การวิจัยเรื่อง “การเสริมสร้างศักยภาพสตรีของศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว ภาคกลาง จังหวัดนนทบุรี”เป็นการวิจัยแบบคุณภาพ(Qualitative Research)มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา กระบวนการเสริมสร้างศักยภาพสตรีของศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคกลาง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งการศึกษาการเสริมสร้างศักยภาพสตรีของศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว ภาคกลาง จังหวัดนนทบุรีศึกษาจากปัญหาสตรีด้อยโอกาส กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสตรี และกระบวนการในการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว ภาคกลาง จังหวัดนนทบุรี จากแบบสัมภาษณ์ หัวหน้ากลุ่มแผนงานและวิชาการจำนวน 1 คน ครูฝึกจำนวน 8 คน ผลการศึกษาพบว่า สภาพปัญหาที่เกี่ยวกับสตรีด้อยโอกาสในปัจจุบันมีกฎหมายที่ไปรองรับ ควบคุม แก้ไขปัญหาแล้วแต่ผลที่ได้คือปัญหาเหล่านั้นก็ไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด จึงทำให้ต้องมีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคกลาง จังหวัดนนทบุรีขึ้นเพื่อเป็นตัวขับเคลื่อนกลไกทางกฎหมายให้เห็นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นโดยที่ศูนย์จะนำกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสตรีนั้นมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน กำหนดยโยบายต่างๆภายในศูนย์ และวางแผนงานให้เหมาะสมกับการจัดหลักสูตรในการจัดฝึกอบรมให้แก่สตรี ทั้งนี้ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคกลาง จังหวัดนนทบุรี ได้กำหนดคุณสมบัติในการรับสตรีเข้ามาฝึกอบรมที่ศูนย์ตามนโยบายของทางกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว นโยบายนั้นคือ“การลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ” ซึ่งสตรีกลุ่มเป้าหมายนั้น คือสตรีที่ด้อยโอกาส สตรีที่ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัว สตรีที่ขาดโอกาสในด้านการศึกษา สตรีที่ประสบปัญหาการค้าประเวณี
ผลของการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคกลาง จังหวัดนนทบุรีตามกฎหมาย นโยบาย แผนงานต่างๆในการจัดฝึกอบรมอาชีพเพื่อพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดีของสตรีที่ประสบปัญหาดังที่กล่าวมาข้างต้น จากแบบสัมภาษณ์ สตรีที่เข้ามารับการฝึกอบรมอาชีพจำนวน 24 คน พบว่า กระบวนการเสริมสร้างศักยภาพของสตรี จะสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้แก่สตรี เป็นการเปิดประสบการณ์ในการเพิ่มทักษะของสตรี กระบวนการเสริมสร้างศักยภาพจะเป็นตัวกระตุ้น ศักยภาพของสตรีแต่ละคนที่ซ้อนเร้นออกมาให้ได้รับการฝึกอบรมที่เหมาะสมอย่างเป็นระบบ สตรีเมื่อได้รับการกระตุ้นจากภายนอกโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่เพิ่มทักษะ ความสามารถของสตรีก็จะมีการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพสร้างรายได้ ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน เป็นการแก้ปัญหาสังคมเกี่ยวกับสตรีด้อยโอกาสได้อย่างถูกวิธีและมีคุณภาพ ข้อเสนอแนะควรมีแผนกที่ใช้ฝึกอบรมอาชีพเพิ่มขึ้น โดยมองจากสภาพสังคมปัจจุบันเพื่อให้มีการฝึกอบรมอาชีพที่ทันสมัยรับกับสังคมปัจจุบัน