ประวัติของเกาะสมุย
ตามหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้ค้นพบวัตถุต่าง ๆ บริเวณอ่าวบ้านดอนซึ่งได้ค้นพบ “ขวานหิน” ซึ่งสันนิษฐานว่าบริเวณดังกล่าวเป็นที่อยู่ของมนุษย์มาตั้งแต่เมื่อ 1,200 – 2,000 ปีมาแล้ว “ขวานฟ้า” เป็นขวานหินลักษณะรูปขวาน และเชื่อกันว่าคนสมัยนั้นได้ใช้เป็นอาวุธสําหรับล่าสัตว์เป็นอาหาร ค้นพบกลองมโหระทึกเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2520 ที่วัดคีรีวงการามตําบลตลิ่งงาม จํานวน 2 ใบ สําหรับกลองมโหระทึกที่ค้นพบ นักวิชาการทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์ยืนยันว่ากลองมโหระทึก 2 ใบนั้นทําด้วยโลหะสัมฤทธิ์ มีแหล่งผลิตอยู่ในเวียดนามตอนเหนือ ดังนั้นเจ้าของกลองมโหระทึกบนเกาะสมุยอาจจะเป็นนักเดินทางมาจากที่อื่น ที่ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ (ชั่วคราว) บนเกาะเป็นกลองมโหระทึกใบหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษคือด้านข้างกระพุ้งกลองมีรูปเรือที่มักเรียกว่า “เรือส่งวิญญาณ” เป็นเรือยาว ๆ มีหัวและท้ายโค้งขึ้นเล็กน้อย ในเรือมีนกและคนครึ่งนก ที่หัวประดับขนนกอยู่หลายคน ด้วยเหตุนี้จึงเชื่อว่าผู้คนกลุ่มหนึ่งที่เดินทางขึ้นไปอาศัยบนเกาะสมุยเมื่อไม่น้อยกว่า 2,000 ปีมาแล้ว จะต้องมีความชํานาญในการเดินเรือเป็นอย่างดี เพราะการสลักลวดลายเป็นรูป เรือ เพื่อส่งวิญญาณคนตายเช่นนี้ย่อมเกิดขึ้นจากประสบการณ์ในการเดินทะเลอย่างเชี่ยวชาญมาแล้ว เชื่อกันว่าคน ที่มาตั้งรกราก สร้างบ้านเรือนบนเกาะสมุยในยุคแรก อาจจะในลักษณะของการแสวงหาโชคหาแหล่งทํากินใหม่ หรือด้วยเหตุบังเอิญ เช่น หลบลมมรสุม มาแวะจอดเรือเป็นครั้งคราวหรือการขึ้นมาหาน้ําจืด ส่วนผู้คนถิ่นเดิมหรือคนอพยพเข้ามาสู่เกาะสมุยนั้น ตามสันนิษฐานของพระครูอินทปัญญาจารย์ ได้พบร่องรอยและหลักฐานมากมายพอที่จะเชื่อถือได้ว่า ชนชาวอินเดียได้เข้ามาเกี่ยวข้องในดินแดนแถบอ่าวบ้านดอนไม่น้อยกว่า 2,000 ปี ส่วนคนไทยเข้ามาทีหลังชาวอินเดียเล็กน้อย สําหรับคนพื้นเมืองเดิมซึ่งอยู่ก่อนชาวอินเดียและคนไทยนั้น เชื่อกันว่าเป็นพวกมาลายู ซึ่งพวกนี้มีรูปร่างลักษณะเช่นเดียวกันคนไทยปักษ์ใต้ในปัจจุบัน ต่อมาได้แต่งงานกัน จึงทำให้คนไทยส่วนใหญ่ในแถบนี้มีเลือดผสมถึงสามสายด้วยกัน คือ มาลายู อินเดีย และไทย ต่อมาภายหลังมีเชื้อสายจีนอีกเชื้อสายหนึ่ง
สําหรับ คําว่า “ สมุย” หรือชื่อเกาะบริวารอื่น ๆ จะเป็นภาษาใด มีความหมายอย่างไร หรือแปลว่าอย่างไรนั้นยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดลงไป แต่มีผู้รู้หลายท่านได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า คนโบราณนั้นชอบเรียกชื่อสถานที่ต่าง ๆ โดยอาศัยเหตุผลอยู่สองสามประการ คือมักจะเอาชื่อบุคคล ชื่อต้นไม้ หรือชื่อสภาพทางภูมิสาสตร์มาตั้งเป็นชื่อท้องถิ่นนั้นๆ ดังนั้นหากดูตามข้อสังเกตข้างต้นแล้ว คําว่า “สมุย” ย่อมจะมีที่มาและความหมายต่างๆ กันไป ตามข้อสันนิษฐานของ อาจิณ จันทรัมพร
1. “สมุย”น่าจะเป็นคําในภาษามาลายู เพราะเมื่อได้ตรวจสอบรายชื่อต่าง ๆ ในทะเลรอบอ่าวบ้านดอนตลอดจนชื่อตําบล หรือสถานที่บางแห่งของดินแดนส่วนนี้มีชื่อซึ่งไม่ใช่ภาษาไทยอยู่เป็นจํานวนมากเช่น ชื่อเกาะสมุย พะงัน วัวตาหลับ พะลวย เป็นต้น ชื่อตําบลเฉงอะ กระแดะ ฉะโหละ ละแม โมถ่าย เป็นต้น และที่เกาะสมุยมีชื่อหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่เชื่อกันว่าเป็นภาษามาลายู คือ บ้านลิปะน้อยและลิปะใหญ่ ซึ่งภาษามาลายูแปลว่า”คลองน้ำ” ซึ่งมีความหมายตรงกับสภาพภูมิประเทศ ที่มีลําคลองไหลผ่าน นอกจากนี้ที่ชวนให้เข้าใจว่าเป็นภาษามาลายู เพราะที่เกาะพะงันก็มีชื่อทํานองนี้อยู่มาก เช่น ฉะโหละ นั้นคํามาลายูว่า ดาโละ แปลว่า อ่าว ส่วนหลํานัน คํามาลายูว่า ดาลำ หรือตาลำ แปลว่าลึก เมื่อรวมกันเป็น ดาโละตาลํา แปลว่า อ่าวลึก ซึ่งเมื่อพิจารณาตามสภาพภูมิศาสตร์แล้ว ที่นั่นมีสภาพ เป็นอ่าวลึกจริง ๆ
2. “สมุย” เป็นคํามาจากภาษาทมิฬอินเดียใต้ คือมาจากคําว่า”สมอย” ที่แปลว่า คลื่นลม ต่อมาคําว่าสมอย ได้เปลี่ยนเป็นคําว่า “สมุย”
3. “สมุย” มาจากชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ทั่วไปในภาคใต้ เป็นไม้เนื้ออ่อน ต้นไม่โตนำ ภาษาพื้นเมือง เรียกว่า ต้นหมุย ซึ่งขึ้นอยู่ทั่วไปในพื้นที่เกาะสมุย และสันนิฐานว่า ต้นหมุยนี้ มาจากคําเต็มว่าตนสมุย
ทั้งนี้เนื่องจากภาษาปักษ์ใต้ มักจะตัดตัวหน้าออก เพื่อให้พูดสั้น เช่น มะพร้าว ก็เรียกว่า พร้าว มะม่วง ก็เรียกว่า ม่วง เกาะสมุย ก็เรียกว่า เกาะหมุย เป็นต้น
4. “สมุย” เป็นภาษาจีนไหหลำ มาจากคําว่า”เซ่าบ่วย” ซึ่งคนจีนไหหลำ เรียกเกาะสมุยว่า เซ่าบ่วย แปลว่าเกาะแรกหรือด่านแรก ประตูแรก ซึ่งเมื่อประมาณ 100 ถึง 150 ปีมาแล้ว คนจีนที่เกาะไหหลํา ได้นําสินค้ามาขายยังประเทศไทย ก่อนที่จะเดินทางเข้ากรุงเทพฯ การเดินทางจะไป – กลับจึงได้มาจอดแวะที่เกาะสมุย เพื่อจอดรับเอาสิ้นค้าที่เกาะสมุยก่อน จําพวกได้ กะปิ มะพร้าว เป็นต้น ดังนั้นคําว่าเซ่าบ่วย เมื่อเรียกนาน ๆ จึงเพี้ยนไป กลายเป็น”สมุย”
5. “สมุย” มาจากคําของพวกโจฬะ แปลว่า คลื่นลม คือเมื่อประมาณ พ.ศ. 1300 สมัยอาณาจักรศรีวิชัยเจริญรุ่งเรื่องทางภาคใต้ พวกโจฬะเป็นพวกชาวเรือ ได้ตั้งชื่อ เกาะสมุยว่า เป็นเกาะแห่งคลื่นลม
ด้วยเนื้อที่ ของตัวเกาะ 247 ตารางกิโลเมตร สมุยเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสามในประเทศไทย และเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะกว่า 80 เกาะ (ร้างส่วนใหญ่) ในหมู่เกาะบริวารของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทองซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเกาะสวรรค์ของการดําน้ําดูปะการัง และเหมาะแก่การพายเรือคายัค
เกาะสมุยมี ความยาวที่ 25 กิโลเมตร และกว้าง 21 กิโลเมตร มีขนาดที่พอเหมาะในการที่จะให้คุณได้สนุกสนานไปกับการผจญภัย โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงโดยรถมอเตอร์ไซด์ หรือรถยนต์
บริเวณเกาะสมุยเคยมีการตั้งถิ่นฐานเป็นที่อยู่อาศัยครั้งแรกประมาณ 15 ศตวรรษ ที่ผ่านมา ซึ่งตั้งรกรากโดยชาวประมงจากคาบสมุทรมลายู และภาคใต้ของจีน โดยปรากฎหลักฐานที่มีการจารึกโดยชาวจีนเมื่อ 500 ปี ก่อนนี่เอง ภายใต้ชื่อ Pulo Cornam
สมุยเป็นชื่อที่ลึกลับในตัวของมันเอง บ้างก็ว่าชื่อของเกาะสมุยเพี้ยนมาจากชื่อของต้นไม้พื้นเมืองที่ชื่อ ต้นหมุย หรือเพี้ยนมาจากภาษาจีน ที่ว่า สโบย ซึ่งมีความหมายว่า “หลบภัย”
จนกระทั่งปลายศตวรรษที่ 20 จากเกาะสมุยที่เคยเป็นชุมชนพอเพียงโดดเดี่ยว ได้เริ่มมีการเชื่อมต่อกับแผ่นดินใหญ่ของประเทศไทย การเดินทางบนเกาะสมุยยังต้องลัดเลาะผ่านป่าเขาเพื่อไปยังหาดอื่น ยังไม่มีถนนจนกระทั่งต้นปี 1970 ในช่วงปี คศ.1970 นั