ประเพณี รับบัวหรือโยนบัวเป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวบางพลีอำเภอบางพลีมีประชากร อาศัยอยู่ 3 พวก คือ ไทยรามัญและลาวแต่ละพวก มีหัวหน้าควบคุมดูแลทำมาหากิน ในอาชีพต่างๆต่อมา กลุ่มคนทั้ง3พวกได้ปรึกษากันว่าสมควร จะหักร้างถางพงขยายพื้นที่ทำกินใหม่ให้กว้างขวางขึ้นที่ทำไร่ทำ สวนแต่เดิมเต็มไปด้วยพงอ้อพงแขม และพันธุ์ไม้ต่างๆ มีสัตว์อาศัยอยู่หลายชนิดทางฝั่งใต้ของคลองเต็มไป ด้วยป่าแสม น้ำเป็นน้ำเค็ม ฝั่งเหนือเป็นบึงใหญ่ แต่ละบึงจะมีน้ำลึกมีดอก บัวหลวง ขึ้นอยู่มากมาย คนทั้ง 3พวกได้ช่วยกัน หักร้างถางพงจนถึงสามแยกบริเวณ คลองสลุด คลองชวดลากข้าว คลองลาดกระบังเมื่อ ถึงบริเวณ นี้ต่างตกลงกันว่า ควรแยกย้ายกันไปหากินคนละทางจะดีกว่า ตกลงกันว่าให้พวกลาวไป ทาง คลองสลุดคนไทยไปตามทางคลองชวดลากข้าว พวกรามัญไปทางคลองลาดกระบัง
ต่อ มาคนรามัญที่ไปทางคลองลาดกระบังทำมาหากินอยู่ 2 - 3 ปีก็ไม่ได้ผลมีนกหนูรบกวน การ ทำไร่ ไถ่นา พืชผลเสียหาย จึงปรึกษากันกลับถิ่นฐานเดิมคือ ปากลัดเริ่มอพยพในตอนเช้ามืดของเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำก่อนไปได้เก็บดอกบัวในบริเวณนั้นไปด้วยเพื่อนำไปบูชาพระคาถาพันที่ปากลัด ในปีต่อมาได้ ้มีการสั่งให้คน ไทยที่ชอบพอกันว่าเมื่อถึงวันขึ้น 4 ค่ำเดือน 11ให้ช่วยกันเก็บดอกบัวไปบูชาหลวงพ่อโต ในวิหารและให้นำ น้ำมนต์หลวงพ่อโตกลับไปเป็นสิริมงคลด้วยส่วนดอกบัวที่เหลือชาวรามัญจะนำกลับ ไปบูชาพระคาถาพัน จึงเป็นที่มาของประเพณีรับบัวมาจนถึงทุกวันนี้
ใน ปัจจุบันพอถึงเดือน 11 ขึ้น 13 ค่ำ ก่อนออกพรรษา 2วันในตอนเย็นชาวบางพลี จะเตรียมดอกบัวไว้โดยเอาดอกบัวหลายดอกเสียบไว้ในใบบัวแล้วเอาใบบัวห่อไว้กัน เหี่ยวตกเย็น ชาวตำบลต่างๆทั้งใกล้และไกลก็ ็จะพากันไปยังตำบลบางพลีใหญ่ ต่างๆช่วยกันพายเรือเรือจะ ตกแต่งอย่างสวยงามตอนกลางคืนมีการจับคู่ ร้องเพลงเรือลำตัดตามแต่ถนัดฝ่ายชาวบ้านบางพลีใหญ่จะตกแต่งบ้านเรือนด้วยธง ทิวโคมบัว จะเล่นจนถึงสว่างบริเวณที่เล่นกันคือคลองสำโรงในตอนเช้าจะมีการโยนบัวลงไปใน ขบวนเรือ ขบวนแห่พระพุทธรูปโดยอัญเชิญหลวงพ่อโตจำลองลงไว้ในเรือเรือจะแล่นไปตามคลอง สำโรง ให้ประชาชนได้บูชาประชาชนจะโยนดอกบัว ลงไปในเรือแห่หลวงพ่อโต และในเรือที่ชาวบ้านมาร่วมงาน