กังหันน้ำชัยพัฒนา
มีชื่อทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมว่า "เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย (Low speed surface Aerator)" และมีชื่อในการจดสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ใช้ภาษาอังกฤษว่า "Chaipattana Low Speed Surface Aerator, Model RX-2)" โดยทั่วไปเรามักเรียกว่า"กังหันน้ำชัยพัฒนา" อันเป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานไว้ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม
ปัญหาเรื่องน้ำเสียมีประวัติความเป็นมาควบคู่ไปกับความเจริญเติบโตของชุมชน กล่าวคือ เมื่อครั้งประชากรยังน้อยและกระจัดกระจายก็ไม่เป็นปัญหาอะไรมากนัก ต่อมาเมื่อชุมชนเจริญเติบโตประชากรเพิ่มมากขึ้น ปัญหาเรื่องน้ำเสียก็ติดตามมาเป็นเงาตามตัว ทั้งนี้ เพราะว่าน้ำเสียเป็นผลิตผลอย่างหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันของคน และนับวันน้ำเสียจะมีปริมาณมากขึ้นเป็นทวีคูณ และมีสารใหม่ ๆ แปลก ๆ ของผลิตภัณฑ์สมัยใหม่เจือปนอยู่ด้วย ซึ่งจะทำให้น้ำเสียเป็นปัญหายุ่งยากมากขึ้นตามลำดับในอนาคตกังหันน้ำชัยพัฒนา" มีคุณสมบัติในการเติมออกซิเจนหรืออากาศลงไปในน้ำ สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำได้อย่างอเนกประสงค์ ติดตั้งง่าย เคลื่อนย้ายง่าย เหมาะสำหรับใช้ในแหล่งน้ำสาธารณะและแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ สระน้ำ หนองน้ำ คลอง บึง ลำห้วย กังหันน้ำชัยพัฒนาเป็นเครื่องกลเติมอากาศที่สร้างขึ้นมาภายในประเทศไทย แบบไทยทำ ไทยใช้ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานรูปแบบในการประดิษฐ์ จนกระทั่งสามารถนำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมเป็นอย่างยิ่ง กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรเลขที่ 3127 แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2536 คณะรัฐมนตรีมีมติให้กำหนดวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น "วันนักประดิษฐ์" เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นการสืบเนื่องจากการที่ได้รับสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2536