู (2554 หน้า 8) ได้ให้ความหมาย RTI หมายถึง กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่นำการวัดผลและการสอนมาใช้ร่วมกันอย่างกลมกลืนและดำเนินการเป็นขั้นตอนหลายขั้นตอน เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนและในขณะเดียวกันก็ป้องกันความล้มเหลวทางการเรียนของนักเรียนไม่ให้เกิดขึ้นโดยและในขณะเดียวกันก็ลดพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของผู้เรียนได้ด้วย ในระบบอาร์ทีไอโรงเรียนทำหน้าที่ค้นหานักเรียนที่มีความเสี่ยงต่อความล้มเหลวทางการเรียน และบันทึกความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียน ให้ความช่วยเหลือในด้านการเรียน ครูปรับวิธีการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการและปัญหาของผู้เรียน ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของนักเรียนต่อการสอนของครู ทำให้ครูค้นพบนักเรียนที่มีความยุ่งยากลำบากในการเรียน เมื่อครูสามารถช่วยได้ทัน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น พฤติกรรมบางอย่างของนักเรียนลดลง
Texus Education Authority อ้างถึงใน ผดุง อารยะวิญญู (2554 หน้า 9) ได้ให้ความหมาย RTI หมายถึง รูปแบบการให้การศึกษาที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของผู้เรียนแต่ละคนและทุกคนในโรงเรียนเป็นบริการทางการศึกษา ที่ประกอบด้วย 1) การสอนที่มีคุณภาพ เป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์มีผลการวิจัยรองรับ ประกอบด้วยหลายระยะ (Tier) แต่ละระยะของพัฒนาการมีวิธีการที่แตกต่างกัน 2) มีการบันทึกความก้าวหน้าของผู้เรียนเป็นรายบุคคล 3) เป็นการพัฒนาผู้เรียนทุกคนในโรงเรียนจะเก็บข้อมูลผู้เรียนไว้อย่างครบถ้วน 4) ทางโรงเรียนใช้ข้อมูลดังกล่า (ความก้าวหน้าของผู้เรียน) ประกอบการตัดสินใจในการให้บริการทางการศึกษา
Johnston อ้างถึงใน ผดุง อารยะวิญญู (2554 หน้า 9) ได้ให้ความหมาย RTI หมายถึง เป็นกระบวนการสอนที่ประกอบด้วย 3 ระยะ (Tier) คือ ระยะที่ 1 (Tier1) ระยะที่ 2 (Tier2) และระยะที่ 3 (Tier3) ซึ่งนำกระบวนการแก้ปัญหา (Problem Solving Strategy) มาใช้การในการเรียนการสอนในโรงเรียนทั้งโรงเรียน เป็นกระบวนการสอนที่มีคุณภาพสูง เป็นการสอนที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของผู้เรียน มีการกำหนดเป้าหมายชัดเจน มีการสอนเป็นระยะ มีการบันทึกวามก้าวหน้าของผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ เป็นระบบการสอนที่ช่วยเหลือผู้เรียน ให้สามารถเรียนได้ตามความสามารถ
จากนิยามแจกแจงเป็นรายละเอียดได้ดังนี้
RTI เป็นระบบ (System) เป็นกระบวนการ(Process) นำมาใช้กับนักเรียนทั้งโรงเรียน เป็นการศึกษาแนวใหม่ มีคุณภาพสูง มี 3 ระยะ (3Tier) มีวิธีการแก้ปัญหาแบบวิทยาศาสตร์ ใช้กับนักเรียนทุกคน ใช้พัฒนาการอ่าน การเขียน และคณิตศาสตร์ เป็นการสอนเพื่อการวินิจฉัย) ใช้กับเด็กเมื่ออายุยังน้อย (เป็นการช่วยเหลือ Intervention ) ใช้กับเด็กโต (เป็นการสอน Instruction) เหมาะในการป้องกันและลดปัญหาทางพฤติกรรม การศึกษาเป็นการบริการ มีการประเมินผลอย่างเป็นระบบ มีการติดตามความก้าวหน้าของนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ เป็นบริการที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของผู้เรียน มีการคัดกรองเบื้องต้นสำหรับเด็กที่มีความยุ่งยากลำบากในการอ่าน การเขียน ไม่รอให้เด็กที่มีปัญหาในการอ่านและการเขียนแล้วจึงช่วย ดำเนินการโดยครูมืออาชีพ
หลักการของ RTI
เราสามารถสอนเด็กได้ทุกคนอย่างมีประสิทธิภาพ
การช่วยเหลือเด็กเมื่ออายุน้อยดีกว่าช่วยเมื่ออายุมากขึ้น
RTI มี 3 ระยะ แต่ละระยะมีวิธีการแตกต่างกัน
วิธีหนึ่งที่ใช้ได้ดีในกระบวนการ RTI คือ การแก้ปัญหา (Problem Solving Approach)
RTI เป็นวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่นำมาใช้ในการสอนอ่าน เขียน และพฤติกรรม
มีการบันทึกความก้าวหน้า การตอบสนองของเด็กอย่างสม่ำเสมอ
มีการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ
มีการวัด ประเมินผลในการคัดแยก การวินิจฉัยและการประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียน
รูปแบบของ RTI
RTI เป็นกระบวนการสอน แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
ระยะที่ 1 (Tier 1) นักเรียนทุกคนได้รับบริการทางการศึกษา ซึ่งส่วนมากเน้นวิชาทักษะ ได้แก่ การอ่าน การเขียน และคณิตศาสตร์ การสอนในระยะนี้เป็นสอนนักเรียนทั้งชั้น ครูจะต้องสอนให้สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของผู้เรียน ครูจะต้องปรับการเรียนการอสนให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ได้มากที่สุด เมื่อครูสอนจนจบครบตามหลักสูตรแล้ว ทางโรงเรียนจัดให้มีการประเมินผลทั้งโรงเรียน ว่าบรรลุเป้าหมายตาที่กำหนดไว้หรือไม่ ผลการทดลองในสหรัฐอเมริกาพบว่ามีผู้เรียนผ่านการประเมินการประเมินราว 80% ของผู้เรียนทั้งหมด ส่วนอีก 20% ไม่ผ่านการประเมิน แสดงว่า ผู้เรียนอาจขาดทักษะในวิชาทักษะ เป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงอาจจะประสบความล้มเหลวในการเรียน จึงจำเป็นต้องหาทางช่วยเหลือ ซึ่งเป็นการดำเนินการในระยะต่อไป
ระยะที่ 2 (Tier 2) การช่วยเหลือนักเรียนในระยะนี้เป็นการสอนเป็นกลุ่มย่อย อาจจะมีจำนวนเพียง 3-5 คนเป็นการสอนตามทักษะที่ผู้เรียนสอบไม่ผ่าน ผู้เรียนแต่ละคนจะได้รับกำหดการในการสอนว่าจะได้รับการสอนสัปดาห์ละกี่ครั้ง ครั้งละกี่นาทีเป็นเวลากี่สัปดาห์ ครูคนใดจะเป็นผู้สอน มีการบันทึกความก้าวหน้าของนักเรียนทุกคนอย่างสม่ำเสมอ สิ่งสำคัญคือ ครูจะต้องพิจารณาว่าผู้เรียน ตอบสนอง ต่อการสอนของครูหรือไม่จะต้องปรับวิธีสอน ปรับวิธีนำเสนอ ปรับเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ในการสอน หากนักเรียนมีทักษะแล้วไม่จำเป็นต้องรับบริการอีกต่อไป กลับเข้าเรียนในชั้นเรียนได้ นั้นคือ กลับไปสู่ระยะที่ 1 ตามเดิม หากนักเรียนตอบสนองนั่นคือ นักเรียนได้มีความก้าวหน้าในการเรียน แต่ยังไม่ทันเพื่อน นักเรียนจะต้องได้รับบริการต่อไปหากนักเรียน ไม่ตอบสนอง ต่อการสอน นั่นคือ ไม่มีความก้าวหน้าในการเรียนจำเป็นที่นักเรียนจะก้าวไปสู่ระยะที่ 3 เพื่อรับบริการที่เข้มข้นขึ้นต่อไป
ระยะที่ 3 (Tier 3) ระยะนี้เป็นการสอนเป็นรายบุคคลและไม่เป็นการสอนเพื่อป้องกันความล้มเหลวทางการเรียนอีกต่อไป แต่เป็นการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะทางวิชาการมีผลสัมฤทธิ์ทางการ