หลักปฏิบัติทั่วไป
1. ตีตรงกลางลูกระนาด
2. การเคลื่อนของมือ โดยที่มือซ้ายและมือขวาต้องอยู่ในแนวขนานกัน ตำแหน่งของหัวไม้อยู่กึ่งกลางลูกระนาด และเอียงตามทิศทางของผืนระนาด
3. การยกไม้ เสียงของระนาดเอกจะดังมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับพลังในการตี ควรยกไม้ระนาดให้สูงจากผืนระนาดประมาณ 6 นิ้วสำหรับตีฉาก และ 2 นิ้วสำหรับตีสิม
4. น้ำหนักมือ ต้องลงน้ำหนักของมือซ้ายและมือขวาให้เท่ากัน
ลักษณะการตีระนาด
1.ตีฉาก 2.ตีสิม 3.ตีครึ่งข้อครึ่งแขน 4.ตีข้อำ
วิธีการตีระนาด
1.ตีกรอ 2.ตีสะบัด 3.ตีรัว 4.ตีกวาด 5.ตีขยี้ 6.ตีคาบลูกคาบดอก 7.ตี
ความสำคัญ
ระนาดเอก “พระเอก”ของดนตรีไทย ในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ดนตรีไทยได้รับความนิยมสูงมาก เพราะงานมหรสพ งานประเพณี รวมทั้งงานพระราชพิธีต่างๆ ต้องมีดนตรีไทยเป็นส่วนประกอบ สำนัก วงดนตรีไทย นักดนตรี ครูดนตรี คนมีฝีมือ ล้วนมีอยู่มากมายทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด แต่คนที่เล่น “ระนาดเอก” มักจะได้รับความสนใจมากกว่าใครๆ ในวง
อาจารย์บำรุง พาทยกุล หัวหน้าภาควิชาดุริยางค์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร และผู้อำนวยการโรงเรียนพาทยกุลการดนตรีและนาฏศิลป์ ได้กล่าวถึงความสำคัญของระนาดเอกในฐานะพระเอกของวงว่า “...ที่บอกว่าระนาดเอกเป็นพระเอกของวง เนื่องจากระนาดนี่ ด้วยหน้าที่ของเขาในวง เขาจะเป็นคนที่คอยนำ เช่น นำขึ้น หรือว่าจะแยกไปทางไหน หรือว่าจะทอดลง จะช้าจะเร็ว เขาจะเป็นคนนำ เพราะว่าเสียงของเขาจะดัง คนระนาดจะเป็นคนชักไป โดยหน้าที่ ต้องถือเป็นผู้นำวง เสน่ห์ของเสียงระนาดอยู่ที่ เป็นเครื่องดนตรีที่ทำด้วยไม้ ซึ่งมีความแตกต่างจากเครื่องดนตรีที่เป็นเสียงโลหะเช่น ฆ้อง ซึ่งเสียงเหล่านี้มันจะก้องกังวานยาวนาน แต่ถ้าเป็นระนาด มันจะไม่ก้องกังวานแบบโลหะ แต่มันจะเป็นเสียงที่...ถ้าตีด้วยไม้นวม ก็จะทุ้มนุ่มนวล ไพเราะ ไม่บาดหู ถ้าตีด้วยไม้แข็ง เสียงก็แกร่ง ใส...” ในเรื่องของความยากง่ายในการเรียนนั้น อาจารย์บำรุง อธิบายว่า เนื่องจากระนาดเป็นเครื่องดนตรีที่สามารถพลิกแพลงได้หลากหลาย มีเทคนิคที่ใช้มากกว่าเครื่องดนตรีประเภทอื่น ระนาดเอกจึงเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นให้ดีได้ยาก ประกอบกับ คนที่จะเรียนระนาดได้ดี จะต้องมีปฏิภาณไหวพริบดี พลิกแพลงใช้กลเม็ดต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและหลากหลาย การเรียนระนาดจึงมีความยากกว่าการเรียนเครื่องดนตรีชนิดอื่น “...ยกตัวอย่างเช่น เราเขียนหนังสือ เขียนคำว่ากินข้าว ระนาดเขาบอกว่าต้องเสวย เรียกว่า ต้องแปลให้อยู่ในความหมายเดิม แต่ต้องแปรไปในหลายรูปแบบ เป็นรับประทาน หรืออะไรก็แล้วแต่ให้อยู่ในความหมายเดิม ต้องไม่ซ้ำ และแตกต่างออกไป นอกจากนี้ คนระนาดจะต้องเป็นคนที่ข้อแข็งแรง สามารถควบคุมไม้ตีให้ตีได้อย่างที่ใจต้องการ สมองกับมือต้องสัมพันธ์กันอย่างมาก...” อาจารย์บำรุงกล่าว