บทคัดย่อ
การนอนกรน (snoring) เป็นปัญหาและโรคของการนอนหลับ ที่พบบ่อย ในคนอายุ 30-35 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง จะมีอาการนอนกรน และเมื่ออายุมาก การนอนกรนจะเพิ่มขึ้นตามอายุ จะทำให้ผู้ป่วยนอนหลับได้ไม่สนิท มีการสะดุ้งตื่นเป็นช่วงๆ ส่งผลให้นอนหลับได้ ไม่เต็มที่ ผู้ป่วย ที่มีภาวะนี้จะมีแนวโน้มที่จะทำงานได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากมีอาการง่วงมากผิดปกติในเวลากลางวัน (excessive daytime sleepiness) และมีแนวโน้ม ที่จะเกิดอุบัติเหตุในท้องถนนและในโรงงานอุตสาหกรรมได้ง่ายเมื่อเทียบกับคนปกติ เนื่องจากการหลับใน ขณะขับขี่รถ และขณะทำงานกับเครื่องจักรกล นอกจากนั้นยังพบว่ามีอัตราเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคอื่นๆหลายโรค ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง, กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการ ขาดเลือด, ภาวะหัวใจเต้น ผิดจังหวะโรคของหลอดเลือดในสมอง ตลอดจนการมีสมรรถภาพทางเพศที่เสื่อมลง ผู้ป่วย ที่มีอาการนอนกรน อย่างเดียวโดย มีผลกระทบต่อสุขภาพของตนเอง แต่จะมีผลกระทบต่อสังคม และคุณภาพชีวิตของผู้อื่นโดยเฉพาะกับคู่นอน, บุคคลอื่นๆ ในครอบครัว, เพื่อนบ้าน, หรือเพื่อนร่วมงาน เช่น ทำให้ผู้อื่นนอนหลับยาก หรืออาจมากจนกระทั่ง มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เช่น อาจทำให้เกิดการหย่าร้างของคู่สามีภรรยา มีสาเหตุมาจาก ลักษณะโครงสร้างของใบหน้า การดื่มสุรา สูบบุหรี่ กรรมพันธุ์ โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง เกิดการตีบตันของหลอดเลือดทำให้ก๊าซผ่านเข้าไปได้ไม่สะดวกและนอนกรนเกิดจาก การที่กล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้นมีการหย่อนตัวลง จนทำให้ทางเดินหายใจตีบแคบ และเมื่อมีลมหายใจผ่าน ก็จะทำให้เนื้อเยื่อดังกล่าวเกิดการสั่นสะเทือน และกระพือ จนทำให้เกิดเป็นเสียง กรน โรคนอนกรน และหยุดหายใจขณะหลับคือ การที่ทางเดินหายใจส่วนต้นตีบแคบลงขณะหลับ โดยเสียงกรน จะเกิดขึ้นขณะหายใจ เพราะอากาศจะเดินทางผ่านที่แคบทําให้เกิดเสียงดัง ทางเดินหายใจที่เกิดตีบแคบขณะหลับนั้น จะตั้งอยู่หลังจมูกจนถึงทางเปิดกล่องเสียง มีลักษณะเหมือนท่อยางยืดหยุ่น ที่ไม่มีกระดูกและเป็นโครงแข็งโรคนอนกรนและหยุดหายใจเกิดขึ้นเฉพาะขณะหลับเท่านั้น เพราะขณะตื่นสมองจะสั่งงานเต็มที่ให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นขยาย
การนอนกรนมี 2 ประเภท
การนอนกรนชนิดไม่อันตราย (Simple snoring) มีอาการ นอนกรน เป็นจังหวะสม่ำเสมอ ไม่มีหายใจสะดุด หรือสำลักเสียงกรนอาจดังหรือค่อย ขึ้นกับว่าเกิดจากบริเวณใด ถ้าเกิดเพราะเพดานอ่อนหรือลิ้นไก่ ยิ่งในรายมีเพดาน อ่อนหย่อนหรือลิ้นไก่ยาวมักทำให้กรนเสียงดังมาก โดยเฉพาะเวลานอนหงาย แต่นอนท่าอื่นหรือนั่ง ก็อาจกรนได้ แต่ถ้ากรนจากการตึบแคบบริเวณโคนลิ้น เสียงมักเบา เหมือนหายใจแรงๆ เกิดเพราะคนๆ นั้นมีช่องคอแคบกว่าปกติ เวลาเรานอนหงายและหลับสนิท (เป็นเวลาที่กล้ามเนื้อต่างๆ ทั่วร่างกายจะมีการคลายตัว รวมทั้งกล้ามเนื้อบริเวณช่องคอด้วย) ลิ้นและลิ้นไก่จะตกไปทางด้านหลัง
อาการของโรคนอนกรนหรือนอนกรนชนิดอันตราย (Obstructive sleep apnea หรือ OSA)
คนที่เป็นโรคนี้จะนอนกรนเสียงดัง มีอาการคล้ายสำลักหรือสะดุ้งตื่นกลางดึก ต้องลุกไปถ่ายปัสสาวะตอนกลางดึก รู้สึกสมองตื้อ คิดอะไรไม่ออก เพราะง่วงนอน ขี้ลืม ไม่ค่อยมีสมาธิในการทำงาน ตื่นขึ้นมาด้วยอาการอ่อนล้า ไม่สดชื่น หรือปวดศีรษะ และต้องการนอนต่ออีกทั้ง ที่ไม่ได้นอนดึก บางคนอาจมีอาการร่วมด้วย อาทิเช่นจุกแน่นคอเหมือนมีอะไรติดคอ หูอื้อ หงุดหงิดง่าย ขี้โมโห คนข้างเคียง ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหรือที่ทำงานบ่นว่า คุณอารมณ์เสียบ่อยๆ รวมทั้งมีความรู้สึก ทางเพศลดลง
คนที่เป็นโรคนอนกรนจะมีช่องคอแคบมาก จากเนื้อเยื่อเพดานอ่อน ลิ้นไก่ หรือลิ้น มีขนาดใหญ่และหย่อนยานหรือมีคาง สั้นมาก ผู้ป่วยกลุ่มนี้ มักมีเสียงกรน ไม่สม่ำเสมอไปตลอดทั้งคืน เมื่อยังหลับไม่สนิทอาจจะเป็นเพียงกรน ชนิดไม่อันตราย มีเสียงกรนสม่ำเสมอดี แต่เมื่อหลับสนิทจะเกิดการอุดตันของทางเดินหายใจ มีลักษณะของการกลั้นหายใจ ตามด้วย การสะดุ้งหรือสำลักน้ำลายหรือหายใจอย่างแรงเหมือนขาดอากาศ อาจเกิดขึ้นหลายสิบหรือหลายร้อยครั้งต่อคืน