ในการตรวจสอบต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงจากการผลิตหรือแปรรูปชิ้นส่วน Ms.napa ไม่มีวิธีการจัดเก็บข้อมูลที่ชัดเจน หรือมีวิธีการที่ดีข้อมูลแต่มีความคลาดเคลื่อน เข้าลักษณะ Human Error ต้นทุนการจัดซื้อวัตถุดิบ วัสดุสำเร็จรูปที่เป็นชิ้นส่วนมาตรฐาน เครื่องมืออุปกรณ์ ตลอดจนค่าจ้างในการจ้างทำงานเฉพาะด้าน ที่มีใบเสร็จรับเงินที่ปรากฏเป็นหลักฐานทางบัญชีแล้ว แต่การบันทึกข้อมูลจริงในการปฏิบัติงาน เช่น ข้อมูลเวลาทำงานของพนักงานในแต่ละขั้นตอน ข้อมูลเวลาการใช้งานเครื่องจักร ตลอดจนใบบันทึกการเบิกจ่ายวัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนวัสดุสิ้นเปลืองมักไม่ตรงกับความเป็นจริง ส่งผลให้การจำแนกต้นทุนการผลิต (Manufacturing Cost) โดยรวมคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ในส่วนของบัญชีต้นทุน Ms.napaต้องแนวทางการจัดเก็บข้อมูลต้นทุนการผลิต โดยหาวิธีการที่เป็นแนวทางที่สามารถให้พนักงานสามารถปฏิบัติได้โดยง่าย ข้อมูลที่ได้ต้นทุนการผลิตที่เป็นจริง และสอดรับกับระบบบัญชีของบริษัทฯ เพื่อให้ข้อมูลที่สรุปสามารถนำไปพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องต่อไป ข้อมูลต้นทุนการผลิตและปฏิบัติการในการผลิตชิ้นส่วนทุก ๆ ขั้นตอน จะเป็นข้อมูลเพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารในส่วนงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ฝ่ายผลิตก็ทราบต้นทุนดำเนินงานของตนเอง ในขณะที่ฝ่ายขายก็จะทราบข้อมูลสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่รับคำสั่งซื้อมาผลิตว่าอยู่ในสถานะขาดทุนหรือไม่ อีกทั้งยังใช้เป็นฐานข้อมูลเพื่อการเสนอราคาสำหรับผลิตภัณฑ์รายการใหม่ หรือลูกค้ารายใหม่ ในขณะที่ฝ่ายบัญชีก็ทราบต้นทุนการผลิตเพื่อบันทึกบัญชี ข้อมูลต้นทุนการผลิตนี้ อาจจะถูกนำมาใช้ในการเจรจาต่อรองกับลูกค้าในกรณีที่ลูกค้ามีนโยบายให้ลดราคา (Cost Down) ซึ่งมักเป็นนโยบายปกติของผู้ซื้อประจำปี แต่ถ้าต้นทุนการผลิตกลับเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ส่งผลให้บรืษัทฯต้องหาวิธีการลดต้นทุน และขจัดความสูญเปล่าในทุก ๆ ด้าน ข้อมูลต้นทุนดำเนินการในการผลิต(Manufacturing Cost) ที่สะท้อนถึงข้อมูลที่เป็นจริง(Factual Figure) สามารถนำมาวางแผนทางการเงิน (Cash Flow Management) ของบริษัทฯได้อย่างค่อนข้างแม่นยำ หรืออาจมีความคลาดเคลื่อนบ้างขึ้นอยู่กับตัวแปรที่เป็นปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดยอาจจะป้องกันได้โดยการวางแผนป้องกันความเสี่ยง เพื่อให้การดำเนินการของบริษัทฯเป็นไปตามที่กำหนดเป้าหมายไว้ ตัวแปรประการหนึ่งที่เป็นปัจจัยภายใน เช่น ต้นทุนด้านคุณภาพ อาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนดำเนินการในอุตสาหกรรมการผลิต หากการผลิตมีของเสียมาก หรือทำให้ต้องทำการซ่อมแซม หรือทำการผลิตซ้ำ อาจทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นทั้งในส่วนของค่าจ้างแรงงาน ค่าวัสดุ ค่าเครื่องมืออุปกรณ์ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และอาจทำให้ไม่สามารถส่งงานไม่ได้ตามกำหนดเวลา ซึงปัจจัยภายในนี้ผู้บริหารสามารถควบคุมได้หากมีข้อมูลที่ถูกต้อง ในขณะที่ปัจจัยภายนอก โดยมากมักเป็นปัจจัยจากลูกค้า หรือสภาพทางเศรษฐกิจ เช่น ลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของชิ้นส่วน การกำหนดให้ซื้อวัตถุการผลิตจากผู้ว่าจ้าง การเปลี่ยนปริมาณการสั่งซื้อกระทันหันในระยะเวลาอันจำกัด ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ในขณะที่สภาพทางเศรษฐกิจตกต่ำ คำสั่งซื้อลดลง ก็อาจมีผลกระทบด้านการเงินของบริษัทฯได้ การวางแผนทางการเงินจากข้อมูลที่เป็นอยู่อาจจะต้องจัดทำไว้ในหลาย ๆ สถานการณ์