การสัมมนาจริยธรรมจรรยาบรรณของนักข่าวในวันที่ 19 พฤศจิกายน โดยคุณ อมรัตน์ มหิทธิรุกข์ จากบางกอกโพสต์ ที่มาให้ความรู้ที่มาถ่ายทอดประสบการณ์ และการปลุกอุดมการณ์การเป็นนักข่าวในอนาคตให้แก่นักศึกษาสาขาวารสารศาสตร์กันอย่างพร้อมเพรียง ที่มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
การสัมมนาครั้งนี้เป็นการเสียสละเวลาอันมีค่าอย่างมากของคุณอมรรัตน์ในการเรียนรู้และประสบการณ์ในการทำหน้าที่เป็นสื่อต่างๆให้แก่ประชาชนเพื่อรับรู้ข่าวสาร
อุดมการณ์และจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้สื่อข่าว สื่อ ผู้สื่อข่าวประกอบด้วย
1สื่อหนังสือพิมพ์ 2 สื่อวิทยุโทรทัศน์ 3 สื่อสำนักข่าวต่างๆ 4 สื่อสังคมออนไลน์
จริยธรรม คือคุณธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพนักสื่อสารมวลชน
จรยาบรรณ คือ หลักจริยธรรมที่ผู้ประกอบวิชาชีพ นักสื่อมวลชนกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษร
ทำไมต้องมีจรรยาบรรณในสื่อ เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกคุกคามจากหน่วยงานรัฐ เจ้าของรัฐ เจ้าของสื่อจัดตั้งสามาคมวิชาชีพเพื่อควบคุมกันเอง เป็นแนวทางควบคุมให้สื่อมวลชนมีความรับผิดชอบ เป็นเกราะป้องกันเสรีภาพของสื่อมวลชน เป็นที่พึ่งของประชาชนในเรื่องสิทธิที่จะได้รู้ เป็นพื้นฐานของนักสื่อสารมวลชนมีจริยธรรมที่ดี
ดังนั้น นักสื่อสารมวลชน จึงต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างมีจริยธรรม จรรยาบรรณไม่ใช่กฎหมาย เป็นเพียงหลักเกณฑ์ให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับจริยธรรมได้หรือใช้เป็นแนวทางในการกำหนดว่าการกระทำใดถูกหรือเลวดี
และคุณอมรรัตน์ยังบอกอีกว่าจริยธรรมและจรรยาบรรณของการเป็นนักข่าวต้องมีความชื่อสัตย์ ไม่เขียนข่าวใส่สีเติมแต่งเรื่องจนเกินจริง เมื่อเราได้ข้อมูลอย่างไรมาเราต้องนำเสนอข้อมูลที่เป็นข้อมูลจริงเสนอข่าวให้มีความกระชับเข้าใจง่ายให้แก่ผู้รับสื่อ
เครดิตรูปภาพhttp://www2.rsu.ac.th/gallery/academic-seminar-on-% E2%80%9Cjustice-governance-society%E2%80%9D
จากการที่ได้เข้าฟังการสัมมนาในครั้งนี้ ก็ทำให้รู้ว่าจรรยาบรรณของผู้สื่อข่าว ถ้าหากเราเรียนด้านสื่อจริยธรรมของสื่อเลยถือว่าเราเรียนแค่เปลือกของสื่อไม่เรียนรู้เข้าไปถึงแก่นแของสื่อจริงๆ เพราะสื่อในปัจจุบันมีความซับซ้อนมาก ดังนั้นสำหรับเราควรบอกเล่าข่าวอย่างเป็นความจริง ไม่คัดลอกข้อมูลของผู้อื่นมาเขียน มันผิดจรรยาบรรณ ทำข่าวนำเสนออย่างมีสัจจะ ไม่บิดเบือน แค่นี้เราก็มีจริยธรรมและจรรยาบรรณของผู้สื่อข่าวแล้ว
จริยธรรมของสื่อมวลชนจรรยาบรรณของนักข่าวเกี่ยวกับหลักสิทธิส่วนบุคคล
สิทธิส่วนบุคคล (Right to Privacy) เป็นเรื่องที่คาบเกี่ยวระหว่างกฎหมายและจริยธรรม บ่อยครั้งที่นักข่าวจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า นำเสนอข่าวที่เป็นเรื่องส่วนตัวของบุคคลต่างๆในสังคม โดยเฉพาะคนที่มีชื่อเสียง หรือบุคคลสาธารณะ (Public Figure) เช่น นักการเมือง ดารานักแสดง นักร้อง นักข่าวมักจะเฝ้าติดตามเสนอข่าว ทั้งที่เรื่องราวส่วนตัวของเขาไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะเลยเรื่องของสิทธิส่วนบุคคล นับว่าเป็นปัญหาใหญ่มากขึ้น เนื่องจากปัญหาการตีความว่า แค่ไหน เพียงใดที่นักข่าวจะนำเสนอได้ในฐานะบุคคลสาธารณะ เพราะความเป็นบุคคลสาธารณะจะทำให้ความเป็นส่วนตัว (Privacy) น้อยลง แต่โดยหลักจริยธรรม บุคคลเหล่านี้ก็ยังได้รับความคุ้มครองในการใช้ชีวิตส่วนตัวอยู่ดี ดังนั้นนักข่าวต้องแยกให้ออกระหว่างขอบเขตสิทธิส่วนบุคคลกับสิทธิในการรับรู้ของประชาชน โดยนักข่าวต้องยึดถือหลักการรายงานข่าวด้วยความรับผิดชอบทางจริยธรรม คือ มีความยุติธรรมต่อบุคคลที่ตกเป็นข่าว ข้อมูลและข้อเท็จจริงที่นำเสนอในข่าวต้องมีความถูกถ้วน
ตัวอย่างที่เห็นชัดเจน คือการเสนอข่าวบันเทิง ผู้บริโภคข่าวสารมักเข้าใจว่า ข่าวบันเทิง คือข่าว เรื่องราวชีวิตครอบครัวของดารา ข่าวรักๆใคร่ๆ ซึ่งในความเป็นจริง นั่นเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลทั้งสิ้น นิยามของความเป็นข่าวบันเทิง ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องบทบาทการแสดง หรือการที่ดาราบางคน เป็นตัวอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิต มีความใส่ใจในการศึกษา หรือมีจิตสาธารณะในการช่วยสังคม กลับปรากฎในพื้นที่ข่าวบันเทิงน้อยมาก