บทความนี้มุ่งนำเสนอ การปฏิวัติวัฒนธรรม พ.ศ. (2440-2507) ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงครามได้นำแนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมหลายอย่างหลังจากที่ได้ประกาศใช้รัฐนิยมฉบับต่างๆทั้งหมด12ฉบับ ฉบับที่1-6 เกี่ยวกับการปลูกฝังความนิยมไทยในหมู่คนไทย ส่วนฉบับที่ 7-12 เกี่ยวกับการชักชวนให้ประชาชนร่วมใจกันสร้างชาติ การกำเนิดนโยบายสร้างชาติโดยผ่านรัฐนิยมทั้ง 12ฉบับ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นผู้ที่เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของชาติ เช่น การรำวง ก๋วยเตี๋ยวผัดไทยและเป็นผู้ที่เปลี่ยนชื่อประเทศสยามมาเป็น ประเทศไทย เปลี่ยนเพลงชาติไทย มาเป็นเพลงที่ใช้ในปัจจุบันเป็นการเปลี่ยนแปลงประเพณีวัฒนธรรมบางอย่างเพื่อให้สอดคล้องกับการปกครองและให้เกิดความทันสมัยมีการสร้างชาติวัฒนธรรมใหม่เพื่อจัดระเบียบการดำเนินชีวิตของคนไทยให้เป็นแบบอารยประเทศ บทความนี้จะแบ่งการนำเสนอเป็น 12 ส่วน ในส่วนแรกจะนำเสนอ การใช้ชื่อประเทศ ประชาชนและสัญชาติ ส่วนที่สอง การป้องกันภัยจะบังเกิดแก่ชาติ ส่วนที่สาม การเรียกชื่อชาวไทย ส่วนที่สี่ การเคารพธงชาติและเพลงสรรเสริญพระบารมี ส่วนที่ห้า ให้ชาวไทยพยายามใช้เครื่องอุปโภคบริโภคที่มีกำเนิดหรือเกิดขึ้นในประเทศส่วนที่หก ทำนองและเนื้อเพลงชาติ ส่วนที่เจ็ด ชักชวนให้ชาวไทยร่วมกันสร้างชาติ ส่วนที่แปด เพลงสรรเสริญพระบารมีส่วนที่เก้า ภาษาและหนังสือไทยกับหน้าที่พลเมือง ส่วนที่สิบ เรื่องการแต่งกายของประชาชนชาวไทย ส่วนที่สิบเอ็ด กิจประจำวันของคนไทย ส่วนที่สิบสอง การช่วยเหลือคุ้มครองเด็กคนชราหรือคนทุพพลภาพบทความนี้มีความสำคัญที่ควรศึกษาเนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมที่สำคัญในประวัติศาสตร์ ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ทำให้ประเทศมีการเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัยมากขึ้นเป็นความถูกต้องและเป็นประเพณีอันดีงามที่คนไทยพึงปฏิบัติในการสร้างศีลธรรมอันดีวิถีทางการดำเนินชีวิตและการสร้างเอกลักษณ์แห่งความเป็นไทยเพื่อเข้ากับการปกครอง ดั้งนั้นการศึกษาการปฏิวัติวัฒนธรรมครั้งนี้จะช่วยให้เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมที่ทำให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึงการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ได้กว้างมากยิ่งขึ้น