เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชดำริว่า “เสาหลักเมือง” ทรุดโทรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำขึ้นใหม่ เนื่องจากพระองค์ทรงเชี่ยวชาญด้านโหราศาสตร์ จึงทรงแก้ไขดวงเมือง โดยทรงประกอบพิธีจารึกดวงพระชันษาพระนครลงบนแผ่นทองคำหนัก 1 บาท ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และให้สร้างศาลขึ้นใหม่ โดยก่อสร้างเป็นยอดปรางค์ตามอย่างศาลาที่กรุงศรีอยุธยา จากนั้นบรรจุดวงพระชันษาพระนครไว้ที่ “เสาหลักเมือง” แล้วจัดให้มีการสมโภชฉลองด้วย
ด้วยเหตุนี้ภายในศาลหลักเมืองจึงมีเสาหลักเมืองอยู่ 2 ต้น โดยเสาต้นสูงคือครั้งรัชกาลที่ 1 ซึ่งได้ทำพิธีถอนเสาแล้ว ส่วนเสาต้นที่สูงทอนลงมาเป็นเสาหลักเมืองครั้งรัชกาลที่ 4 นั่นเอง