ช้าง : บรรพกาล-ปัจจุบัน
ช้างเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทมีงวง บรรพบุรุษของช้างตัวแรกมีขนาดใหญ่กว่า หมูไม่มากเกิดขึ้นบนโลกมานานกว่า 50 ล้านปี ก่อนและได้แพร่ขยายพันธุ์วิวัฒนาการไปเป็น ช้างชนิดต่าง ๆ หลายล้านตัว และมากกว่า 160 ชนิด ส่วนมากจะตัวใหญ่และงายาว
บางชนิดสูงถึงที่ระดับไหล่ถึง 5.2 เมตร และหนักราว 9.9 ตัน (ช้างไทยตัวผู้ สูงเฉลี่ย 2.7 เมตรและหนักเฉลี่ย 4.5 ตัน) แต่บางชนิดเป็นช้างแคระสูงเพียง 90 เซนติเมตร ช้างเหล่านี้สูญพันธุ์ไปแล้วเกือบทั้งหมดในสมัยน้ำแข็ง (Ice Age) เหลืออยู่ในปัจจุบันเพียง 2 ชนิด คือ ช้างแอฟริกาที่หูใหญ่หัวเล็กกับช้างเอเชียที่หูเล็กและหัวใหญ่กว่า สำหรับประเทศไทยเมื่อ 100 ปีเศษมาแล้ว เคยมีช้างป่าอยู่ถึง 100,000 เชือก แต่ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงประมาณ 1,000 เชือกเศษเท่านั้น
นครราชสีมา : ดินแดนแห่งชาติโบราณ 4 งา : กอมโฟธีเรียม
ณ พื้นที่กว่า 10,000 ไร่ ใต้แผ่นดินริมแม่น้ำมูลของตำบลท่าช้าง และตำบลช้างทอง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา บริเวณแห่งนี้ คือ สุสานช้างโบราณที่กลายเป็นหิน อายุ 16-0.7 ล้านปีก่อน ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยพบฟอสซิลช้างชนิดที่สูญพันธุ์ไปแล้วหลายสกุล และคาดว่ามีจำนวนซากช้างหลายร้อยตัวหรือนับพันตัว
ฟอสซิลช้างในบริเวณนี้ ได้จากบ่อทรายหลายแห่ง บางส่วนที่ได้รับการตรวจสอบโดยศาตราจารย์ ดร.จัง จาคส์ เจเจร์ นักบรรพชีวินวิทยา ชาวฝรั่งเศส ดร.วราวุธ สุธีธร และ ดร. เยาวลักษณ์ ชัยมณี นักโบราณชีววิทยา จากกรมทรัพยากรธรณี พบว่าซากกระดูก ฟัน งา ช้างและแรดโบราณ นายสมศักดิ์ ศรีหัตถผดุงกิจ มอบให้กับอำเภอเฉลิมพระเกียรติ เพื่อการอนุรักษ์เป็นซากช้างโบราณถึง 8 สกุล จาก 38 สกุล ที่พบทั่วโลก ที่สำคัญ เช่น
สถานการณ์ฟอสซิลช้าง
ฟอสซิลช้างโบราณในประเทศไทยพบได้ในหลายจังหวัด เช่น ในเมืองถ่านหินของจังหวัดลำปาง ลำพูน พะเยา แต่แหล่งที่พบเป็นปริมาณมากและค่อนข้างสมบูรณ์ คือแหล่งบ่อทรายในอำเภอเฉลิมพระเกียรติจังหวัดนครราชสีมาที่น่าเสียดายยิ่ง คือ แม้ฟอสซิลช้างจะได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ. โบราณสถาน โบราณวัตถุฯ แต่ฟอสซิลกระดูกช้างจำนวนหลายตัน จากแหล่งอำเภอเฉลิมพระเกียรติได้ถูกยึดครองเป็นสมบัติส่วนตน หรือถูกนำไปจำหน่ายให้กับนักสะสมโบราณวัตถุหรือของเก่า ทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ