ดอกทานตะวันหันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์ เป็นการตอบสนองแบบ Positive Phototropism คือการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นเพียงด้านเดียว เกิดจากฮอร์โมน ออกซิน (Auxin) เพราะแสงมีอิทธิพลทำให้การกระจายตัวของออกซินเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ เมื่อแสงส่องมายังพืช ด้านที่รับแสงจะมีออกซินน้อยเพราะออกซินหนีไปอยู่ด้านที่มืด ด้านที่มืดจึงมีการยืดตัวและเจริญเติบโตมากกว่าด้านที่รับแสง ยอดของพืชจึงโค้งเบนเข้าหาแสง ซึ่งต่างจากการตอบสนองแบบ Negative Phototropism ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวเบนหนีแสง เช่น หญ้าแพรก วัตถุประสงค์ของบทความนี้จัดทำเพื่อช่วยให้ผู้ที่ความสนใจเกี่ยวกับดอกทานตะวันเข้าใจในการตอบสนองต่อแสงของดอกทานตะวันมากยิ่งขึ้น