จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่9เน้นทรัพยากรมนุษย์เป็นศูนย์กลางการพัฒนาโดยให้ความสำคัญกับคนในฐานะที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของระบบสังคมเพราะเห็นว่าคนเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของสังคมหากได้มีการพัฒนาให้มีคุณภาพแล้วย่อมจะทำให้สังคมในทุกระดับและประเทศชาติมีคุณภาพตามไปด้วยจึงได้กำหนดวัตถุประสงค์ในการพัฒนาคุณภาพไว้ว่าเพื่อให้คนสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมและสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไปจุดมุ่งหมายที่สำคัญก็เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ประชาชนสามารถดำเนินชีวิต ขั้นพื้นฐานได้ดีขึ้นมีคุณภาพชีวิตที่สมบูรณ์ดังนั้นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพนั้นจะต้องมีการพัฒนาทั้งทางด้านจิตใจและทางด้านร่างกายทางด้านจิตใจนั้นจะต้องได้รับการพัฒนาโดยที่ประชาชนจะต้องได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานและมีการอบรมปฏิบัติอย่างมีศีลธรรมและจริยธรรมที่ดีต่อตนเองและสังคมส่วนการพัฒนาทางด้านร่างกายนั้นประชากรจะต้องมีภาวะโภชนาการที่ดี จะส่งผลให้คนมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ อันจะนำไปสู่ผู้ที่มีประสิทธิภาพทั้งทางใจและทางกายในการ
พัฒนาประเทศในทุกๆด้าน
นับว่าปัญหาโภชนาการเป็นปัญหาสำคัญที่ควรพิจารณาเป็นอย่างยิ่งเพราะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกวัยเนื่องจากอาหารเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ในการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ สังคม ตลอดจนส่งเสริมสุขภาพอนามัยของมนุษย์ให้แข็งแรงและสมบูรณ์ นับตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิในครรภ์มารดาจวบจนคลอดออกมาเป็นทารกเจริญเติบโตจากเด็กเป็นผู้ใหญ่ถึงวัยชราร่างกายที่จำเป็นต้องได้รับอาหารประจำวันการบริโภคอาหารอย่างถูกหลักโภชนาการจะทำให้ร่างกายเจริญเติบโตอย่างเหมาะสมเป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็นมีสุขภาพดีทั้งทางร่างกายและจิตใจนำไปสู่รากฐานของการมีสุขภาพชีวิตที่ดี
ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า อาหารและการบริโภคอาหารที่ถูกต้องจะนำไปสู่การพัฒนาสติปัญญาและร่างกายให้แข็งแรงนั้นเป็นสิ่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับมนุษย์ ทุกคน ทุกวัย โดยเฉพาะ