ความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและเอกชนคือบทบาทของรัฐบาลที่มีส่วนเสริมการประกอบธุรกิจของเอกชนซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของชาติโดยรวม ซึ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือการที่ภาครัฐพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่น การสร้างถนนหนทาง โรงไฟฟ้า การคมนาคมและการขนส่ง การสื่อสาร ฯลฯ เพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อการลงทุนของภาคเอกชนในอุตสาหกรรมต่างๆ ในกรณีที่เศรษฐกิจทรุดหนักก็จะมีนโยบายภาษีการเข้าไปช่วยธุรกิจเอกชนให้สามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ที่เห็นเด่นชัดก็คือการใช้นโยบายการเงินการคลังด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยง, นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนและการใช้จ่ายของภาครัฐเพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจที่กำลังทรุดตัวฟื้นตัวขึ้นมาได้ การใช้จ่ายภาครัฐจะเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจ กล่าวคือ เมื่อมีการใช้จ่ายสร้างถนนหนทางก็จะมีการว่าจ้างแรงงานซึ่งจะนำไปสู่การมีรายได้ ทำให้มีอำนาจซื้อเพื่อจับจ่ายใช้สอยอันจะนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตและการว่าจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้นต่อกันเป็นลูกโซ่ จนเศรษฐกิจฟื้นตัวและเกิดพลวัตในด้านธุรกิจการค้า
1. เอกชนมีสิทธิ์เป็นเจ้าของทรัพย์สิน เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตหรือทรัพยากรต่างๆตามกฎหมายและในบางกิจการที่สำคัญ และมีผลกระทบต่อสาธารณะชน เช่น กิจการสาธารณูปโภค การสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส เป็นต้น
2. การดำเนินการผลิต การจัดจำหน่ายและแลกเปลี่ยนต่างๆเป็นไปในรูปแบบเอกชนซึ่งมีเสรีภาพในระบบเศรษฐกิจแต่รัฐจะมีโอกาสแทรกแซงในกิจการที่สำคัญและมีผลกระทบต่อสาธารณะชนและมีบทบาทในการวางแผนเศรษฐกิจในลักษณะชี้นำภาคเอกชนและการดำเนินงานของภาครัฐ
3. การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจมักอาศัยกลไกราคาในการจัดสรรทรัพยากรเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลน หรือแทรกแซงการกำหนดราคาสินค้ารายการสำคัญๆ เช่น ราคาสินค้าขั้นต่ำ ราคาพยุงของสินค้าเกษตร อาหาร กำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพื่อช่วยเหลือให้ผู้ใช้แรงงาน เป็นต้น
4. การแข่งขันได้รับการยอมรับแต่รัฐจะแทรกแซงให้มีความเป็นธรรมเพื่อป้องกันการผูกขาด
ข้อดี
1. มีความคล่องตัวในการดำเนินการเพราะสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ
2. เอกชนมีบทบาททางเศรษฐกิจมีการแข่งขันกันผลิตสินค้าจึงมีคุณภาพประชาชนสามารถเลือกบริโภคได้
3. ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการของรัฐได้แก่ ระบบสาธารณูปโภค การศึกษา การสาธารณสุขและสวัสดิการอื่นๆ
4. ประชาชนมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพ
ข้อเสีย
1. การบริหารจัดการของรัฐบาลไม่แน่นอน
2. การบริหารงานของรัฐในกิจกรรมอุตสาหกรรมบางประเภทหรือการบริการจำนวนมากยังขาดประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับภาคเอกชน
3. การวางแผนจากศูนย์กลางเพื่อประสานประโยชน์ของรัฐกับเอกชนให้เกิดผลดีต่อส่วนรวมอย่างแท้จริงนั่นเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก
4. กำลังใจหรือแรงจูงใจสำหรับเอกชนมีไม่มากพอเพราะต้องเสี่ยงกับนโยบายที่ไม่แน่นอนของภาครัฐหรือการถูกเข้าควบรวมกิจการ
สรุป
ความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและเอกชนเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ถ้าภาครัฐไม่ให้การสนับสนุนภาคเอกชนก็จะนำไปสู่ปัญหาต่างๆ มากมาย เป็นต้นว่า ถ้าภาคเอกชนจะต้องสร้างโรงผลิตไฟฟ้า,น้ำประปาและถนนก็คงไม่สามารถจะลงทุนได้โดยมีผลกำไรเพราะค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้าจะสูงจนไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้ ขณะเดียวกันการพึ่งภาครัฐในทุกด้านก็ย่อมจะเป็นไปไม่ได้เนื่องจากทรัพยากรจำกัด ส่วนการสนับสนุนจากภาครัฐที่ไม่มีผลอย่างจริงจังเนื่องจากไม่ได้พยายามอย่างเต็มที่นั้นก็จะไม่เกิดผลในทางบวกตามที่ได้มุ่งหมาย แต่ข้อที่พึงระวังก็คือการสนับสนุนจากภาครัฐก็มีข้อจำกัด เช่น การให้เงินสนับสนุนแก่ธุรกิจเอกชนอาจจะขัดกับข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวเนื่องกับการค้าเสรี การบังคับใช้กฎหมายอย่างไม่จริงจัง เช่น ไม่สนใจการบำบัดน้ำเสียซึ่งเท่ากับเป็นการช่วยตัดทอนรายจ่ายของภาคเอกชน ก็จะถือว่าเป็นการสนับสนุนภาคเอกชนโดยทางอ้อมซึ่งทำให้การแข่งขันในตลาดโลกเกิดความไม่ยุติธรรมเนื่องจากสินค้าจากประเทศอื่นต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง เพราะค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งต้องนำไปรักษาสภาพแวดล้อมเช่นการบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น