1ความล้มเหลวขององค์การสันนิบาตชาติ การทำหน้าที่รักษาสันติภาพของสันนิบาตชาติ ไม่ประสบผลสำเร็จเพราะสันนิบาต ไม่มีกองทหารและ ไม่มีอำนาจยับยั้งข้อพิพาทระหว่างประเทศได้อีกทั้งสหรัฐอเมริกา ไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกจึงทำให้สันนิบาตชาติ อ่อนแอ
2การเติบโตของลัทธินิยมทางทหาร มีผู้นำหลายประเทศได้สร้างความเข้มแข็งทางทหารและสะสมอาวุธร้ายแรงต่าง ๆ ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น เพื่อขยายอำนาจทางการเมืองโดยใช้กำลังเข้ายึดครองดินแดนต่าง ๆ และใช้กองทัพปกป้องผล ประโยชน์ของชาติตน
3ความไม่เป็นธรรมของสนธิสัญญาสันติภาพ ได้แก่ สนธิสัญญาแวร์ซายส์และสัญญาสันติภาพฉบับอื่น ๆ ภายหลังเมื่อสงคราม โลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ซึ่งเยอรมนีและชาติผู้แพ้สงครามถูกบังคับให้สงนามในสัญญาที่ตนเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เช่น การสูญเสีย ดินแดน อาณานิคมและจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมหาศาล จึงต้องการล้มเลิกเงื่อนไขข้อตกลงตามสัญญาฉบับนี้
4การแข่งขันทางเศรษฐกิจ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษและฝรั่งเศสยังคงเป็นประเทศที่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ แต่เยอรมนี ซึ่งเป็นฝ่ายปราชัยในสงครามและต้องสูญเสียดินแดนอารานิคมให้แก่ชาติมหาอำนาจทั้งสองไปจนเกือบหมดรวมทั้ง อิตาลี และญี่ปุ่น ซึ่งมีอาณานิคมน้อยกว่า จึงอยู่ในฐานะประเทศที่มีกำลังทางเศรษฐกิจไม่เข้มแข็ง ประเทศดังกล่าว จึงต้องการ เร่งพัฒนา ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศตนเป็นผลให้เกิดการแข่งขันกับประเทศมหาอำนาจ ทางเศรษฐกิจ ดิมโดยเฉพาะด้าน การค้าระหว่างประเทศและการแสวงหาแหล่งวัตถุดิบ จึงนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้ง ระหว่างประเทศในที่สุด
5ความขัดแย้งในอุดมการณ์ทางการเมือง แนวความคิดของผู้นำประเทศที่นิยมลัทธิทางทหารได้แก่ ฮิตเลอร์ ผู้นำลัทธินาซี (Nazism) ของเยอรมนี และมุสโสลินี ผู้นำลัทธิฟาสต์ซิสม์ (Fascism) ของอิตาลีทั้งสองต่อต้านแนวความคิดเสรีนิยมและ ระบบการเมือง แบบรัฐสภาของชาติยุโรป แต่ให้ความสำคัญกับพลังของลัทธิชาตินิยม ความเข้มแข็งทางทหาร และอำนาจของ ผู้นำมากกว่า