การแต่งกายของประเทศเวียดนาม
"ผู้หญิง" นุ่งกางเกงแพรยาว สวมเสื้อแขนยาว คอตั้งสูง ตัวเสื้อยาวลงมาจรดข้อเท้า ผ่า 2 ข้าง สูงแค่เอว พวกทำงานหนักจะสวมเสื้อสั้น มีกระเป๋า 2 ใบ แขนจีบยาว บางแห่งทางเหนือสวมกระโปรงยาวถึงข้อเท้า "ผม" ยาวเกล้ามวย สวมงอบสานด้วยใบลานทรงรูปฝาชี หรือใช้ผ้าสามเหลี่ยมคลุมศีรษะ ดึงชาย 2 ข้างมาผูกใต้คาง ถ้าเป็นทางเหนือแถวฮานอย ใช้ผ้าดำแถบยาวหุ้มผมซึ่งถักเปียไว้ให้มิด แล้วโอบพันศีรษะ ปัจจุบันนิยมตัดผมสั้น และดัดผมมากขึ้น สวมรองเท้าเกียะส้นสูง พ่นสีต่าง ๆ รองเท้าสตรีส้นรองด้วยพื้น ยาง คาดหลังด้วยหนังหรือพลาสติกสีต่าง ๆ
"ชาย" แต่งกายคล้ายหญิง บางครั้งสวมเสื้อกุยเฮง สวมหมวกสีดำเย็บด้วยผ้า ไม่มีปีก ปัจจุบันแต่งสากลกันมากแล้ว
ในเวียดนามใต้มีชาวเขาเผ่าหนึ่งเรียกว่า"พวกม้อย" จะนุ่งผ้าสั้น ๆ ปกปิดร่างกายแต่เฉพาะ ท่อนล่างคล้ายนุ่งใบไม้ ปัจจุบันหญิงสวมเสื้อ นิยมเจาะหูสอดไม้ซึ่งเหลาแหลม ๆ สวมกำไลคอจากประวัติความเป็นมาจะเห็นว่าชาวเวียดนามมีการแต่งกายผสมผสานกันมีทั้งไทยมุง หรือ อ้ายลาวระยะแรก ปนของจีนบ้าง เช่น ลักษณะของเสื้อที่ป้ายซ้อนกันบริเวณอกคอปิด แขน ยาว แต่แตกต่างจากไทยและจีนตรงที่การใช้ผ้า ถึงแม้ว่าจะใส่กางเกงแล้ว ยังนิยมสวมเสื้อผ้าบาง ที่เปิดจนถึงเอวทั้ง 2 ข้าง ให้เห็นรูปทรงและสัดส่วนที่งดงาม ชาวเวียดนาม ได้ชื่อว่า เป็นชาติมี ผิวพรรณงามที่สุดในโลกอีกด้วย ชนเผ่าไทในเวียดนามจะมีการทอผ้าออกมางดงามมาก ซึ่งจะมีลวดลายบนผืนผ้าทอที่ แตกต่างกันออกไป ซึ่งแต่ละลายนั้น มีความหมายและมีเทคนิคการทอที่แตกต่างกันอย่างเช่น ลาย ดาวแปดแฉก จะเป็นลายดาวแปดแฉกตรงกลางของผ้า หรือในผ้าเปียว (ผ้าโพกศีรษะ) และยังมี ลายเส้นจุด (ลายคลื่น) ลายฟันเลื่อย (ลายหยักหงอนไก่) ลายขอ (ลายกูด) ลายเหรียญ (ลายจำ หลอด) ลายรูปหัวใจ (ลายหมากจุ้ม) เป็นต้น ลวดลายต่าง ๆ เหล่านี้นอกจากจะปรากฏอยู่บนผืน ผ้าแล้วยังปรากฏในเครื่องปั้นดินเผา และกลองสำริดด้วย
กายแต่งกายชาวเวียดนาม
สำหรับการแต่งการของเวียนนามโดยทั่วไปก็เหมือนกับประชาชนคนไทยกล่าวคือ หนุ่มสาวรับ วัฒนธรรมของตะวันตกคล้ายกับเยาวชนไทย ต่างกับการแต่งการของเยาวชนชาวลาวซึ่งยังคงยึดมั่นใน วัฒนธรรมประจำชาติของตน กล่าวคือ เยาวชนผู้หญิงยังคงนุ่งซิ่นกรวมเท้า สวมเสื้อมีปกสีขาวแขนสาม ส่วน ส่วนฝ่ายชายก็แต่งตัวเรียบร้อยนุ่งกางเกงทรงสุภาพและใส่เสื้อเชิ้ตเป็นส่วนใหญ่ ดังจะกล่าวถึงเคร่อื ง แต่งกายประจำชาติของเวียดนามก็คล้ายกับเครื่องแต่งกายของคนจีนนั่นเองแต่จะมีชื่อเรียกต่างกัน คือ ชุด ประจะชาติของหญิงนี่เป็นสัญลักษณ์เป็นที่รู้จักกันเป็นชุดคลุมยาวผ่าข้างสง คอตั่ง อาจมีแขนหรือแขนกุด กางเกงขายาวหรือกระโปรงมักเป็นสีขาวหรือสีเดียวกับชุดคลุมมีชื่อเรียกว่า ชุดอ๋าวใหม่ ตัดเย็บด้วยตัวสี เรียบๆส่วนชุดนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกันนี้ แต่มักเย็บด้วยผ้าไหมด้านหรือแพรเนื้อหนาซึ่งมีชื่อว่า กี่เพ๊า เป็น ชุดประจำชาติ
ส่วนของชาวเขาที่มีอยู่หลายเผ่าก็มีเสื้อผ้าที่คล้ายกันกับชาวเขาโดยทั่วๆ ไปอาจจะมีส่วนต่างกันอยู่ บ้างตามความเชื่อของแต่ละเผ่า
ชุด "อ่าว หญ่าย"
"อ่าว หญ่าย" แปลว่า "ชุด ยาว" ซึ่งสำเนียงนี้เป็นสำเนียงของภาคเหนือ ส่วนภาคใต้จะออกเสียงสั้น ๆ ว่า "อ่าว ซ่าย" ซึ่งส่วนมากแล้วในอดีตคนในภาคเหนือของประเทศเวียดนามจะนิยมใส่มากกว่าภาคใต้ แต่หลังจากสิ้นสุดสงครามเวียดนามในปี 1975 แล้ว ชุดนี้ก็เป็นที่นิยม สามารถพบเห็นได้แทบจะทุกภาคของประเทศ และได้รับความนิยมมาก