Yersinia enterocolitica คือแบคทีเรียก่อโรค (pathogen) ชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์
Enterobacteriaceae ย้อมติดสีแกรมลบ (Gram negative bacteria) มีลักษณะเป็นท่อนสั้น (rod-shaped) มีขนาดเล็ก
ขนาดประมาณ 0.5-0.8 ไมโครเมตรไม่สร้างสปอร์
ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญ
Yersinia enterocolitica เป็นแบคทีเรียที่ทนอุณหภูมิต่ำ (psychrotrophic bacteria) เจริญได้ดีที่ 25-30 สามารถเพิ่ม
จำนวนได้ในตู้เย็น ถึงแม้ที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส เจริญได้ทั้งสภาวะที่มีอากาศและไม่มีอากาศ สามารถพบเชื้อได้
ในเนื้อสัตว์ น้ำนมดิบ และอาหารดิบที่เตรียมไม่สะอาด
แหล่งที่พบ Yersinia enterocolitica พบบ่อยในสัตว์เลี้ยง โดยมีหมูเป็นแหล่งแพร่เชื้อสู่คน และยังพบในทางเดินอาหาร
ของสัตว์ต่างๆ เช่น หมู สุนัข แมว นก หนู หมัดหนู รวมทั้ง สัตว์ป่ากระรอกและมักพบในแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น ห้วย หนอง
บึง ทะเลสาบ น้ำอุปโภค บริโภคที่มีการปนเปื้อนจากสิ่งปฏิกูล
โรคและอาการของโรค
Y. enterocolitica เป็นอันตรายทางชีวภาพ (biological hazard) เป็นสาเหตุของโรคที่มีอาหารเป็นสื่อ (foodbrone disease)
คือโรคเยอชินิโอซีส (Yersiniosis) มักพบในประเทศเขตหนาวปริมาณเชื้อที่ทำให้เกิดโรค (infective dose) คือ 104 เซลล์
เมื่อผ่านเข้าสู่ทางเดินอาหาร จะเพิ่มจำนวนในลำไส้ ทำให้เกิดโรคเยอชินิโอซีส ซึ่งเกิดจากสารพิษ enterotoxin ที่ทนต่อ
ความร้อน เรียกว่า Yersinia enterocolitica heat stable toxin (YEST) มีอาการกะเพาะและลำไส้อักเสบ (gastroenteritis)
อาการสำคัญคือ ท้องเสีย (diarrhea) อาจมีการอาเจียน (vomiting) มีไข้และปวดท้อง อาการคล้ายไส้ติ่งอักเสบ (appendicitis)
ทำให้อาจวินิจฉัย ผิดว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่บริเวณอื่น เช่น ผิวหนังมีผื่นแดง และทางเดินปัสสาวะอักเสบ
ระยะเกิดอาการคือ 24 ถึง 48 ชั่วโมง หลังรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อ แต่อาจเกิดขึ้นหลังจากได้รับเชื้อ 3-7 วัน
ได้ อาการปวดท้องปานกลาง และปวดท้องเรื้อรังเกิดขึ้นต่อเนื่อง 2-3 วัน ในบางรายอาจเป็นนาน 1-2 สัปดาห์ ส่วนใหญ่ผู้ป่วย
จะไม่เสียชีวิตนอกจากมีโรคแทรกซ้อนอื่น ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง คือเด็กทารก คนชรา รวมทั้งผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง
อาหารที่เกี่ยวข้อง
อาหารที่เกี่ยวข้องกับเชื้อแบคทีเรีย Y. enterocolitica คือ เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู (pork) เนื้อวัว (beef) เนื้อแกะ (lamb) และ
ผลผลิตจากสัตว์ เช่น นน้ำมดิบ (raw milk) นอกจากนี้ยัง อาจปนเปื้อนในสัตว์น้ำ เช่น ปลา หอยนางลม (oyster) หอยแมงภู่
โดยปนเปื้อนอาจมาจากดิน แหล่งน้ำที่ปนเปื้อน หรือสัตว์ที่มีเชื้อ หรืออาจเกิดจากการสุขาภิบาลที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการ
ปนเปื้อนข้าม (cross contamination)