โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1. คู่มือการแปลผลตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้น 2. แอพพลิเคชั่นแปลผลตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้นผู้วิจัยได้ ตรวจสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค(Cronbach’s Alpha Coefficiency) ซึ่งได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .924 และ โปรแกรมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนตามแนวคิดทฤษฎีผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางต่อความภาคภูมิใจในตนเอง ผู้วิจัยได้สร้างโดยออกแบบโปรแกรมตามระยะของกระบวนการกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนของมารัม (Marram, 1978 อ้างในสมพร รุ่งเรืองกลกิจ, 2554) ผ่านการวิเคราะห์ความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจานวน 3 ท่าน การวิเคราะห์ระดับความภาคภูมิใจในตนเองของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มทดลองใช้สถิติ dependent T-test และเปรียบเทียบระดับความภาคภูมิใจในตนเองของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มทดลองระหว่างก่อนและหลังการทดลองใช้สถิติ dependent T-test ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับความภาคภูมิใจในตนเองของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มทดลองหลังการทดลองมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ระดับความภาคภูมิใจในตนเองของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มทดลองระหว่างก่อนทดลองและหลังทดลองมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05