บทคัดย่อ
โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง ที่มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น หากผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ จะส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิต การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือด พฤติกรรมและความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมสมาธิ บำบัด SKT1-3
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลม่วงลาย อ.เมือง จ.สกลนคร เมื่อวันที่ 1 กันยายน- 10 พฤศจิกายน 2558 จำนวน 160 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้ค่า IOC = 0.93 ผ่านการตรวจสอบสมมุติฐานเชิงอนุมาน ,ค่าเฉลี่ย ,ร้อยละ ,ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ,ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ สถิติ Chi-Square พบว่าหลังการฝึกสมาธิบำบัดแบบ SKT 1-3 กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการฝึกสมาธิบำบัดแบบ SKT 1-3 มีค่าระดับน้ำตาลในเลือด(DTX) ต่ำกว่า ก่อนเข้าร่วมการฝึกสมาธิบำบัดแบบ SKT 1-3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ระดับนัยสำคัญ=0.05,p=0.16) ผลจาการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าควรมีการส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานเข้าร่วมกิจกรรมสมาธิบำบัดแบบ SKT1-3 หรือการออกกำลังกายในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด อย่างไรก็ตาม ชนิดของการออกกำลังกาย ความหนัก ระยะของเวลา และความถี่ ของการทำกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย ยังคงต้องการการศึกษาอีกต่อไป