อาชีพนักออกแบบแฟชั่น (Fashion Designer)
ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ ทำหน้าที่สร้างสรรค์ การออกแบบสิ่งทอเสื้อผ้า รวมทั้งการออกแบบเนื้อผ้า หรือลายผ้าสวยงามเหมาะกับแฟชั่น แต่ละยุคสมัยให้แก่บุคคล และวิธีการตัดเย็บ หรือผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในทางอุตสาหกรรม และมีการพัฒนาเพื่อให้มีการแข่งขันกับตลาดต่างประเทศได้
ลักษณะของงานที่ทำ
ผู้ประกอบอาชีพนักออกแบบเครื่องแต่งกายจะมีหน้าที่คล้ายกับนักออกแบบเครื่องประดับ หรือนักออกแบบเครื่องเรือน โดยมีหน้าที่ ดังนี้
วิเคราะห์ ศึกษาวัสดุ ที่นำมาออกแบบสิ่งทอ ลายผ้า และเนื้อวัสดุ เพื่อตัดเย็บ และวิธีการตัดเย็บ ควบคุมการตัดเย็บให้เป็น ไปตามแบบที่ออกไว้
ให้คำแนะนำในเรื่องการแก้ไขข้อบกพร่อง ของรูปร่างแต่ละบุคคล โดยมีพื้นฐานความเข้าใจในศิลปะการแต่งกายของไทยโบราณและการแต่งกายแบบตะวันตกยุคต่างๆ ในการออกแบบและขั้นตอนการผลิต
นำเทคนิคทางเทคโนโลยีที่มีต่อการสร้างงานศิลป์มาประยุกต์ใช้ โดยจะมีขั้นตอนการทำงาน ออกแบบให้ผู้ว่าจ้างดังนี้
1. ต้องรวบรวมความคิด ข้อมูลที่เป็นสัดส่วนจากลูกค้าหรือผู้ว่าจ้าง
2. ศึกษารูปแบบงานที่มีอยู่ ถ้าสามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือดัดแปลง เพื่อลดระยะเวลาการทำงานและต้นทุนการผลิตในเวลาเดียวกัน ต้องทำการค้นคว้าวิจัยด้วย
3. ทำการร่างแบบคร่าวๆ โดยคุมให้อยู่ในแนวความคิดดังกล่าวให้ได้ตามความต้องการ
4. นำภาพที่ร่าง แล้วให้ผู้ว่าจ้างพิจารณา เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการผลิต รวมทั้งการใช้ วัตถุดิบ และประเมินราคา
5. นำภาพร่างที่ผ่านการพิจารณาและแก้ไขแล้วมาสร้างแบบ (Pattern) วิธีที่จะต้องตัดเย็บใน รายละเอียด ปัก กุ๊น เดินลาย หรือ จับเดรปแล้วนำมาลงสีตามจริง เขียนภาพและอธิบายวิธีการทำให้ละเอียด และชัดเจนที่สุดเท่าที่สามารถจะทำได้เพื่อให้ช่างทำตามแบบได้
6. ส่งแบบ หรือชุดที่ตัดเนาไว้ให้ฝ่ายบริหารและลูกค้า หรือผู้ว่าจ้าง พิจารณาทดลองใส่ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องขั้นสุดท้าย
7. นำแบบที่ผู้ว่าจ้างเห็นชอบ ทำงานประสานกับช่างตัดเย็บ ช่างปัก เพื่อให้ได้ผลงานตามที่ลูกค้าต้องการ
สภาพการจ้างงาน
สำหรับนักออกแบบเสื้อผ้า หรือแฟชั่นดีไซเนอร์ที่มีความสามารถและผลงานในระยะเวลาที่เป็นนักศึกษา เมื่อเริ่มทำงานกับบริษัทผลิตและ ออกแบบเสื้อผ้า อาจได้อัตราค่าจ้างเป็นเงินเดือนสำหรับวุฒิการศึกษาระดับประโยควิชาชีพ และประโยควิชาชีพชั้นสูง อาจได้รับอัตราค่าจ้างขั้นต้นเป็นเงินเดือนประมาณ 8,000 - 10,000 บาท
ส่วนผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จะได้รับเงินประมาณ 9,000 - 10,000 บาท หรืออาจมากกว่า ขึ้นอยู่กับฝีมือการออกแบบและประสบการณ์ของนักออกแบบแต่ละคนมีสวัสดิการ โบนัส และสิทธิพิเศษอื่นๆ ขึ้นอยู่กับผลประกอบการของเจ้าของกิจการ
ส่วนมากผู้ประกอบอาชีพนี้ จะมีร้านหรือใช้บ้านเป็นร้านรับออกแบบตัดเสื้อผ้าเป็นของตนเองเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากเป็นอาชีพอิสระที่มีรายได้ดี
สำหรับนักออกแบบประจำห้องเสื้อหรือร้านเสื้อใหญ่ๆ หรือโรงเรียนสอนตัดเสื้อที่มีผลงานแสดงเป็นประจำนั้น เป็นผู้ที่มีประสบการณ์สูงและต้องมีผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการแสดงผลงานและคอลเล็คชั่น
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
ผู้สนใจในอาชีพนี้ ควรมีคุณสมบัติทั่วๆ ไปดังนี้
1. มีความคิดสร้างสรรค์มีความชอบและรักงานด้านออกแบบ มีมุมมองเรื่องของศิลป์ ความรักสวยงามอาจมีพื้นฐาน ทางด้านศิลป์บ้าง
2. มีความกระตือรือร้น ช่างสังเกตว่ามีความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง กล้าคิดกล้าทำ กล้าที่จะถ่ายทอด
3. มีความสามารถในการถ่ายทอด ความคิด หรือแนวคิดให้ผู้อื่นฟังได้
ผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้คือ
ผู้ที่มีคุณสมบัติขั้นต้น ดังกล่าว สามารถเข้ารับการอบรมหลักสูตรระยะสั้นในการออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้าได้ที่โรงเรียนหรือสถาบันการออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้าที่มีชื่อเสียงทั่วไป ซึ่งเปิดรับผู้สนใจเข้าเรียนโดยไม่จำกัดวุฒิการศึกษาเพราะการออกแบบเสื้อผ้าขึ้นอยู่กับความริเริ่มสร้างสรรค์ประสบการณ์ และการฝึกหัด
สำหรับผู้สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรปริญญาตรี นอกจากโรงเรียนหรือวิทยาลัยสายวิชาชีพแล้ว ยังสามารถสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาโดยมี คณะศิลปกรรมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เปิดสาขาวิชาการ ออกแบบพัสตราภรณ์
ผู้ที่เข้ารับการศึกษาในสาขาวิชาทางด้านนี้จะได้รับความรู้ในเรื่องของความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาสิ่งทอ และเครื่องแต่งกายของไทย ตะวันออก และตะวันตก เพื่อสืบทอดมรดกและศิลปสิ่งทอของไทย ในท้องถิ่นต่างๆ
นอกจากนี้ ยังมีสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ คณะคหกรรมศาสตร์สาขาผ้า และเครื่องแต่งกาย ธุรกิจเสื้อผ้า ฯลฯ
โอกาสในการมีงานทำ
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาแล้วสามารถนำความรู้ ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดในยุคปัจจุบัน คือสามารถออกแบบสิ่งทอสำหรับอุตสาหกรรมระดับต่างๆ ได้มีความรู้ในเรื่องการบริหารการตลาด และการใช้เทคโนโลยี ที่จำเป็นต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป
ในวงการแฟชั่นในประเทศไทยยังไม่สามารถเป็นศูนย์กลางของการออกแบบแฟชั่นได้แต่กลับเป็น ศูนย์กลางของวัตถุดิบอย่างเช่น ผ้าไหมและการผลิตเสื้อผ้าเพื่อการส่งออกภายใต้ยี่ห้อสินค้าต่างประเทศ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป เพราะมีค่าแรงราคาถูก
อย่างไรก็ตาม ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ในวงการออกแบบเสื้อผ้าไทยถือว่ามีความสำเร็จในระดับหนึ่งที่การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปภายใต้ยี่ห้อไทย ได้มีการส่งออกไปขายในต่างประเทศบ้างแล้ว เช่น Fly Now หรือในเรื่องของการสนับสนุนการออกแบบลายผ้าไหมที่มีลายเป็นเอกลักษณ์ และการให้สีตามที่ลูกค้า ในต่างประเทศต้องการ และสามารถส่งออกได้
นักออกแบบแฟชั่นในต่างประเทศหลายสถาบันต่างก็ให้ความสนใจแนวการแต่งกาย วัฒนธรรม และการใช้ชีวิตอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวเอเชียมากขึ้น ดังนั้น นักออกแบบแฟชั่นไทยควรหันมาสนใจ วัตถุดิบในประเทศ และคิดสร้างสรรค์งานที่เป็นเอกลักษณ์และโดดเด่น เพราะแรงงานและวัตถุดิบในประเทศ ยังมีราคาถูก ตลาดสิ่งทอไทยในต่างประเทศ เช่น เสื้อผ้าถักสำเร็จรูป เสื้อผ้าทอสำเร็จรูปยังมีศักยภาพในการส่งออกสูง
นอกจากนี้ รัฐบาลและแนวโน้มของคนไทยกำลังอยู่ในระหว่างนิยมเลือกใช้สินค้าไทยโดยเฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่มที่ได้มาตรฐานการส่งออ